#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

ส่องเหตุผล Flash Express รายได้โตเร็ว แต่ทำไมยังขาดทุน

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
6,549 views

ภาพรวมของธุรกิจ "ขนส่งสินค้า" คนทั่วไปมีแนวโน้มจะคิดว่า ได้ผลบวกเร็มๆจาก E-Commerce ที่เติบโตเร็วมากขึ้น
โดยเฉพาะในประเทศไทยที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปมาก หันมาช๊อปปิ้งออนไลน์กันมากขึ้น

แต่สิ่งที่กล่าวมา ถูกเพียงครึ่งเดียว
เป็นเพราะว่า รายได้โตเร็วก็จริง แต่รายจ่ายก็สูงตามไปด้วย
ทำให้การเติบโต เป็นไปในลักษณะเติบโตในแง่รายได้ แต่บริษัทก็ยังขาดทุน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ Flash Express

 

ผลประกอบการของ Flash Express ที่ผ่านมา เติบโตอย่างก้าวกระโดด ...
ปี 2561 บริษัทมีรายได้ 46 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 182 ล้านบาท
ปี 2562 บริษัทมีรายได้ 2.12 พันล้านบาท และขาดทุน 1.66 พันล้านบาท
ปี 2563 บริษัทมีรายได้ 9.73 พันล้านบาท และขาดทุน 716 ล้านบาท
ปี 2564 บริษัทมีรายได้ 17.61 พันล้านบาท และกำไร 5.7 ล้านบาท
ปี 2565 บริษัทมีรายได้ 14.81 พันล้านบาท และขาดทุน 2.18 พันล้านบาท
จะเห็นได้ว่ารายได้เติบโตระดับ "หลักสิบล้าน" มาเป็นระดับ "หมื่นล้าน" ภายใน 4 ปี 
แต่จุดที่น่าสังเกต คึอ ขาดทุนก็สูงมากขึ้นตามไปด้วยจากระดับ "ร้อยล้าน" มาเป็นขาดทุนระดับ "พันล้าน"
ยกเว้นปี 2564 ที่มีกำไรอยู่ 5.7 ล้านบาท สาเหตุเพราะความต้องการส่งสินค้ามีมาก เนื่องมาจากวิกฤติ COVID-19

คำถามคือ รายได้โตดี แต่ทำไมบริษัทยังขาดทุน ? 
คำตอบ น่าจะมาจาก รายได้โตมาจากการลงทุนที่หนัก และการลงทุนที่หนักตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาอีกมหาศาล
เช่น กรณีของ Flash Express เมื่อความต้องการมีมาก สิ่งที่ต้องทำ คือ 
1. เพิ่มจุดขยายสินค้า รับสินค้า และกระจายสินค้า
2. มีพนักงานเพิ่ม ไรเดอร์เพิ่ม และรถขนส่งเพิ่มขึ้น
กลายเป็นว่า รายได้โต แต่รายจ่ายโตเร็วกว่า ส่งผลให้กำไรขั้นต้นออกมาเป็น "ขาดทุนขั้นต้น"
ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เงินเดือนพนักงาน เงินเดือนผู้บริหาร ค่าโฆษณา โปรโมชั่นทางการตลาด อีกมาก

 

จึงไม่แปลกใจที่ช่วงหลังๆมานี้ เรามักจะได้ยินว่า Flash Express มีปัญหาเรื่องส่งสินค้าล่าช้า และมีปัญหากับพนักงานส่งของ
อ้างอิงจาก Thairath Money ทาง Flash Express ก็ยอมรับว่ามีการปรับลดค่าใช้จ่ายทางด้านพนักงานจริงๆ  ซึ่งเป็นการปรับลดตามปกติของกลไกตลาด 
ส่งผลให้พนักงานมีการลาออกเพียงแค่บางส่วน แน่นอนว่าเมื่อมีพนักงานลาออก จึงส่งผลกระทบกับบางสาขาบ้าง
ซึ่งต้องยอมรับว่า วิธีการลดค่าใช้จ่าย เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการพยายามคุมค่าใช้จ่ายให้ได้
เพราะอุตสาหกรรมขนส่งสินค้า เป็นธุรกิจที่แข่งขันกันสูงมาก โดยเฉพาะเรื่องของราคาค่าส่งที่เน้น "ถูกไว้ก่อน" 
การขึ้นราคา จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสักเท่าไร สำหรับผู้ประกอบการ
ดังนั้น  การลดผลตอบแทน และลดอัตราค่าจ้าง รวมถึงค่าคอมมิชชันของไรเดอร์ จึงเป็นตัวเลือกแรกๆในการพยายามลดค่าใช้จ่าย

 

 

การเติบโตอย่างก้าวกระโดด คือการเติบโตในแง่ของรายได้
แต่สำหรับกำไรแล้วยังไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะส่วนใหญ่จะออกไปในทางขาดทุน
ทำให้เกิดคำถาม ขึ้นว่า ในตลาดขนส่งที่เต็มไปด้วยคู่แข่งและสงครามราคา ทำให้นึกภาพไม่ออกเลยว่า 
บริษัทจะทำอย่างไรให้ออกมากำไรได้อย่างสม่ำเสมอ
ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ไม่ใช่แค่เฉพาะผู้บริหารอย่างเดียว
แต่นักลงทุนก็หันมาจับตากันด้วยเหมือนกันครับ ...


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง