#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

ทำไม BOJ ถึงต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย สวนทางกับธนาคารกลางทั่วโลก ?

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
1,039 views

เมื่อไม่นานมานี้สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ที่ประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเมื่อวานที่ผ่านมา 
นับเป็นการปรับขึ้นอัตราครั้งแรกนับตั้งปี 2550 หรือในรอบ 17 ปี  
โดยที่ประชุม BOJ มีมติยกเลิกอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจาก -0.1% สู่ระดับ 0 - 0.1% 
และถือเป็นการสิ้นสุดนโยบายดอกเบี้ยติดลบที่ใช้มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2559

 

นอกจากนี้ ยังประกาศยกเลิกมาตรการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) สำหรับพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น รุ่นอายุ 10 ปี 
ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นใช้ในการควบคุมอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะยาว ด้วยการเข้าซื้อและขายพันธบัตรตามความจำเป็น
BOJ ยังระบุว่า จะยุติการซื้อกองทุน ETF และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่น (J-REITs) 
โดยจะค่อย ๆ ปรับลดการซื้อหุ้นกู้ และตั้งเป้ายุติการซื้อภายในระยะเวลาประมาณหนึ่งปี

คำถาม คือ สิ่งที่นักลงทุนรู้มาว่าดอกเบี้ยโลกกำลังจะเป็น "ขาลง"
แต่ทำไมธนาคารกลางญี่ปุ่น ถึงสวนชาวบ้านเขา โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น อยากสรุปให้เข้าใจแบบง่ายๆ อย่างนี้ครับ

 

1. เงินเฟ้อคือสิ่งที่ญี่ปุ่นต้องการ
ตามตำราเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ มองว่า การที่เศรษฐกิจอยู่ในระดับการเติบโตที่ยอมรับได้ คือ เงินเฟ้อแบบ "อ่อนๆ"
อ่อนมากแค่ไหน น่าจะประมาณ 1-2% ต่อปี เป็นสิ่งที่ดี
แต่ประเทศญี่ปุ่นเจอกับสภาวะเงินฝืดมายาวนานถึง 20 ปี คือตั้งแต่ปี 1990 จนถึงปี 2020
ทำให้คนญี่ปุ่นไม่กล้าใช้เงิน ได้มาเท่าไรก็ยิ่งเก็บเอาไว้ เพราะเจอกับสภาวะที่เงินฝืดเอามากๆ 
ทาง BOJ เลยคงดอกเบี้ยมาตั้งแต่ปี 2007 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และลดอัตราดอกเบี้ยจนติดลบในปี 2016 เพื่อให้คนนำเงินออกมาใช้ แทนที่จะเก็บฝากเงินไว้ในธนาคาร

 

2. รัฐบาลมีหนี้มาก การเพิ่มดอกเบี้ย คือเพิ่มภาระให้กับรัฐบาลตามไปด้วย
นี้ถือเป็นเหตุผลสำคัญมาก เพราะในอดีตการที่ญี่ปุ่นเจอกับสภาวะเงินฝืด ทำให้รัฐบาลต้องเร่งอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
ซึ่งเป็นการสร้างหนี้ให้กับภาครัฐมาก รวมถึงสวัสดิการสังคมที่คนญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในขณะที่คนทำงานมีน้อย
ถ้า BOJ เพิ่มดอกเบี้ย เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มมากขึ้นให้กับรัฐบาล
ทำให้ BOJ ตัดสินใจกดดอกเบี้ยให้ต่ำไว้ จึงเป็นแนวทางที่ดำเนินการมานาน

ซึ่งก็ได้ผล เพราะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มกลับมาฟื้นตัว "แบบอ่อนๆ" 
ท่ามกลางเงินเฟ้อของทั่วโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เช่น สหรัฐอเมริกา เจอกับเงินเฟ้อราวๆ 5-8% ในขณะที่ญี่ปุ่นเจอกับเงินเฟ้อราวๆ 2% เท่านั้น ในช่วงปี 2021-203

 

เมื่อ BOJ เห็นว่า วิธีนี้ใช้ได้ผล เริ่มเห็นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นกลับมาฟื้นตัวได้ดี จากภาวะเงินเฟ้อที่ขึ้นแบบอ่อนๆ 
ทำให้ BOJ ไม่มีการขึ้นดอกเบี้ยเลย และยังคงอัตราดอกเบี้ยติดลบเอาไว้
ท่ามกลางธนาคารกลางประเทศอื่นขยับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสูงมาก (รวมถึงประเทศไทยด้วย) ...

 

เมื่อเงินเฟ้อของประเทศต่างๆเริ่มสูงขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะ "ลดดอกเบี้ย" เพื่อพยายามสกัดเงินเฟ้อ
แต่ทำไมญี่ปุ่นถึงปรับขึ้นดอกเบี้ย ? 
เหตุผลเพียงเพราะว่า ต้องการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินเย็นไม่ให้อ่อนค่าจนเกินไป ...
เราอาจจะรู้มาว่า ช่วงนี้ค่าเงินเยนอ่อนค่ามาก คนไทยเลยไปแลกเงินเพื่อเตรียมไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น 
แน่นอนว่า การที่ค่าเงินอ่อน ส่งผลเชิงบวกต่อการท่องเที่ยว
แต่ก็ส่งผลในทางลบต่อการนำเข้า เพราะต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าเท่าเดิม
โดยเฉพาะราคาพลังงานที่ต้องนำเข้าในราคาสูง 
พูดง่ายๆ คือ ตอนนี้รัฐบาลญี่ปุ่นมีการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อให้ถูกลง 
ถ้าค่าเงินเยนอ่อนค่าลงไปมากกว่านี้เท่ากับว่ารัฐบาลต้องแบกรับภาระราคาพลังงานที่แพงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ดังนั้น จุดประสงค์ของการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ เพื่อให้ค่าเงินเย็นกลับมามีเสถียรภาพ ไม่อ่อนค่าไปมากกว่านี้

 

 

ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายของ BOJ
เพราะญี่ปุ่นต้องเจอกับปัญหาเงินฝืดมายาวนาน จนต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำมาตลอด
แต่การทำแบบนี้ก็เป็นการปล่อยค่าเงินเยนให้อ่อนตัวไปเรื่อยๆ จนมีปัญหากับราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ทำให้ BOJ ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน ซึ่งก็คือ การขึ้นดอกเบี้ย นั่นเอง


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง