#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน
#มือใหม่เริ่มลงทุน

การลดดอกเบี้ยอาจไม่ช่วยอะไร เพราะปัญหาเศรษฐกิจไทย คือ ปัญหาเชิงโครงสร้าง

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
1,062 views

เวลาเราพูดถึงเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นอกจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐแล้ว 
สิ่งหนึ่งที่เรามักจะถูกนำมาพูดถึง คือ เรื่องของการลดดอกเบี้ย
สาเหตุเป็นเพราะว่า ถ้าเราลดดอกเบี้ย อาจจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจวิธีหนึ่งให้คนหันมาใช้จ่ายเงินมากขึ้นแทนการเก็บออม

แต่ความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่แบบนั้น การลดดอกเบี้ยอาจไม่ช่วยอะไร
เพราะปัญหาเศรษฐกิจไทย คือ ปัญหาเชิงโครงสร้าง ...

สำนักวิจัย CIMBT วิเคราะห์ว่า  ดอกเบี้ยไม่ใช่ยารักษาทุกโรค โดยมองว่าการลดดอกเบี้ยเพียง 0.25% หรือ 0.50% ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ 
แต่ต้องลดลงถึง 1.25% จึงจะมากพอ 
ซึ่งเป็นการปรับลดในระดับวิกฤติการเงิน และเป็นระดับเดียวกับก่อนเกิดวิกฤติโควิด 
ผลข้างเคียงของการลดดอกเบี้ยนี้ จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า 
และอาจเป็นการประกาศสงครามค่าเงินกับเพื่อนบ้าน 
เพราะบาทที่อ่อนจะแย่งชิงความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง 
และอาจลามเป็นการอ่อนค่าของค่าเงินในภูมิภาคได้ในภายหลัง

ในช่วงการประชุม กนง. ที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่าที่สุดในภูมิภาค และโดยเฉพาะหลังตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 66 ขยายตัวต่ำจากปีก่อนหน้า 
และหดตัวเทียบไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งย้ำถึงแรงกดดันในการลดดอกเบี้ยในวันที่ 10 เม.ย.นี้ มากขึ้น
หากพิจารณาถ้อยแถลงและการสื่อสารของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 
จะพบหลากหลายปัจจัยที่บ่งบอกว่าทำไมยังไม่ถึงเวลาลดอัตราดอกเบี้ย โดยประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ


1. เศรษฐกิจไทยเติบโตช้า มาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ได้มาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป 
โดยปัญหาเชิงโครงสร้างมาจากการขาดความเชื่อมโยงของภาคการผลิตไทยในห่วงโซ่อุปทานโลก

 

2. อัตราเงินเฟ้อต่ำ ไม่ได้มาจากอุปสงค์ที่อ่อนแอ
มาจากมาตรการภาครัฐ ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานในประเทศปรับลดลง 
แต่เป็นการบรรเทาปัญหาชั่วคราว และไม่ได้มาจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ

 

3. ผลข้างเคียงจากการลดดอกเบี้ยที่เร็วเกินไป
การลดดอกเบี้ยช่วงที่อุปสงค์ในประเทศยังแข็งแรง การบริโภคยังเติบโตได้ 
อาจส่งผลข้างเคียงให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวขึ้นมารวดเร็วช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ปรับเพิ่มสูงขึ้นไปอีก 
ส่งผลเสียต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว
การคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย หรือเก็บ policy space ไว้ใช้ยามจำเป็น

 

 

สำนักวิจัย CIMBT ยังวิเคราะห์ต่อไปอีกด้วยว่า การลดดอกเบี้ย ก็ทำได้เพียงพยุงเศรษฐกิจ ...
ไม่ได้กระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเหนือ 4% และการลดดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25-0.50% ก็ไม่ช่วยลดรายจ่ายด้านดอกเบี้ยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ 
อาจพอลดความตึงเครียดได้บ้าง สร้างแรงจูงใจให้คนมาใช้จ่ายและลงทุนได้มากขึ้น 
แต่การส่งผ่านของการลดอัตราดอกเบี้ยต่อเศรษฐกิจจริงอาจใช้เวลาถึง 6 เดือน 
ต่างกับมาตรการทางการคลังที่อัดฉีดเงินเข้ากระเป๋าคนเพื่อนำไปใช้จ่ายได้ทันที และสามารถดูแลผู้เดือดร้อนได้ตรงกลุ่ม มากกว่านโยบายการเงินที่หว่านแหในวงกว้าง
... ขณะเดียวกันการลดดอกเบี้ยก็มีผลข้างเคียงที่เปรียบเหมือนยา อาจทำให้เกิดอาการหนี้ครัวเรือนที่เพิ่ม 
สินทรัพย์ไทยขาดความน่าสนใจจนต่างชาติเทขาย ทำเงินบาทอ่อนค่า กระทบสินค้านำเข้าให้มีราคาสูงขึ้นได้


ตามทฤษฏีแล้ว การลดดอกเบี้ย อาจจะเป็นการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยก็จริง
แต่ประเด็นนี้ต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานพอ และเป็นเพียงการพยุงเศรษฐกิจเท่านั้น 
เพราะปัญหาที่แท้จริง คือ ปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะมาจากการขาดความเชื่อมโยงของภาคการผลิตไทยในห่วงโซ่อุปทานโลก
ดังนั้น ถ้าประเทศไทยยังแก้ตรงจุดนี้ไม่ได้ ก็ยากที่จะกลับมาเติบโตได้อีกเหมือนเดิม


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง