เวลาเราพูดถึงเรื่องการลงทุนในประเทศไทย
เชื่อว่านักลงทุนกว่า 80% คงจะส่ายหน้าอย่างแน่นอน เพราะไม่มีประเด็นอะไรให้น่าสนใจ
แต่รู้หรือไม่ ว่ามีอยู่โครงการหนึ่งที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมาก และรัฐบาลเองก็พยายามผลักดันอย่างเต็มที่
เมื่อไม่นานมานี้นายกฯเศรษฐา ได้นำโครงการ "แลนด์บริดจ์" (LandBridge) ไปบรรยายให้กับนักลงทุนต่างประเทศฟัง โดยเฉพาะนักลงทุนชาวจีน และซาอุดิอาระเบียให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
โดยโครงการจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง 2 ท่าเรือน้ำลึก ฝั่งอ่าวไทย และ ฝั่งอันดามัน
โดยใช้งบมากถึง 1 ล้านล้านบาท
ทำไมโครงการนี้ถึงน่าสนใจ ?
จริงๆแล้วโครงการแลนด์บริดจ์ มีการศึกษากันมานานแล้ว จุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยรัชการที่ 4
แต่อาจจะเรียกในชื่ออื่นๆ เช่น ขุดคอคอดกระ ขุดคลอง เพื่อเชื่อมการขนส่งทางเรือ ระหว่างทะเล 2 ฝั่งไทย
โดยปกติ เวลาเรือบรรทุกสินค้าเดินทางมาจากฝั่งอันดามัน เพื่อจะมาฝั่งอ่าวไทย จำเป็นต้องนำเรืออ้อมไปยังช่อบแคบมะละกา ทางฝั่งสิงคโปร์ ซึ่งจะกินระยะเวลาอีกราวๆ 3-5 วัน ซึ่งถ้าเรามีการขุดคลองเพื่อเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จะเป็นเส้นทางการค้าแห่งใหม่ที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาได้มากกว่า
แต่ในสมัยก่อน ติดปัญหาที่การก่อสร้างยังไม่เจริญ ใช้เวลาก่อสร้างนาน และใช้งบลงทุนที่สูงมาก จึงมาๆหายๆ ไม่ประสบความสำเร็จ
จนมาเริ่มจับอีกครั้งในช่วงปี 2548 สมัยรัฐบาลไทยรักไทยของนายกฯทักษิณ ชินวัตร
แต่ด้วยปัญหาทางการเมือง โครงการนี้ก็หายตามไปด้วย
จนกระทั่งสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ก็ได้มีการผลักดันเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็น "แลนด์บริดจ์" แทน
โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมต่อระหว่าง 2 ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย และ อันดามัน เข้าด้วยกัน
ระหว่างจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง สรุปออกมาเป็น 4 ข้อด้วยกัน คือ
1. การพัฒนาท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่ง แหลมอ่าวอ่าง อันดามัน จ.ระนอง และ แหลมริ่ว อ่าวไทย จ.ชุมพร เป็นท่าเรือที่ทันสมัย Smart port ควบคุมด้วยระบบออโตเมชั่น ความลึก 15 เมตร แบ่งการสร้างเป็น 4 เฟส เฟสแรก งบ 5 แสนล้าน เปิดประมูลปี 2568 คาดแล้วเสร็จปี 2573
2. การพัฒนาทางหลวงมอเตอร์เวย์ 6 เลน เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร ระยะทาง 90 กม.
3. การพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร
4. สร้างการขนส่งแบบ Pipeline หรือการขนส่งโดยใช้ระบบท่อ
สำนักข่าวหลายแห่งคาดว่าจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP)ภายในเดือน เม.ย.-มิ.ย. 2568 ควบคู่กับการดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดิน และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในช่วง ม.ค. 2568-ธ.ค. 2569
หลังจากนั้นจะเสนอ ครม.อนุมัติลงนามในสัญญาภายใน ก.ค.-ส.ค. 2568 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างใช้ระยะเวลา 5 ปี หรือ ก.ย. 2568-ก.ย. 2573
และเปิดให้บริการใน ต.ค. 2573
พูดง่ายๆ คือ เราจะได้เห็นโครงการนี้แบบใช้งานได้จริง ในอีก 6 ปีข้างหน้า เรียกได้ว่าไม่นานเลย
Image Source : https://www.landbridgethai.com/project/
แน่นอนว่าโครงการนี้ได้รับความสนใจอย่างมากเพราะมีข้อดีอยู่หลายอย่าง เช่น
- ช่วยลดระยะเวลาขนส่งสินค้าทางเรือ จากประเทศแถบตะวันออกไทย ไป เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และ ยุโรป ได้ถึง 2วันครึ่ง จากเดิมผ่านช่องแคบมะละกา 9 วัน เหลือ 5 วัน
- ลดความแออัดของจราจร ผ่านช่องแคบมะละกา ที่คาดว่าปี 2467 จะมีปริมาณเรือเต็มศักยภาพจะรับไหว
- ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในภายใต้ และช่วยเพิ่ม GDP ภาคใต้ได้ จาก 2% เป็น 10% ต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี
แต่ทุกสิ่งมีข้อดี ย่อมมีข้อเสียตามมาด้วย เพราะโครงการแลนด์บริดจ์ ส่งผลกระทบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ
ผลกระทบทางธรรมชาติ น้ำเสีย การตัดไม้ทำลายป่าน คราบน้ำมัน น้ำมันรั่ว และสัตว์น้ำถูกทำลาย
กระทบวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยเฉพาะมลภาวะทางเสียง ฝุ่น แสงไฟ
กระทบเรื่องที่อยู่อาศัย กับการเวนตืนที่ดินจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
ยังไม่นับเรื่องความคุ้มค่าที่จะเกิดขึ้นแค่ไหน ?
เพราะเราต้องไม่ลืมว่า การเปลี่ยนขั้วรัฐบาล นโยบายเก่าๆมักจะถูกตีตกเสมอ
เช่น ในสมัยของพลเอกประยุทธ์มีการโปรโมตโครงการ "อีอีซี" กันอย่างมาก
แต่พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล โครงการอีอีซี ก็ดูกระแสเงียบไป
ทำให้สื่อหลายสื่อมองว่า เป็นโครงการโปรเจคใหญ่ที่อาจจะไม่สำเร็จก็เป็นไปได้
- กรณีศึกษา AURA ราคาทองขึ้น ร้านค้าทอง ได้หรือเสีย กันแน่ ?
- ส่องเหตุผล Flash Express รายได้โตเร็ว แต่ทำไมยังขาดทุน
- ตลาดหุ้น ใกล้ถึงจุดเปลี่ยนแล้ว ?
สุดท้าย ไม่ใช่แค่โครงการ แลนด์บริดจ์ อย่างเดียว
แต่ยังมีอีกโครงการที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ "คลองไทย"
โดยเส้นทาง คลองไทย จะผ่าน จ.สงขลา จ.พัทลุง จ.ตรัง จ.นครศรีธรรมราช และ จ.กระบี่
ระยะทาง 135 กม.ความกว้าง 300 - 400 ม. ความลึก 25 - 35 ม.
และคาดว่า จะช่วยย่นระยะทางการเดินเรือได้ 1,200 – 3,500 กม.
แต่ข้อเสีย คือ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก
และนักวิชาการหลายคน ก็มีความเห็นว่าโครงการแลนด์บริดจ์ มีความน่าสนใจมากกว่า โดยเงินลงทุนคุ้มค่ามากกว่าและการก่อสร้างที่ไม่นาน
ดังนั้น โจทย์นี้ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายรัฐบาลไทยอย่างมาก
ว่าจะมีวิธีจัดการกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร
ต้องติดตามกันต่อไปครับ ...
------------------------------------------------------------------------------
Reference
https://www.landbridgethai.com/project/
https://www.springnews.co.th/blogs/program/spring-conclude/844375
https://www.thaipbs.or.th/news/content/310784
https://www.facebook.com/realist.co.th/posts/3577753402333508/
https://www.thairath.co.th/news/politic/2736905