สิ่งที่นักลงทุนเข้าใจว่า Silicon Valley Bank หรือ SVB กำลังมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องทำให้ผู้ฝากเงินหมดความเชื่อมั่น แห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคาร
แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ SVB อย่างเดียว รวมถึงแบงก์ขนาดเล็กอื่นๆ แบงก์ท้องถิ่นก็เจอกับปัญหาเดียวกัน คือ คนแห่กันไปถอนเงิน
สิ่งที่นักลงทุนกำลังให้ความสนใจมากที่สุด คือ หลังการล้มละลายของ SVB จะมีปัญหาอะไรตามมาอีกบ้าง เพราะเราต้องไม่ลืมว่า SVB คือธนาคารใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของ สหรัฐอเมริกา และนับเป็นเหตุธนาคารล้มครั้งใหญ่สุดในอเมริกา รอบ 15 ปี นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา
การจะบอกว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เดียวมันก็จะผ่านไป จึงอาจจะเป็นเรื่องเข้าใจผิด ..
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส วิเคราะห์ว่า ปัญหาที่กำลังจะตามมาหลัง SVB ล้มละลาย จะมีอยู่ 5 ประเด็นที่เราต้องติดตาม คือ
1. ต้นเหตุของการล่มสลายสามารถเกิดขึ้นกับธนาคารอื่นได้ทั่วไป
ปัญหาขาดสภาพคล่อง การปล่อยกู้ให้กับ Startup มากเกินไป มีความเสี่ยงสูงต่อการผิดนัดชำระหนี้
2. ทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของ FED อาจจะชะลอตัวลง
ปัญหาที่เกิดขึ้น ล้วนมีสาเหตุมาจากการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่มากเกินไปและยืดเยื้อเพื่อกดเงินเฟ้อให้อยู่ที่ 2%
ดังนั้น จากสิ่งที่เกิดขึ้น เราอาจจะเห็นFED ทบทวนและตัดสินใจเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย ในทิศทางที่ชะลอตัวลง
บทวิเคราะห์คาดว่า การประชุมครั้งหน้าวันที่ 22 มีนาคม FED อาจจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25%
3. ดอลลาร์อ่อนค่า
การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่ 0.25%
ในขณะที่ ECB อาจจะขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.5% ส่วนต่างดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น เราอาจจะเห็นทิศทางเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
4. โอกาสเกิด Recession มีสูงมากในระยะถัดไป
5. เกิดความผันผวนในตลาดการเงินไปอีกระยะ
ตั้งแต่ Bond Yield สหรัฐปรับตัวลงมาราวๆ -5.8% รวมถึงตลาดหุ้นทางฝั่งอเมริกาปรับตัวลงราวๆ -1.1% ถึง -2.9%
- สรุป SVB คืออะไร เกิดอะไรขึ้น แล้วทำไมนักลงทุนต้องให้ความสนใจ ?
- ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีเกินไป กำลังทำให้นักลงทุนกังวล
- 7 สิ่งที่ต้องสอนให้เด็กรุ่นใหม่ ให้รุ่งทันโลก
โดยสรุปแล้ว การเพิ่มขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วกระทบต่อภาคธุรกิจมหาศาล อย่างที่เราได้เห็นใน SVB แล้ว ขณะที่ในอนาคตอาจจะรุกรามไปยังภาพรวมของเศรษฐกิจ และกระทบต่อตลาดหุ้นบ้านเราได้ด้วยเหมือนกัน
แต่เป็นผลกระทบในลักษณะที่ "จำกัด"
สะท้อนได้จากการปัญหาดอกเบี้ยสหรัฐถูกเร่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว 4.25% ในรอบ 1 ปี
ขณะที่ดอกเบี้ยไทยปรับขึ้นเพียง 1% ในช่วง 1 ปี ซึ่งต่ำกว่าสหรัฐมาก
ทำให้ปัญหาการเร่งขึ้นดอกเบี้ยและต้นทุนทางการเงิน มีความเสี่ยงน้อยกว่าทางฝั่งอเมริกา
------------------------------------------------------------------------------
Reference
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส