ช่วงนี้เราจะเห็น "การรับจ่ายบิลแลกเงิน" มากขึ้นอย่างผิดสังเกต
กล่าวคือ เวลาคนจะจ่ายค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ก็มักจะหาคนมารับชำระตาม Facebook โดยให้ราคาต่ำกว่าความเป็นจริงๆราวๆ 30%
ตัวอย่างเช่น ยอดค่าไฟ 2,000 บาท จะโอนให้ 1700 บาท เมื่อยอดโดนตัด
หรือยอดค่าอินเตอร์เน็ต 700 บาท จะโอนให้ 550 บาท ลักษณะนี้ เป็นต้น
ถามว่า ทำได้อย่างไร ?
ผู้ใช้จำนวนมากที่รับชำระ จะใช้บริการ "SPayLater" ของแพลตฟอร์ม Shopee
โดยผู้ใช้สามารถนำวงเงินสินเชื่อดังกล่าวชำระเงินต่างๆ บนแพลตฟอร์มได้ รวมถึงการจ่ายบิลต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และค่าอินเทอร์เน็ต
ประเด็นคือ สินเชื่อดังกล่าวไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ แต่มีบางคนอยากได้เป็นเงินสด จึงยอมรับธุรกรรม "รับจ่ายบิลแลกเงิน" กันเกิดขึ้น
คำถาม คือ เหตุการณ์ลักษณะนี้ สะท้อนถึงอะไร
คำตอบสั้นๆที่พอจะอธิบายได้ คือ เศรษฐกิจไทยฝืดเคือง และมีปัญหาทางด้านสภาพคล่องอย่างหนัก
คนต้องการเงินสด และขาดสภาพคล่อง โดยการไปรับจ่ายหนี้แทน เพื่อขอระยะเวลาออกไป
ซึ่งเรื่องนี้ไม่ต่างจากการนำสินเชื่อบัตรเครดิตมาใช้จ่าย โดยใช้อีกบัตรหนึ่งถอนเงินเพื่อมาจ่ายอีกบัตรหนึ่ง
ประเด็นที่น่ากังวลต่อไป คือ ถ้าเราปล่อยให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ
และมีระยะเวลายาวนานพอ จะทำให้เกิด NPL พุ่งขึ้นต่อได้ในอนาคต
ผู้คนก็จะเป็นหนี้เรื้อรังในระยะต่อไป เกิดเป็นปัญหาเศรษฐกิจได้ในอนาคต
- ทำไมเราถึงควรชอบ "หุ้นปันผล"
- เริ่มต้นลงทุนหุ้นต่างประเทศ ในแบบฉบับของมือใหม่
- โรงไฟฟ้า กับการเป็นหุ้น Defensive เริ่มต้นลงทุนหุ้นโรงไฟฟ้าอย่างเข้าใจ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องของ "การรับจ่ายบิลแลกเงิน" ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดอย่างไร
ตราบใดที่ทั้งสองยินยอมของทั้งเจ้าของบิลและผู้ใช้สินเชื่อ
แต่สิ่งที่เราต้องคิดต่อไป คือ ถ้าเราอยู่ในฐานะ "ผู้รับชำระ"จะมีความเสี่ยงแค่ไหนถ้าเกิดเราจ่ายคืนไม่ไหว ในอนาคต
อีกทั้งยังต้องระวังในเรื่องของมิจฉาชีพ กล่าวคือ จ่ายเงินไปแล้วแต่ไม่ได้รับเงิน ก็อาจจะเป็นภัยทางการเงินอีกรูปแบบหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต