ในช่วงที่วอลุ่มซื้อขายในแต่ละวันลดลงเรื่อยๆ
การควบคุมราคาหุ้นทำได้ง่ายขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้านักลงทุนจะเห็นหุ้นไทยผันผวนอย่างหนัก
ยังไม่พูดถึงหุ้นรายตัวที่สามารถ Ceiling และ Floor คือ +30% และ -30% เป็นเรื่องที่พบเห็นได้แทบทุกสัปดาห์
เมื่อหุ้นไทยวอลุ่มไม่มี อีกทั้งราคาหุ้นที่ถูกควบคุมได้ จึงไม่แปลกที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะลดลงเรื่อยๆ
แต่ล่าสุด ตลาดหลักทรัพย์ได้ออก 2 มาตรการเกณฑ์ใหม่เข้ามา เพื่อดับหุ้นที่ผันผวนอย่างหนัก
และกำลังเริ่มใช้ในช่วงปลายไตรมาส 2 ที่จะถึงนี้ ก็คือ มาตรการที่เรียกว่า DPB และ Auto Halt
Dynamic Price Band หรือ DPB คือราคาหุ้นที่ บวกหรือลบเกิน 10% จะหยุดการซื้อขาย 2 นาที
พร้อมกับยกเลิก Order ส่วนเกินทิ้ง ช่วยลดความผันผวน และความเสียหายจากการ Shot Sell และการ Force Sell ได้
โดยมาตรการนี้จะเริ่มใช้ในช่วงปลายไตรมาส 2/2567 ใช้กับทุกหุ้นในตลาด SET และ mai ที่มีราคาตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป
แต่จะไม่ใช้กับหุ้นที่มีเหตุที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่าปกติ เช่น
- หุ้นเข้าใหม่ , หุ้น IPO
- หุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์มีการขยาย Ceiling และ Floor ประจำวัน
- หุ้นที่มีการทำ Tender Offer
- หุ้นที่เปิดให้ซื้อขายชั่วคราว
คำถาม คือ เกณฑ์ Dynamic Price Band จะลดความผันผวนได้อย่างไร ?
เราต้องเข้าใจก่อนว่า ตลาดหุ้นไทยไม่เคยมี Dynamic Price Band มาก่อน
ทำให้นักลงทุนส่งคำสั่งซื้อขาย สามารถเลือกราคา Ceiling และ Floor ได้เลย
แต่เมื่อมีกฏดังกล่าว จะทำให้เกิดการขายไปทีละนิด เช่น -10% ก็จะหยุดการซื้อขาย 2 นาที ให้นักลงทุนได้ตั้งสติ
โบรคเกอร์ก็จะยกเลิกคำสั่งซื้อขาย ราคาที่อยู่นอก Band คือ มากกว่า -10%
ซึ่งในช่วงนี้จะไม่มี Dynamic Price band และสามารถที่จะส่งคำสั่งแก้ไข หรือยกเลิกคำสั่งที่ส่งไปแล้วได้
พูดง่ายๆ คือ เราอาจจะไม่เห็นการเปิดตลาดแล้ว ราคาหุ้นลงมาอยู่ Floor เลย แต่จะเห็นลักษณะที่เรียกว่า "ค่อยๆลง" เป็นจังหวะ
ทำให้การปั่นหุ้นขึ้นหรือลง ทำได้ยากขึ้น
- "ขาดทุนสะสม" คืออะไร ทำไมถึงลดมูลค่าหุ้นในระยะยาว ?
- การซื้อหุ้นคืน มีข้อดีมากแค่ไหน บริษัทจดทะเบียนไทยซื้อหุ้นคืนมากกว่าปกติ
- ทำไมหุ้นที่จ่ายปันผลสูง อาจจะไม่ได้น่าลงทุนเสมอไป ?
อีกเกณฑ์หนึ่ง เรียกว่า Auto Halt
คือ หากมีการตั้ง Bid หรือ Offer ระหว่างวันเกิน 15% ของจำนวนหุ้นจดทะเบียน จะมี การหยุดซื้อขาย 60 นาที
เพื่อลดความเสียหายให้กับนักลงทุนและโบรกเกอร์ เช่นกรณีที่เห็นได้ชัด คือ หุ้น More
หุ้น More มีการส่งคำสั่งซื้อขายแบบผิดปกติ คือ มีการตั้ง Bid และ Offer สูงถึง 23% ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนในช่วง Pre Open ก่อนตลาดเปิด ทำให้ราคาหุ้นผันผวนอย่างหนัก สร้างความเสียหายให้กับรักลงทุนจำนวนมาก
ถ้ามีมาตรการ Auto Halt จะทำให้หุ้นไม่มีการ Matching ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย แต่คำสั่งยังคงอยู่ และจะหยุดการซื้อขาย 60 นาที
หน้าที่ของโบรกเกอร์ คือ ดูว่าคำสั่งซื้อที่เข้ามาผิดปกติไหม ทำการติดต่อลูกค้าเพื่อตรวจสอบคำสั่งว่ามีการส่งคำสั่งผิดไหม
หากมีการส่งคำสั่งผิด ก็จะได้ทำการแก้ไข ก่อนที่จะเปิดเทรดใหม่อีกครั้ง
หรืออีกกรณี คือ ลูกค้าเทรดเกินวงเงิน และพิจารณาว่าลูกค้าไม่น่าจะจ่ายเงินคืนได้ โบรกเกอร์อาจจะโทรติดต่อลูกค้าเพื่อหาทางแก้ไขว่าจะช่วยได้อย่างไร
พูดง่ายๆ คือ ระบบไม่ได้มีการยกเลิกคำสั่ง แต่จะช่วยให้ลูกค้ามีเวลาพิจารณมากขึ้น
ในส่วนของโบรกเกอร์ ก็มีเวลาพูดคุยกับลูกค้ามากขึ้น ดูแลแนะนำลูกค้าได้มากขึ้น
2 มาตรการที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการดูแลราคาในชั่วโมงซื้อขายแบบ RealTime
และสามารถแก้ไขปัญหาได้เมื่อตลาดหุ้นไทยแสดงอาการผิดปกติ
เชื่อว่ากลไกนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของตลาด และเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้เพิ่มขึ้นได้ ...