#ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน
#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

สรุป BAM ตั้ง JV ร่วมธนาคารออมสิน ถึงเป็น Growth Story ให้ BAM อย่างมาก

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
771 views

เมื่อไม่นานมานี้มี มีข่าวเรื่อง ธนาคารออมสิน และบมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) ลงนามร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท บริหารสินทรัพย์อารีย์ จำกัด หรือ ARI-AMC เพื่อแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบของรัฐบาล

บริษัท บริหารสินทรัพย์อารีย์ จำกัด จัดตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท มีสัดส่วนการร่วมทุนเท่ากันที่ 50% และมีระยะเวลาดำเนินการไม่เกินกว่า 15 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มดำเนินการ โดยดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ในระยะแรกจะรับซื้อ และรับโอนหนี้จากธนาคารออมสินเพียงแห่งเดียวก่อน เป็นการรับซื้อหนี้สินเชื่อทั่วไปทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน เป็นกลุ่มลูกหนี้สินเชื่อรายย่อย SMEs รวมถึงหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสดที่มีสถานะ NPLs หนี้สูญ รวมถึง NPA ที่มียอดหนี้ไม่เกิน 20 ล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้ที่ยังไม่ดำเนินคดี และดำเนินคดีแล้วที่ยังมีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย

ทั้งนี้ บริษัทจะมีการรับซื้อหนี้ในราคายุติธรรม และคำนึงถึงประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับสอดคล้องจากความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นและหลากหลาย อาทิ การปรับลดเงินต้น ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือการตัดหนี้บางส่วนให้กับลูกหนี้ เป็นต้น โดยคาดว่าในช่วงไตรมาส 3/67 จะสามารถเริ่มรับซื้อและรับโอนหนี้จากธนาคารออมสิน และจะมีลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือจำนวนกว่า 500,000 บัญชี หรือคิดเป็นมูลหนี้เงินต้นกว่า 45,000 ล้านบาท

 

ราคาหุ้น BAM ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
https://www.tradingview.com/symbols/SET-BAM/

 

สรุปง่ายๆ คือ BAM ได้จัดตั้งบริษัทร่วมกับธนาคารออมสิน ในชื่อว่า "บริหารสินทรัพย์อารีย์" หรือ Ari-AMC และจะถือหุ้นคนละครึ่ง
ในช่วงเริ่มแรก บริษัทร่วมน่าจะต้องเพิ่มทุน 1 พันล้านบาท เพื่อซื้อ NPL ในกลุ่มสินเชื่อมีหลักประกัน และปลอดหลักประกัน จาก GSB มูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท ที่เกิดก่อน COVID และในช่วง COVID ระบาด
ทั้งนี้ BAM น่าจะต้องขออนุญาตจาก ธปท. ซึ่งคาดว่าจะจัดตั้งได้สำเร็จประมาณช่วงไตรมาส 4 ปี 2567

 

จากประเด็นข่าวที่เกิดขึ้น ทำไมถึงเป็นการสร้างการเติบโตระยะยาวให้กับ BAM ในอนาคต ? 
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เคจีไอ วิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็นด้วยกัน คือ

1. อานิสงค์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2568
ฝ่ายวิจัย มองว่า การจัดตั้ง AMC (บริษัทบริหาสินทรัพย์) ต้องใช้ระยะเวลาแล้วจะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 4 ปี 2567 และดำเนินธุรกิจก็เป็นช่วงปลายปี ซึ่งนักลงทุนอาจจะไม่เห็นเด่นชัดในผลประกอบการเท่าไรนัก อีกทั้งการซื้อหนี้เสียเพิ่ม และเก็บเงินสดได้ต่ำกว่าที่คิดเอาไว้ ทาง BAM อาจจะต้องตั้งสำรอง กดดันผลประกอบการในระยะสั้นได้ 
แต่ถ้าเรามองยาว จะพบว่าในปี 2568 เศรษฐกิจจะฟื้นตัว ส่งผลให้ BAM เก็บเงินสดได้มากขึ้น และจะส่งผลให้ BAM มีส่วนแบ่งกำไรประมาณ 150 ล้านบาทในปี 2569 และ 350 ล้านบาท ในปี 2570

2. ตัวเลขชี้วัดประสิทธิภาพการทำกำไรดียิ่งขึ้น
ฝ่ายวิจัย มองว่า ตัวเลขชี้วัดประสิทธิภาพการทำกำไรของ BAM มีแนวโน้มดูดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
- สัดส่วนกำไรสุทธิ / ยอดเก็บเงินสด "ลดลง" 
- สัดส่วนกำไรสุทธิ / สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ "ลดลง"

โดยภาพรวม การจัดตั้งบริษัทร่วมกับธนาคารออมสิน มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดี
และส่งผลให้ BAM มีส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้นอีก 150 ล้านบาท จากการร่วมทุนครั้งใหม่
ถือเป็นอีกก้าวที่น่าติดตามของ BAM

------------------------------------------------------------------------------
Reference
ธนาคารออมสิน

สำนักข่าวอินโฟเควสท์

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เคจีไอ


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง