รู้สึกว่าช่วงนี้สิ่งที่นักลงทุนจับตามากที่สุด คือ เปิดปีใหม่มา ก็มีประเด็นการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ของ ITD แล้ว
ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า น่าจะมีอีกหลายบริษัท และอีกหลายอุตสาหกรรมตามมาที่จะมีการผิดนัดชำระหนี้อีก
จากบทวิเคราะห์ของ SCB EIC ระบุว่า หุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในปี 2567 อยู่ที่ 1.07 ล้านล้านบาท
แบ่งออกเป็น Investment Grade ราวๆ 9 แสนล้านบาท และที่เหลือเป็น Non Investment Grade
ซึ่งในภาคอสังหาริมทรัพย์ จะอยู่ที่ 1.8 แสนล้านบาม คิดเป็น 17% ของหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระทั้งหมด
และถ้าเราดูที่จะครบกำหนดใน ไตรมาส 1 ปี 2567 จะอยู่ที่ 1.9 แสนล้านบาท
แบ่งเป็น Investment Grade 1.48 แสนล้านบาท และ Non Investment Grade 2.04 หมื่นล้านบาท
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นกู้ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ "เป็นหลัก"
ทำให้ไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักลงทุนจะเกิดความกังวลต่อความเสี่ยงที่จะไม่สามารถคืนหุ้นกู้ และจะไม่สามารถ Roll Over ต่อไปได้
แต่ถ้าเราเจาะลึกจริงๆจะพบว่า ไม่น่ากังวลไปซะทั้งหมด เช่น ความกังวลในบริษัทอสังหาริมทรัพย์
เราจำเป็นจะต้องแบกออกเป็นบริษัทไป โดยบริษัทที่มีความเสี่ยงมากที่สุดจะอยู่ที่กลุ่มรายกลายและเล็ก และมีพอร์ตสินค้าประเภทคอนโด มากกว่าแนวราบ
อีกทั้งต้องดูสภาพคล่องทางการเงิน และโครงสร้างทางการเงินว่าอ่อนแอแค่ไหน (เป็นหน้าที่ของนักลงทุนแล้ว...)
ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของไทย มีโครงสร้างทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี และภาระหนี้สินดอกเบี้ยจ่ายต่อทุนสุทธิอยู่ในกรอบ 1 เท่ามาโดยตลอด
อีกทั้งหุ้นกู้ของบริษัทที่จะทยอยครบกำหนด เช่น LH SPALI SIRI PSH และ AP ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีสายป่านยาว เน้นแนวราบมากกว่า กระแสเงินสดหมุนเร็ว และโครงสร้างทางการเงินดี
เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาสภาพคล่อง หรือเรื่องของการผิดนัดชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ดังนั้น ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่จะผิดนัดชำระหนี้ อยู่ในเกณฑ์ที่ "ไม่น่ากังวล"
- สรุป WARRIX สปอร์ตแบรนด์ที่สดใส แต่ทำไมราคาหุ้นกลับมาที่เดิม ?
- ผลประกอบการของ TRUE กำลังดีขึ้นเรื่อยๆ การปรับราคาแพงขึ้น กำลังทำให้ธุรกิจกลับมา "กำไร"
- เล่าประเด็น ITD หุ้นร่วงกว่า -52% เสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ น่ากังวลแค่ไหน ?
แต่แน่นอนว่า เรื่องของ ITD เป็นเรื่องที่น่ากังวล สาเหตุเป็นเพราะว่า
1. สภาพคล่องของ ITD ลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเหลือเงินสดเพียง 4.6 พันล้านบาท
เรียกได้ว่าตึงตัวอยู่พอสมควร วงเงินสินเชื่อจากธนาคารที่ยังไม่ได้เบิกใช้อีก 8.2 พันล้านบาท และเงินทุนจากการดำเนินงานคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5 พันล้านบาทต่อปี
แต่ ITD มีภาระหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในอีก 12 เดือนข้างหน้ารวม 2.64 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2 พันล้านบาท เงินกู้จากธนาคาร 2.32 หมื่นล้านบาท และหนี้สินจากสัญญาเช่าและหนี้สินทางการเงินอื่นๆ อีก 1.2 พันล้านบาท ส่งผลให้ ITD เผชิญความยากลำบากในการออกหุ้นกู้ชุดใหม่เพื่อนำไปใช้ทดแทนหุ้นกู้ชุดเดิม
2. D/E Ratio สูงถึง 12 เท่า
นักวิเคราะห์จากหลักทรัพย์กสิกรไทย วิเคราะห์ถึงปัญหาของ ITD ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นคือ งบดุลอาจแบกภาระหนี้สินที่มีอยู่จำนวนมากถึง 1.08 แสนล้านบาทไม่ไหว ขณะที่มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) อยู่ที่เพียง 8.5 พันล้านบาท
เท่ากับว่ามีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio: D/E Ratio) พุ่งไปถึงระดับ 12 เท่า
โดยหากแยกก้อนหนี้ทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น แบ่งออกเป็นหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายมีสัดส่วน 50% หรืออยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท โดยแยกออกเป็นหนี้หุ้นกู้ 1.45 หมื่นล้านบาท กับหนี้เงินกู้ธนาคารพาณิชย์อีกราว 3.6 หมื่นล้านบาท สัดส่วนอีก 50% ของหนี้จะเป็นเจ้าหนี้การค้าอีกราว 2.6 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นหนี้ซัพพลายเออร์
หากดูโครงสร้างทางการเงินของ ITD ที่มีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน (Interest Bearing Debt to Equity Ratio) อยู่ในระดับสูงมากกว่า 5 เท่า จึงมีความเป็นไปได้ยากที่ในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ของ ITD ในวันที่ 17 มกราคมนี้ จะโหวตอนุมัติให้เลื่อนจ่ายหุ้นกู้ไป 2 ปี และหากบริษัทไม่สามารถนำเงินมาคืนหนี้ได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน จนเกิดผิดชำระหนี้ ในที่สุดก็จะก่อความเสี่ยงให้หนี้ทั้งหมดของ ITD 1.08 แสนล้านบาท ซึ่งจะเกิดภาวะผิดนัดชำระทั้งจำนวน เพราะเข้าเงื่อนไขการผิดนัดไขว้ (Cross Default) ทันที ทำให้เจ้าหนี้ทุกรายจะมาขอทวงคืนหนี้ที่ยังไม่ครบกำหนดให้จ่ายคืนก่อนกำหนดด้วย
และทางเลือกสุดท้ายที่ ITD จะทำก็อาจจะเป็นเรื่องของการ "เพิ่มทุน"
ว่าตัวเจ้าของบริษัทจะยอมใส่เงินเพิ่มทุนมาคืนหนี้หรือไม่
แน่นอนว่าการเพิ่มทุน ย่อมส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น เพราะเป็นสิ่งที่นักลงทุนไม่ชื่นชอบอยู่แล้ว ...