ผ่านพ้นไตรมาส 1 ปี 2566 ไปเป็นที่เรียบร้อย ...
เชื่อว่าจะเริ่มเห็นบริษัทจดทะเบียนไทยค่อยๆประกาศผลประกอบการออกมา และกลุ่มแรกที่นักลงทุนให้ความสนใจ น่าจะเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะแบงก์ขนาดใหญ่อย่าง BBL KBANK และ SCB
เรามาดูกันว่า ผลประกอบการหุ้นแบงก์ใหญ่ไตรมาส 1 ปี 2566 ภาพจะออกมาเป็นอย่างไร
อยากจะเล่าให้ฟังแบบนี้ครับ
BBL
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ทรีนีตี้ มองว่า SCB จะมีกำไรสุทธิที่ 8,843 ล้านบาท ดีขึ้น 17%QoQ และดีขึ้น 24%YoY
จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ทรงตัว สินเชื่อ่อนตัวลงเล็กน้อย ขณะที่ NIM ทรงตัว และการขาดทุนจากเงินลงทุนลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่มีบันทึกขาดทุนมากถึง 2.6 พันล้านบาท
... ทั้งปี 2566 BBL น่าจะมีกำไรสุทธิ 33,684 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%YoY จากแนวโน้มดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น สินเชื่อและรายได้ที่โตตามเศรษฐกิจ การตั้งสำรองหนี้ที่ลดลง
บทวิเคราะห์มองว่าเป็นแบงก์ที่แข็งแกร่งทั้งในด้านคุณภาพหนี้และสำรองส่วนเกิน ค่อนข้างโดดเด่นเมื่อเทียบกับกลุ่ม และราคาหุ้นซื้อขายกันที่ราคาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มแบงก์ขนาดใหญ่
SCB
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ทรีนีตี้ มองว่า SCB จะมีกำไรสุทธิที่ 10,048 ล้านบาท ดีขึ้น 41%QoQ แต่ทรงตัว YoY
จากรายได้ดอกเบี้ยปรับตัวดีขึ้น แนวโน้มสินเชื่อและ NIM เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ที่สำคัญ คือ จะขาดทุนจากเงินลงทุนน้อยลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2565 ที่มีบันทึกขาดทุนสูงถึง 1.3 พันล้านบาท
... ทั้งปี 2566 SCB น่าจะมีกำไรสุทธิ 44,283 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% YoY จากภาษีจ่ายที่ลดลง การปรับโครงสร้างธุรกิจ และสินเชื่อที่เติบโต
บทวิเคราะห์มองว่า SCB เป็นหุ้นแบงก์ที่มี Upside น่าสนใจ และปันผลที่สูงราวๆ 5%
- COTTO แผนปรับโครงสร้าง SCG Decor กับสิ่งที่นักลงทุนต้องรู้
- รู้จัก MGC ธุรกิจค้าปลีกยานยนต์ Lifestyle Mobility Ecosystem ที่กำลังจะ IPO เร็ว ๆ นี้
- สรุปประเด็น เกิดอะไรขึ้นกับราคาน้ำมัน
KBANK
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ทรีนีตี้ มองว่า KBANK จะมีกำไรสุทธิที่ 10,993 ล้านบาท ล้านบาท ดีขึ้น 245%QoQ แต่ลดลง 2%YoY
สาเหตุเป็นเพราะว่า KBANK มีการตั้งสำรองสูงในไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ในไตรมาส 1 ปี 2566 ลดลงค่อนข้างมาก
ปัจจัยกดดันหลักมาจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ที่จะลดลง 39% QoQ จากการบันทึกผลขาดทุนจากเงินลงทุน
... ทั้งปี 2566 KBANK น่าจะมีกำไรสุทธิ 41,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% YoY จากลูกหนี้รายย่อยที่เป็น High Yield สินเชื่อ NIM และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยมีแนวโน้มดีขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และดอกเบี้ยขาขึ้น
บทวิเคราะห์มองว่า KBANK เป็นหุ้นที่ราคาอ่อนตัวค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา จากความกังวลวิกฤตสถาบันการเงินในต่างประเทศ มองว่า Upside ค่อนข้างสูง
โดยภาพรวมแล้ว การวิเคราะห์กลุ่มแบงก์ใหญ่มีทิศทางไปในทางบวก ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโตได้ จากฐานของไตรมาส 4 ปี 2565 ที่ค่อนข้างต่ำ
แต่สำหรับผลประกอบการเต็มปี หุ้นแบงก์น่าจะโตไปพร้อมๆกับเศรษฐกิจไทย แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ ราคาหุ้นที่ลดลงค่อนข้างมากจากกระแสข่าวเรื่องวิกฤตสถาบันการเงิน ทำให้ราคาหุ้นเมื่อเทียบกับ Upside แล้วอยู่ในเกณฑ์ที่น่าสนใจ และหุ้นบางตัวมีปันผลที่ค่อนข้างดี ...
------------------------------------------------------------------------------
Reference
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ทรีนีตี้ : หลักทรัพย์ SCB