หลายๆครั้งเวลาเราวัดควาถูกแพงของหุ้น เรามักจะใช้อัตราส่วนยอดนิยม คือ P/E Ratio
โดย P คือราคาหุ้น ในขณะที่ E คือ Earning หรือกำไรสุทธิ
ปัญหาจะอยู่ตรงกำไรสุทธิ กล่าวคือ ถ้าบริษัทไหนมีการตัดค่าเสื่อมออกไปเป็นจำนวนมาก (ซึ่งไม่ได้เป็นรายจ่ายจริงๆ)
จะทำให้กำไรสุทธิคลาดเคลื่อนได้ และการวัดด้วยค่า P/E ก็อาจจะไม่ได้ครอบคลุมถึงความถูกต้องมากนักถ้าผู้ลงทุนไม่ได้เข้าใจที่มาของกำไรสุทธิจริงๆ
ดังนั้น จึงมีอัตราส่วนขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง เพื่อมาแก้ปัญหาการวัดความถูกแพงด้วยค่า P/E
ซึ่งก็คือ EV/EBITDA
EV/ EBITDA คือ อัตราส่วนการเปรียบเทียบระหว่าง มูลค่าของกิจการ (EV)
กับกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA)
โดย Enterprise Value หรือ EV = มูลค่าตลาด + หนี้สินรวม - กระแสเงินสด
และ EBITDA = กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) + ค่าเสื่อมราคา + ค่าตัดจำหน่าย
ซึ่ง EV/EBITDA เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ประเมินความถูกแพงของหุ้นที่มีค่าเสื่อมหรือมีหนี้มาก
และเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ประเมินมูลค่ากิจการเวลาที่จะเข้าซื้อกิจการอีกด้วย
คำถาม คือ เมื่อเราได้ตัวเลข EV/ EBITDA แล้วจะใช้อย่างไร ?
- EV/EBITDA มาก แสดงว่าบริษัทนั้นมีทรัพย์สินมากแต่สามารถทำกำไรได้น้อย
- EV/EBITDA น้อย แสดงว่า บริษัทนั้นมีทรัพย์สินน้อยแต่สามารถทำกำไรได้มาก
- EV/EBITDA มีค่าติดลบ หมายความว่าบริษัท ณ ช่วงเวลานั้น ไม่มีกำไร จึงไม่สามารถนำมาวัดความถูกแพงได้
- งบกระแสเงินสด ฉบับเข้าใจง่าย
- ทำไมนักลงทุนถึงชองหุ้น P/E สูง มากกว่าหุ้น P/E ต่ำ ?
- Margin of Safety ด้วย P/E Ratio ในแบบของมือใหม่
การพิจารณาค่า EV/EBITDA ทำได้ด้วยการ นำไปเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือค่าเฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรม
โดยถ้า EV/EBITDA มีค่าต่ำ แสดงว่าบริษัทนั้นมีราคาถูก
ในอีกมุมหนึ่ง ถ้า EV/EBITDA มีค่าสูง แสดงว่าบริษัทนั้นมีราคาแพง
การใช้ EV/EBITDA ช่วยลดผลกระทบเรื่องความแตกต่างกันของโครงสร้างหนี้สินต่อทุนของแต่ละบริษัท
จากการที่นำส่วนของหนี้สินมาคำนวณร่วมด้วย
รวมถึงมักถูกใช้ทดแทนการประเมินด้วย P/E ในกรณีที่บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ
แต่ยังคงมี EBITDA เป็นบวก ทำให้ไม่สามารถประเมินมูลค่าด้วยวิธี P/E ได้
EV/EBITDA คือตัวเลขอัตราส่วนที่ดูเหมือนจะซับซ้อนมากกว่าค่า P/E ที่ตรงไปตรงมา
แต่ช่วยแก้ปัญหา หุ้นที่ไม่สามารถหาค่า P/E ได้เนื่องจากตัดค่าเสื่อมเป็นจำนวนมาก
อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบเรื่องความแตกต่างกันของโครงสร้างหนี้สินต่อทุนของแต่ละบริษัท
โดยมีการนำหนี้สินมาคำนวนร่วมด้วย
ถือเป็นตัวเลขที่ใส่ความปลอดภัยระดับหนึ่ง และทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจตัวเลขทางการเงินมากขึ้น
สำหรับนักลงทุนที่ไม่อยากหาค่า EV/EBITDA
เราสามารถหาตัวเลขเหล่านี้ได้จากบทวิเคราะห์รายบริษัท จะมีรายงานตัวเลขนี้อยู่ ก็สามารถทำได้ด้วยเหมือนกันครับ