ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ช่วงนี้ตลาดการเงินกำลังกังวลประเด็นเรื่องของอิสราเอล - ฮามาส
ในภาพรวม คือ ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และมีโอกาสยืดเยื้อต่อไปที่ยังหาจุดจบไม่ได้
คำถาม คือ ถ้าอิสราเอล - ฮามาส ยังขัดแย้งต่อไปเรื่อยๆ จะเกิดอะไรขึ้น
ถ้าให้ตอบแบบสั้นๆ คือ ราคาน้ำมันจะพุ่งสูง และสิ่งที่จะตามมาคือเงินเฟ้อจะพุ่งตามไปด้วย
ส่งผลให้ราคาอาหาร การอุปโภค บริโภค ปรับตัวสูงขึ้นในระยะถัดไป
นักวิเคราะห์จาก Bloomberg ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากสงครามอิสราเอล - ฮามาส ออกเป็น 3 กรณีด้วยกัน คือ
กรณีแรก : สถานการณ์อยู่ในวงจำกัด (Confined War)
หมายถึง สงครามจะอยู่บริเวณอิสราเอล กาซา และพรมแดนเลบานอนบางส่วน
คาดว่าจะกระทบต่อ Global GDP ปี 2567 ราวๆ 0.1%
และส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ ปรับตัวขึ้นมา 4 เหรียญต่อบาร์เรล
จากการที่สหรัฐกลับมาจำกัดการส่งออกของอิหร่าน
กรณีที่สอง : สถานการณ์ขยายตัวไปยังบางประเทศ (ไม่เกี่ยวกับอิหร่านโดยตรง)
โดยจะขยายไปยังสงครามตัวแทน คือ ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล - เลบานอนและซีเรีย โดยได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน
คาดว่าจะกระทบต่อ Global GDP ปี 2567 ราวๆ 0.3% และเงินเฟ้อปรับเพิ่ม 0.2%
ขณะที่ราคาน้ำมันจะปรับขึ้นมาได้ 10% มาอยู่ราวๆ 94 เหรียญต่อบาร์เรล
- รู้จัก LandBridge สะพานเศรษฐกิจไทย ที่ต่างชาติกำลังให้ความสนใจ
- อธิบายสาเหตุ ราคาทองคำถึงขึ้น แล้วการขึ้นลงของราคาทองเกิดจากอะไร ?
- ราคาน้ำมันพุ่ง กำลังกดดันต้นทุนธุรกิจสายการบิน
กรณีที่สาม : สถานการณ์บานปลายอิสราเอลและอิหร่าน (Direct War)
โดยเป็นสงครามโดยตรงระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน รบกัน
คาดว่าจะส่งผลต่อ Global GDP ปี 2567 ที่ 1% และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น +1.2%
ขณะที่ราคาน้ำมันปรับขึ้นมาอยู่ที่ 150 เหรียญต่อบาร์เรล
ซึ่งทั้ง 3 สถานการณ์ สิ่งที่เหมือนกัน คือ ราคาน้ำมันจะปรับตัวพุ่งสูงขึ้น
พูดง่ายๆ คือ ยิ่งยืดเยื้อ ราคาน้ำมันจะยิ่งแพง เมื่อราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อก็จะพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย
อ่านมาถึงตรงนี้ เราอาจจะคิดว่าสิ่งที่จะสกัดเงินเฟ้อได้ คือ การขึ้นดอกเบี้ย
แต่เราต้องไม่ลืมว่า การขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่านมามีการปรับขึ้นมาแล้วหลายครั้ง
FED ขึ้นดอกเบี้ยมาแล้ว 11 ครั้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2565 โดยมีดอกเบี้ยนโยบาย 5.5% สูงสุดในรอบ 30 ปี
หรือแม้แต่ กนง. ของบ้านเรา ปรับขึ้นดอกเบี้ยมาแล้ว 9 ครั้ง ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.5% สูงสุดในรอบ 10 ปี
ดังนั้น การจะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ อาจจะทำได้ยาก และกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจทั้งหมด
สุดท้าย ถ้าเรามองว่าราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมากจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล - ฮามาส
จะเป็นตัวที่ทำให้เงินเฟ้อเกิดการเร่งตัว
ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่แค่น้ำมันอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยเรื่องภาวะ "เอลนีโญ" (ภัยแล้ง) อาจจะเป็นตัวเร่งเงินเฟ้อ
โดยเฉพาะราคาอาหารให้พุ่งสูงขึ้นมาก
ตอนนี้โลกของเรา ดูเหมือนจะคุมเงินเฟ้อไม่อยู่
เราอาจจะต้องอยู่ในสภาวะที่ดอกเบี้ยสูงอย่างเดียวไม่พอด (ต้นทุนการเงินสูง) แต่เราต้องอยู่กับโลกที่อยู่ในสภาวะเงินเฟ้อสูงอีกด้วยครับ
------------------------------------------------------------------------------
Reference
Bloomberg