#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน
#มือใหม่เริ่มลงทุน

อธิบายสาเหตุ ราคาทองคำถึงขึ้น แล้วการขึ้นลงของราคาทองเกิดจากอะไร ?

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
16,777 views

ถ้าใครติดตามราคาทองคำ จะพบว่าช่วงนี้ราคาอยู่ที่ 1989 ดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าพุ่งแรงมาก และปรับตัวสูงชึ้นเป็นประวัติการณ์
ถ้าเราไปดูราคาย้อนหลัง จะพบว่าทองคำให้ผลตอบแทนสูงถึงเกือบ +20% ในรอบ 12 เดือน

คำถาม คือ เกิดอะไรขึ้นกับราคาทองคำ ? 
ถ้าให้อธิบายแบบสั้นๆ สาเหตุเป็นเพราะว่าความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่าอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ที่น่าจะยืดเยื้อยาวนาน ทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และหันมาถือครองทองคำกันมากขึ้น
... โดยดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมาอ่อนค่าลงมาค่อนข้างมาก เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งว่าตลาดการเงินไม่ไว้วางใจในสกุลเงินดอลลาร์ และหันมาซื้อทองคำเอาไว้แทน

นอกจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์แล้ว "ค่าเงินบาท" ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาทองคำในประเทศไทยพุ่งด้วยเช่นกัน
กล่าวคือ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้ราคาทองคำมีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย
เช้าเมื่อวันศุกร์ ค่าเงินบาทอยู่ท 36.42 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ทองคำขยับขึ้นอยู่ที่ราว 300 บาท
แต่ถ้าค่าเงินบาทอ่อนค่าอยู่ที่ 37 บาท อาจจะทำให้ราคาทองคำปรับขึ้นมาราวๆ 1000 บาท ได้ทันที
พูดง่ายๆ คือ การอ่อนค่าระดับ 10 สตางค์ ส่งผลให้ราคาทองคำขึ้นมาได้อีกราวๆ 70-80 บาทได้เลยทีเดียว

 

คำถามต่อมา คือ เราเคยสงสัยไหมว่าราคาทองคำที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้
การขึ้น หรือลง มีปัจจัยอะไรบ้างเข้ามาเกี่ยวข้อง
สาเหตุหลักๆน่าจะมาจาก 5 ปัจจัยด้วย กัน คือ 
1. การอ่อนค่าหรือแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์
เมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง เพราะการซื้อทองคำเป็นการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก
ดังนั้นเมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีสัญญาณอ่อนค่าลง ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ที่ถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มักจะกระจายความเสี่ยง
โดยแบ่งเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น หรือถือสกุลเงินอื่นๆ รวมถึงทองคำ ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

2. อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
โดยปกติแล้วอัตราเงินเฟ้อ จะมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอยู่เรื่อยๆ
และทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี 
โดยสถิติที่ผ่านมาพบว่า อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ราคาทองคำก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

 

3. ความเสี่ยงทางการเมือง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
ราคาทองคำมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ และความไม่แน่นอนสูงในระบบการเงินโลก เนื่องจากในระหว่างช่วงที่เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น การขายสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ มาถือครองทองคำแทนจะเพิ่มสูงขึ้นเพราะผู้ลงทุนมักจะป้องกันความเสี่ยงที่สินทรัพย์อื่นจะมีราคาตลาดลดลง ด้วยการย้ายมาถือครองทองคำ จะมากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุการณ์แต่ละครั้ง

 

4. ความต้องการซื้อและต้องการขายทองคำในตลาด
ทองคำ คือ สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทหนึ่ง มีความต้องการซื้อและต้องการขายเหมือนสินค้าชนิดอื่นๆ
โดยหลักๆแล้ว ความต้องการซื้อจะมาจาก 3 ภาคส่วนหลักดด้วยกัน คิอ เครื่องประดับ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ และภาคการลงทุน
โดยเฉพาะอันสุดท้าย คือ ภาคการลงทุน ... 
ประเทศต่างๆ มีการนำทองคำไปเป็นทุนสำรองมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวอยู่ในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เช่น จีน อินเดีย ที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว
ส่วนความต้องการขายทองคำ ส่วนใหญ่มาจาก 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผลผลิตทองคำจากเหมืองทอง แรงขายจากธนาคารกลางประเทศ ต่างๆ และปริมาณทองคำเก่าที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ

 

5. ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์
ถึงแม้ว่าค่าเงินบาท จะไม่ได้ส่งผลต่อราคาทองในระดับโลก
แต่ค่าเงินบาทจะส่งผลต่อราคาทองในประเทศแทน
ราคาทองคำในประเทศไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลง เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตทองคำได้เอง จึงต้องนำเข้าทองคำจากต่างประเทศเป็นหลัก 
ซึ่งตลาดทองคำโดยทั่วไป มักจะใช้เงินสกุลเหรียญสหรัฐฯเป็นสกุลเงินอ้างอิงในการซื้อขาย 
ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐฯ จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำในประเทศไทย


นี้คือ 5 ปัจจัยที่มีผลต่อการขึ้นลงของราคาทองคำโดยตรง
สิ่งหนึ่งที่เราต้องระมัดระวัง คือ การที่ราคาทองคำขึ้นมามาก
อาจจะมีจังหวะของการพักฐาน หรือเทขายทำกำไรสำหรับคนที่มีต้นทุนต่ำกว่า
ดังนั้น เชื่อว่า ราคาทองคำน่าจะเกิดการผันผวนระยะสั้น
ใครจะซื้อหรือขาย อาจจะต้องใช้ความระมัดระวังกันให้มากขึ้นครับ 


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง