ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์โรคระบาด COVID-19
เรามักจะพูดถึงเรื่องของการค้าแบบเสรี และเรื่องของ Globalization การแพร่กระจายของข่าวสาร การทำการค้าแบบไร้รอยต่อ
แต่หลังเกิดเหตุการณ์โรคระบาด สงครามรัสเซีย - ยูเครน
เราจะเริ่มเห็นการแบ่งข้างทางเศรษฐกิจมากขึ้น ที่เรียกว่า "Decoupling"
Decoupling คือ เรื่องของการจัดระเบียบเศรษฐกิจ แนวคิดการแยกเศรษฐกิจหรือห่วงโซ่การผลิตออกจากอีกประเทศหนึ่งอย่างสิ้นเชิง เพื่อลดการพึ่งพาประเทศนั้นๆ ในแง่การใช้เป็นฐานการผลิต รวมถึงฐานการนำเข้าหรือซัพพลายเออร์วัตถุดิบและส่วนประกอบ เพื่อลดผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั้งระบบในยามที่อะไรๆ ก็มีความไม่แน่นอนสูง จากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ต่างๆ
ซึ่งเราจะเห็นได้จากประเด็นเรื่องของ Trade War ที่นักลงทุนเคยกังวลกันอยู่ช่วงหนึ่ง
เมื่อโลกของเรามีการ "แบ่งข้างทางเศรษฐกิจ" ที่ยาวนานพอ จนกลายเป็น "โลกหลายขั้ว" หรือที่เรียกว่า Multipolar World
ประเด็นสำคัญ คือ Multipolar World จะอยู่กับเราไปอีกนาน ไม่มีทีท่าจะจบกันง่ายๆทำให้นักลงทุนตค้องเริ่มปรับตัวและเข้าใจผลกระทบทางเศรษฐกิจ ประเมินทิศทางในอนาคต และรู้ให้ทันโอกาสหรือความเสี่ยงของธีมลงทุนที่เกี่ยวข้อง
บทวิเคราะห์จาก SCB EIC วิเคราะห์ว่า มี 4 อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบ คือ
... อุตสาหกรรมการบิน
... อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
... อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
... อุปกรณ์การแพทย์
ซึ่งอุตสาหกรรมการบิน และอุปกรณ์การแพทย์ ของไทยไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก และการส่งออกการแพทย์ของไทยก็ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีชั้นสูง จึงมีผลกระทบที่ค่อนข้างจำกัด
ดังนั้นทาง SCB EIC มองว่า ไทยจะได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
SCB EIC มีความคิดเห็นว่า
1. ไทยควรกระจายความเสี่ยงในการนำเข้าและส่งออก รวมไปถึงการจัดหาห่วงโซ่อุปทานจากหลากหลายประเทศ
2. ภาครัฐควรมีส่วนสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมต้นน้ำในห่วงโซ่อุปทานของเซมิคอนดักเตอร์และเคมีภัณฑ์
การ Decoupling ระหว่าง สหรัฐฯ และจีน ไม่ใช่เรื่องไกลตัว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และเคมีภัณฑ์
ดังนั้น ในระยะถัดไปไทยควรกระจายความเสี่ยงในการนำเข้าและส่งออก รวมไปถึงการจัดหาห่วงโซ่อุปทานจากหลากหลายประเทศ
อีกทั้งภาครัฐควรมีส่วนสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมต้นน้ำในห่วงโซ่อุปทานของเซมิคอนดักเตอร์และเคมีภัณฑ์
เนื่องจาก Decoupling ทำให้ไทยมีโอกาสในอุตสาหกรรมทั้งสองมากขึ้น ภาครัฐจึงควรออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนให้เติบโตได้ต่อเนื่องในระยะยาว
- Decoupling เมื่อเศรษฐกิจต้องเลือกข้าง แล้วไทยควรอยู่ฝั่งไหน ?
- ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีเกินไป กำลังทำให้นักลงทุนกังวล
- บริษัทจดทะเบียนไทย จ่ายภาษีให้ประเทศรวม 3.75 แสนล้านบาท สุงสุดในประวัติศาสตร์ไทย
บทความจาก THE STANDARD WEALTH ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรม 3 กลุ่มด้วยกัน คือ Semiconductor, Robotics and AI และ Electric Vehicle
โดยมองว่า Semiconductor เป็นขั้วที่สมดุล ความเสี่ยงไม่สูง
และไม่ได้น่ากลัวอย่างที่สื่อต่างประเทศพยายามนำเสนอ
ส่วนอุตสาหกรรม Robotics and AI จะเอียงไปทางฝั่งอเมริกามากกว่า
แต่ความเสี่ยง คือ มีการกระจุกตัวและ Valuation ที่ค่อนข้างแพง
สำหรับอุตสาหกรรมสุดท้าย คือ EV ซึ่งเป็นธีมที่จีนกุมความได้เปรียบ
แต่ความได้เปรียบนี้ก็มาพร้อมกับราคาที่แพงเช่นกัน
ในส่วนสุดท้ายของบทความยังสรุปด้วยว่า ทั้ง 3 ธีมลงทุนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงสอนเราว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก Multipolar World อาจไม่ได้เป็นสีขาวหรือดำเสมอ
ขณะที่โอกาสของการลงทุนก็ไม่ได้อยู่แค่ว่าธุรกิจของประเทศไหนสามารถไขว่คว้าอนาคตได้มากที่สุด
แต่ระดับราคาจะมีความผันผวนสุดโต่งมากขึ้น
ดังนั้นเราจึงควรถามหา Valuation ทุกครั้ง
ก่อนลงทุนในโลกหลายขั้วที่เรากำลังอาศัยอยู่นี้นะครับ ....
------------------------------------------------------------------------------
Reference
SCB EIC