ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนกำลังเห็นการพยายามดึงสภาพคล่องกลับ (เอาเงินกลับเข้าระบบ) เพื่อพยายามกดเงินเฟ้อให้มาอยู่ที่ 2%
โดยเฉพาะเรื่องของการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว และยาวนาน ..
แต่ดูเหมือนว่าการขึ้นดอกเบี้ยอย่างมาก จะทำให้ธนาคารของทางฝั่งอเมริกาและยุโรปเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง อย่างที่เราเห็นในข่าวไม่ว่าจะเป็น SVB, Signature Bank หรือแม้แต่ธนาคารที่มีอายุกว่า 100 ปี ของสวิสอย่าง Credit Suisse
ดังนั้น สิ่งเดียวที่จะแก้ปัญหาได้ คือ การอัดฉีดสภาพคล่องกลับ
พูดง่ายๆ คือ นักลงทุนกำลังเห็นการพิมพ์เงินกลับเข้าไปอุ้มธนาคารที่มีปัญหาเหล่านี้อีกครั้ง
ทางฝั่งยุโรป
ธนาคารกลางสวิส เร่งเข้ามาจัดการปัญหาของ Credit Suisse โดยเปิดทางให้ UBS เข้าซื้อกิจการและยังให้เงินช่วยเหลือเพื่อชดเชยผลขาดทุนแก่ UBS ในการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เพื่อให้เป็นไปอย่างคล่องตัว ลดความเสี่ยงให้กับ UBS รวมถึงระบบเศรษฐกิข
ทางฝั่งอเมริกา
FED ประการอัดเงินเงินกว่า 3 แสนล้านเหรียญ เข้าสู่งบดุลของธนาคารกลาง (พิมพ์เงิน) ซึ่งมากที่สุดในรอบ 3 ปี เพื่อแก้ไข 3 ประเด็นด้วยกัน คือ
1. ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมโดยใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน 1.4 แสนล้านเหรียญ
2. โครงการ Bank Term Funding Program 1 หมื่นล้านเหรียญ
3. คุ้มครองเงินฝากจากการล้มละลายของธนาคาร 1 แสนล้านเหรียญ
เรียกได้ว่าเป็นการพิมพ์เงินขนาดใหญ่หลังจากที่ห่างหายไปนานราวๆ 2 ปี ...
ตอนนี้ตลาดคาดว่า FED อาจจะยุติการขึ้นดอกเบี้ยแล้วมองหาวิธีการอื่นแทนเพื่อกดเงินเฟ้อให้ลง
การประชุมที่จะถึงนี้ ตลาดมองว่า FED น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% และกำหนดเพดานการขึ้นดอกเบี้ยที่ 5% (จากเดิม 5.75%)
หลังจากเข้าสู่ช่วงปลายปี เราจะเริ่มเห็น FED กลับมาลดดอกเบี้ยอีกครั้ง พร้อมกับปรับเพดานดอกเบี้ยให้เหลือเพียง 4%
- สรุปประเด็น เกิดอะไรขึ้นกับ Credit Suisse ?
- ปัญหาที่กำลังจะตามมาหลัง SVB ล้มละลาย
- สรุป SVB คืออะไร เกิดอะไรขึ้น แล้วทำไมนักลงทุนต้องให้ความสนใจ ?
คำถามคือ จากสิ่งที่เล่ามาทั้งหมด ส่งผลกระทบต่อหุ้นไทยอย่างไร ...
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส วิเคราะห์ว่า อาจจะส่งผลในเชิงบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงระยะสั้น ทั้งตัวค่าเงินบาทเองที่กลับมาแข็งค่า และหนุนให้ FundFlow ชะลอการไหลออก
แต่สิ่งที่ยังน่ากังวล คือ ตลาดยังไม่รู้ว่ามีธนาคารไหนที่พร้อมจะประกาศล้มละลายอีกบ้าง และอาจจะสร้างประเด็น Sentiment เชิงลบต่อการลงทุนได้อีกครั้ง
------------------------------------------------------------------------------
Reference
CNN Business