#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

ทำไมการคงดอกเบี้ยของ FED ถึงทำให้นักลงทุนซื้อสินทรัพย์เสี่ยง ?

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
596 views

ในความเป็นจริงแล้ว เวลาที่ FED มีการเพิ่มดอกเบี้ย
นั้นหมายความว่า พันธบัตรรัฐบาล เงินฝากออมทรัพย์ จะให้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
นักลงทุนจึงเทขายสินทรัพย์เสี่ยง แล้วหันไปฝากไว้ในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
ในทางกลับกัน ถ้า FED มีการลดดอกเบี้ย
นักลงทุนจะถอนเงินออกมาจากสินทรัพย์ปลอดภัย แล้วไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เช่น หุ้นหรือทองคำ

 

แต่เมื่อไม่นานมานี้ FED เลือกที่จะ "คงดอกเบี้ย" เอาไว้
ส่งผลให้ดัชนีหุ้นทั่วโลกต่างพุ่งทะยานเป็นอย่างมาก เช่น ดัชนีดาวโจนส์พุ่งแรงถึง +401.37 จุด หรือคิดเป็น +1.03% 
ส่งผลให้พันธบัตรรัฐบาล 2 ปี และ 10 ปี ของสหรัฐย่อตัวลงมาที่ 4.6% และ 4.27%
ในขณะที่ Dollar Index อ่อนค่ามาอยู่ที่ 13.4 จุด
สะท้อนว่าเม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์ปลอดภัย เข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ? 
เพราะการคงดอกเบี้ย หมายความว่า สินทรัพย์ปลอดภัยจะให้ผลตอบแทนเท่าเดิม 
ซึ่งนักลงทุนบางกลุ่มไม่น่าจะเอาเงินออกจากสินทรัพย์ปลอดภัย ไปไว้ในสินทรัพย์เสี่ยง ไม่ใช่เหรอ
อีกทั้ง การคงดอกเบี้ย จะผลักดันให้หุ้นขึ้น ก็อาจจะไม่เพียงพอ
สาเหตุหลัก เพราะ FED มีการส่งสัญญาณว่าจะ "ลดดอกเบี้ย" 3 ครั้งในปีนี้ และอีก 3 ครั้งในปีหน้า
ทำให้นักลงทุน มองว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐไม่น่าเป็นห่วง และน่าจะอยู่ที่กรอบเป้าหมายที่ 2% ได้ไม่ยาก

 

ยิ่งไปกว่านั้น FED ยังคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆไปในทางบวก เช่น
- GDP Growth ของสหรัฐ เพิ่มเป็น +2.1% จากเดิม 1.4%
- ดัชนี CORE PCE ขยับขึ้นเป็น +2.6% จากเดิม 2.4%

 

 

สอดคล้องกับสื่อต่างชาติคาดว่า FED น่าจะเริ่มดอกเบี้ยภายในเดือนมิถุนายน 2567 เป็นครั้งแรก
สอดคล้องกับ Bloomberg Consensus ที่มองว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และ ECB พร้อมจะลดดอกเบี้ยตามไปด้วยเหมือนกัน โดย BOE จะเริ่มลดดอกเบี้ยภายในเดือนสิงหาคม ปีนี้
และ ECB น่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยภายในเดือนมิถุนายน ปีนี้ ด้วยเหมือนกัน

 

เลยไม่แปลกใจว่าทำไมดัชนีหุ้นทั่วโลกกลับมา Outperform ได้อีกครั้ง
สาเหตุเพราะนักลงทุนเริ่มเทขายสินทรัพย์ปลอดภัย ไปเข้าสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น นั่นเอง


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง