ประเทศไทย กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมากขึ้น
ส่วนหนึ่งมาจากอัตราเด็กเกิดใหม่ที่น้อยลงเรื่อย คนรุ่นใหม่วางแผนครอบครัว ไม่อยากจะมีบุตรเพราะมองว่าการมีบุตรมีค่าใช้จ่ายที่เยอะมากตามมา รวมถึงความรับผิดชอบที่ต้องมากขึ้น
แต่อีกส่วหนึ่งมาจาก สภาวะที่มีบุตรยาก
ทำให้ธุรกิจบริการทางการแพทย์ประเภทผู้มีบุตรยาก ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ในเรื่องของการลงทุน กำลังจะมีหุ้นน้องใหม่กำลังเข้ามาจดทะเบียน คือ GFC หรือ บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
ทำธุรกิจให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีปัญหามีบุตรยากแบบครบวงจร ตั้งแต่ให้คำแนะนำและคำปรึกษา ตลอดจนการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม โดยทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ผู้ชำนาญการที่มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
ผลประกอบการของ GFC ที่ผ่านมา พบว่า ...
ในปี 2563 บริษัทมีรายได้ 214.83 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 66.55 ล้านบาท
ในปี 2564 บริษัทมีรายได้ 242.60 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 69.63 ล้านบาท
ในปี 2565 บริษัทมีรายได้ 276.12 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 65.68 ล้านบาท
ผลประกอบการ 6 เดือน ปี 2566 บริษัทมีรายได้ 167.32 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 34.33 ล้านบาท
จุดที่น่าสนใจ คือ ผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง
และมีอัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรสุทธิที่สูงมาก
โดยอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึงเกือบ 50%
ในขณะที่อัตรากำไรสุทธิสูงถึง 31% ถือว่าน่าสนใจเป็นอย่างมาก
สัดส่วนรายได้ของบริษัทมาจาก 5 ส่วนด้วยกันคือ
1. รายได้จากการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธี ICSI สัดส่วนรายได้ 70%
2. รายได้จากการให้บริการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน สัดส่วนรายได้ 18%
3. รายได้จากการตรวจเบื้องต้น พร้อมให้คำแนะนำ สัดส่วนรายได้ 7%
4. รายได้จากการให้บริการแช่แข็งไข่ และการฝากไข่ สัดส่วนรายได้ 4%
5. รายได้จากการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธี IUI สัดส่วนรายได้ 1%
บริษัทเริ่มเสนอขายหุ้นในวันที่ 4-6 ก.ย. 2566 ที่ผ่านรมา ด้วยราคา IPO 7 บาทต่อหุ้น (ราคาพาร์ 0.5 บาทต่อหุ้น)
ซึ่งด้วยราคา IPO ที่ 7 บาท คิดเป็น P/E ที่ 21.17 เท่า โดยมี EPS ที่ 0.33 บาทต่อหุ้น
- รู้จัก COCOCO ผู้แปรรูปมะพร้าวรายใหญ่ของไทย ที่กำลังจะ IPO เร็วๆนี้
- รู้จัก BE8 หุ้น P/E 63 เท่า แต่ทำไมถึงมองว่าราคาไม่แพง
- รู้จัก SAV ผู้ดูแลการจราจรน่านฟ้ากัมพูชาแต่เพียงผู้เดียว
คำถาม คือ GFC น่าสนใจแค่ไหน ในมุมมองนักวิเคราะห์
คำตอบ คือ มีความน่าสนใจมาก โดย
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ประเมินมูลค่าพื้นฐานของ GFC ที่ 10.10 บาทต่อหุ้น โดย re-lated PE ของ GFC ที่ระดับ Premium กลุ่มการแพทย์ เนื่องจาก 1) GFC มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันจากจุดเด่นศักยภาพให้บริการครบวงจร มีทีมแพทย์และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงในตลาด 2) มีการใช้เทคโนโลยี EEVA ร่วมวินิจฉัยและประเมินตัวอ่อน ทำให้ใน 1Q23 มีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์จากวิธี ICSI และวิธี ICSI +NGS ที่ 68% และ 73% ตามลำดับ สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 45% 3) มีโอกาสเติบโตสูงจากการเปิด 2 สาขาใหม่ และขยายลูกค้าต่างชาติ จะเป็นS-Curve ใหม่ของการเติบโตระยะยาว 4) ธุรกิจหลักของ GFC อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตขาขึ้น และ 5) การให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยากเป็นบริการเฉพาะกลุ่ม ทำให้ผู้ใช้บริการ ส่วนใหญ่มีความอ่อนไหวต่อราคาไม่มากและมีอัตราทำกำไรสูงกว่าธุรกิจโรงพยาบาล
พร้อมประเมินการเติบโตของ GFC ในปี 2024-2025 คาดกำไรสุทธิ 77 ล้านบาท และ 91 ล้านบาท ตามลำดับ หรือเติบโตเฉลี่ยต่อปี 32% CAGR จากปัจจัยสนับสนุน 1) รายได้เติบโตต่อปีเพิ่มขึ้น 24%CAGR จากการเปิด 2 สาขาใหม่ทำให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 2) ปี 2025 เริ่มเห็นผลบวก Economies of scale ของผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มี %Gross margin ที่ 45.9% ดีขึ้นจากปี 2024 และ 3) ค่าใช้จ่ายการเงินลดลงตามเงินกู้สถาบันการเงินลดลงในปี 2024 -2025
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเหมาะสม 10 บาท ( บน EPS 0.39 บาท ปี 2024) ด้วยวิธีเปรียบเทียบ Relative PE ของปี 2024 กับค่าเฉลี่ยของกลุ่มโรงพยาบาลที่มีคลินิก IVF เกือบทุกแห่ง และบริษัทต่างประเทศที่ทำคลินิก IVF ซึ่ง เทรด P/E ปี 2024 ทีี่ระดับ 20.5-25.5 เท่า แม้ GFC เป็นบริษัทขนาดเล็ก แต่หากเทียบอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นของ GFC ปี 2024 ที่ 45% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10-15% ของหุ้นกลุ่ม
ดังนั้นราคาเหมาะสมควรใกล้เคียงค่าเฉลี่ยกลุ่มโรงพยาบาลของไทย ที่ระดับ P/E 25.5 เท่า พร้อมทั้งได้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2024 ของ GFC เติบโต 45% จากการเปิดคลินิกสาขาสุวรรณภูมิ-พระราม 9 และคาดว่าบริษัทจะยังคงศักยภาพในการเติบโตในปี 2023 - 2024 ได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหนุนหลักมาจากการเปิดคลินิกสาขาใหม่ ที่จะสามารถเพิ่มสัดส่วนลูกค้าต่างชาติมากขึ้น ขณะเดียวกันยังมีรายได้บริการตรวจโคโมโซม และฝากไข่เพิ่มมากขึ้นหลังมีขยาย LAB เพิ่มขึ้น
บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประเมินราคาเหมาะสมที่ 9 บาทต่อหุ้น อิง 2024E PER ที่ี 25 เท่า เทียบเท่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม รพ. เนื่องจากการรักษาภาวะมีบุตรยาก มีความซับซ้อนและต้องการความใส่ใจมากกว่าการรักษาโรคทั่วไป รวมถึงมีอัตราในการทำกำไรมากกว่ารพ.ทั่วไป
ทั้งนี้ได้ประเมินกำไรปี 2023-2024 อยู่ที่ 51 ล้านบาท ลดลง 22% (YoY) และ 78 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53% (YoY) จากรายได้ปี 2023 -2024 เติบโตเพิ่มขึ้น 15% และ 37% (YoY) จากปัญหาของสุขภาพของทั้งผู้ชายและผู้หญิง ที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนคนไข้เข้ารับการรักษามากขึ้น ขณะที่รายได้เติบโตแต่ในปี 2023 กำไรถูกกดดันจากค่าใช้จ่ายของพนักงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจากการเตรียมตัวขยายสาขาในช่วงปลายปี 2023 และเชื่อว่าบริษัทจะมีกำไรจะกลับมาเติบโตในปี 2024 จากการขยายฐานคนไข้ทั้งในกรุงเทพฯ และอุบลราชธานี ที่สามารถรองรับทั้งคนไข้ในประเทศ และต่างประเทศ อาทิ จีน, อินเดีย, ยุโรป, ลาว และกัมพูชา ได้มากขึ้น
------------------------------------------------------------------------------
Reference
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ข้อมูล Filling : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์