#ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน
#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

MBK เจ้าของห้างมาบุญครอง - พาราไดซ์พาร์ค ที่จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเข้ามาซื้อขายของ "สยามพิวรรธน์"

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
1,565 views

เมื่อวานนักลงทุนน่าจะได้ยินจากสื่อต่างชาติว่า บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กำลังเล็ง IPO เข้าตลาดหุ้น 
โดย สยามพิวรรธน์ เป็นผู้บริหารศูนย์การค้า สยามดิสคัฟเวอรี, สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน, ไอคอนสยาม, ไอซีเอส และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ 
รวมถึงอาคารสำนักงาน สยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ และมีธุรกิจห้างสรรพสินค้า Paragon Department Store ที่ร่วมทุนกับกลุ่มเดอะมอลล์ และ 
ห้างสรรพสินค้าที่เปิดใหม่ อย่าง Siam Takashimaya ที่ร่วมทุนกับกลุ่มทาคาชิมายะ จากญี่ปุ่น

 

ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ การทำ IPO ของสยามพิวรรธน์ น่าจะเป็นการทำ IPO ครั้งใหญ่สุดของไทยในรอบ 2 ปี 
ซึ่งสื่อต่างชาติคาดว่าน่าจะอยู่ที่มูลค่าประมาณ 500-750 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.7-2.6 หมื่นล้านบาท
ซึ่งตอนนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา และน่าจะมีความชัดเจนอีกครั้งประมาณปลายปีนี้

แน่นอนว่าประเด็นข่าวนี้ ทำให้หุ้น MBK พุ่งขึ้นถึง +17% ภายในวันเดียว
ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า สยามพิวรรธน์ เกี่ยวข้องอย่างไรกับ MBK ? 
คำตอบสั้นๆที่พอจะอธิบายได้ คือ MBK ถือหุ้นสยามพิวรรธน์ อยู่ 48.7% 
ถ้าสยามพิวรรธน์ มีการทำ IPO เข้าตลาดหุ้นจะทำให้ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง MBK ได้รับประโยชน์อย่างมาก
และถ้าเป็นไปตามที่สื่อต่างชาติ คาดว่า IPO ของสยามพิวรรธน์ มีมูลค่าสูงถึง 2.6 หมื่นล้านบาท
อาจจะทำให้หุ้น MBK ได้รับอานิสงค์เพิ่มอีกราวๆ 1.3 หมื่นล้านบาทได้เลยทีเดียว

 

อ่านมาถึงตรงนี้ เราอาจจะสงสัยว่า MBK คือใคร 
บริษัททำธุรกิจอะไร ? 
MBK หรือ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจ ศูนย์การค้า ธุรกิจโรงแรม
ที่นักลงทุนต้องรู้จักอย่างแน่นอน คือ ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง, พาราไดซ์ พาร์ค และเดอะไนน์
ธุรกิจโรงแรม เช่น โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส, โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท เป็นต้น
นอกจากนี้ MBK ยังมีธุรกิจอีกจำนวนมาก เช่น 
ธุรกิจอาหาร : ข้าวมาบุญครอง , ฟู้ด เลเจ้นด์ส บาย เอ็มบีเค
ธุรกิจการเงิน อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจการประมูล รวมถึงธุรกิจสนามกอล์ฟ
เรียกได้ว่ามีกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย นักลงทุนคุ้นเคยเป็นอย่างดี 
และการกระจายสัดส่วนรายได้ของกลุ่มธุรกิจที่ค่อนข้าง "สมดุล"

 

ผลประกอบการของ MBK ที่ผ่านมา พบว่า
ปี 2563 บริษัทมีรายได้ 9.23 พันล้านบาท และกำไรสุทธิ 149 ล้านบาท
ปี 2564 บริษัทมีรายได้ 8.19 พันล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 804 ล้านบาท (จากวิกฤตโควิด)
ปี 2565 บริษัทมีรายได้ 9.03 พันล้านบาท และกำไรสุทธิ 331 ล้านบาท
ปี 2566 บริษัทมีรายได้ 10.55 พันล้านบาท และกำไรสุทธิ 1.56 พันล้านบาท
ต้องยอมรับว่า MBK มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจาก วิกฤตโควิด 
แต่ถ้าเราสังเกตพบว่าในปี 2565 ผลประกอบการเริ่มกลับมามีกำไร และฟื้นตัวอย่างชัดเจนในปี 2566

 

MBK เป็นหุ้นที่ปริมาณการซื้อขายไม่มากในแต่ละวัน ทำให้มักไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไรนักจากนักลงทุน
แต่ถ้าพิจารณาจากในแง่พื้นฐาน ต้องยอมรับว่าเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดี และปันผลสม่ำเสมอที่ระดับ 5% ถึงแม้จะมีการงดจ่ายไปบ้างช่วงวิกฤตโควิด
แต่พอวิกฤตผ่านพ้นไป บริษัทก็กลับมาปันผลได้ใหม่ 
เชื่อว่าถ้าบริษัทยังมีผลประกอบการที่ดีอยู่ต่อไป การจ่ายปันผลของ MBK ก็จะยังคงสม่ำเสมอ

 

ยิ่งมีประเด็นเรื่องของการที่สยามพิวรรธน์ จะ IPO เข้าตลาดหุ้น
จะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับหุ้น MBK อย่างมาก
เพราะเราต้องไม่ลืมว่า MBK ถือหุ้น สยามพิวรรธน์ 48.7% 
และการที่สยามพิวรรธน์ เข้ามา IPO ในตลาดหุ้นไทย น่าจะช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง

------------------------------------------------------------------------------
Reference
สำนักข่าวอินโฟเควสท์

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

รายงานประจำปี 2566 : บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) 

ผลประกอบการสำคัญ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี 2566


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง