#ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน
#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

กรณีศึกษา AWC กับกำไรที่ All Time High จากกลยุทธ์ "เปิด Hotel ก่อนเติม Retail"

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
1,291 views

ช่วงนี้ต้องยอมรับว่าตลาดหุ้นไทยค่อนข้าง "เงียบเหงา" 
ทำให้หุ้นขนาดใหญ่มักไม่ค่อยเป็นที่สนใจเท่าไรนัก และยิ่งเป็นหุ้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วยแล้ว ทำให้ไม่ถูกพูดถึงมากสักเท่าไรนัก
แต่รู้หรือไม่ว่า หุ้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถเติบโตโดดเด่นไม่แพ้กัน โดยเฉพาะ AWC หรือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) 
ที่ประกาศผลประกอบการทำ All Time High แตะจุดสูงสุดใหม่

โดยปี 2566 บริษัทประกาศรายได้ 14.03 พันล้านบาท และกำไรสุทธิ 5.03 พันล้านบาท
ถ้าเราดูเฉพาะไตรมาส 4 ปี 2566 อย่างเดียว กำไรจะอยู่ที่ 471 ล้านบาท เติบโตทั้ง YoY และ QoQ โดยหลักของการเติบโตจะมาจากธุรกิจโรงแรม 
- อัตราการใช้ห้องพักเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น
- ราคาห้องพักเฉลี่ย เพิ่มขึ้น
- รายได้ต่อห้องมากขึ้น
- ประสิทธิภาพของโรงแรมปรับตัวดีขึ้น SG&A ทรงตัว บ่งบอกถึงการควบคุมต้นทุนได้ดี 
รองลงมาเป็นธุรกิจออฟฟิศให้เช่า ที่เติบโตประมาณ 7% จากค่าเช่าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

 

คำถาม คือ การเติบโตที่โดดเด่นของ AWC มาจากอะไร ?
คำตอบ คือ การมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน โดยเฉพาะการ "เปิด Hotel ก่อนเติม Retail" ..

คุณวัลลภา ไตรโสรัส ระธานเจ้าหน้าที่บริหาร AWC กล่าวว่า 
โมเดลการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ของ AWC เน้นพัฒนาโครงการ "มิกซ์ยูสขนาดใหญ่" 
ระดับแฟลกชิปในรูปแบบของ AWC's Lifestyle & Workplace Destinations 
ภายใต้กลยุทธ์ "เปิด Hotel ก่อนเติม Retail" 
มุ่งสร้าง "เดสติเนชัน" ขนาดใหญ่ให้กับประเทศไทย

โดยจะเชื่อมต่อประสบการณ์ของทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าอย่างครอบคลุมทั้งในด้านผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก ด้วยการผสานจุดแข็งของ AWC กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

ปัจจุบัน AWC มีแผนพัฒนามิกซ์ยูสขนาดใหญ่ "5 เดสติเนชัน" ใน 4 เมืองท่องเที่ยวหลัก 
ทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา และชะอำ-หัวหิน ประกอบไปด้วย
1. โครงการ Asiatique District กรุงเทพฯ
2. โครงการ เวิ้ง ไชน่าทาวน์ เดสติเนชัน กรุงเทพฯ
3. โครงการ Aquatique Destination พัทยา
4. โครงการ Lannatique Destination เชียงใหม่
5. โครงการใน ชะอำ

 

เมื่อรวมโครงการย่อยใน 5 เดสติเนชันดังกล่าว และโครงการเดี่ยวต่างๆ มีจำนวนรวมมากกว่า 70 โครงการ ที่ต่อคิวรอพัฒนาและเตรียมเปิดในระยะยาวเกิน 5 ปีนับจากนี้ 
โดย AWC เป็นเจ้าของกว่า 50 โครงการ ส่วนอีก 20 โครงการอยู่ภายใต้สัญญาให้สิทธิ
เฉพาะในปี 2567 AWC มีแผนที่จะเสริมศักยภาพและเปิดให้บริการโครงการในทุกกลุ่มธุรกิจรวมกว่า 18 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 19,000 ล้านบาท

คุณวัลลภา ยังกล่าวอีกด้วยว่า AWC ตั้งเป้ารายได้ปี 2567 เติบโตก้าวกระโดดอย่างยั่งยืน 
เนื่องจากกลยุทธ์ของ AWC เน้นการพัฒนาซัพพลายโรงแรมคุณภาพ ให้สามารถเพิ่มค่าห้องพักได้เพิ่มขึ้น 
สาเหตุเป็นเพราะว่านักท่องเที่ยวยอมจ่ายค่าตั๋วมาไทยที่สูงแล้ว
พวกเขาก็สามารถยอมจ่ายค่าโรงแรมสูงขึ้น ได้ด้วยเช่นกัน ...

 

 

รายงานผลประกอบการคำอธิบายประกอบงบการเงิน อธิบายว่า …
ทิศทางการดำเนินงานของ AWC จะอยู่ที่ Go to High-end Market 
หรือการพัฒนาโปรดักต์ที่อยู่ในกลุ่ม
พูดง่ายๆ คือ การเน้นไปที่กลุ่ม ลักเซอรี่
เพื่อดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ หรือ Quality Demand เข้ามาเที่ยวประเทศไทย

สิ้นปี 2566 AWC มีจำนวนโรงแรมที่เปิดดำเนินการทั้งหมด 22 โรงแรม รวม 6,029 ห้อง และห้องอาหารอีกหลากหลายแห่งในโรงแรมและจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย ครอบคลุมทำเลหลักในกรุงเทพฯ และเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ อาทิ พัทยา (ชลบุรี) ภูเก็ต เชียงใหม่ กระบี่ เป็นต้น

ประกอบด้วยโรงแรมกลุ่มไมซ์ (MICE) โรงแรมในเมือง รีสอร์ตระดับลักเซอรี่ ภายใต้การบริหารของทีมงานแบรนด์โรงแรมคุณภาพระดับสากล ได้แก่ แมริออท โฮเทลส์, เดอะ ลักชูรี่ คอลเลกชั่น, เลอ เมอริเดียน, เชอราตัน, คอร์ทยาร์ด บาย แมริออท, บันยันทรี, ฮิลตัน, ดับเบิ้ลทรี บาย ฮิลตัน, ฮอลิเดย์ อินน์ เอ็กซ์เพรส, มีเลีย, อินเตอร์คอนติเนนตัล และโอกุระ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทุกแบรนด์ ทุกโรงแรม ล้วนเป็นโรงแรมในกลุ่มลักเซอรี่ทั้งสิ้น

 

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์บัวหลวง วิเคราะห์ว่า AWC คือหุ้นเติบโต ด้วยจำนวน 13 โรงแรมที่พร้อมจะเปิดตัวในปี 2567-2569 ส่งผลให้อัตรากำไรเติบโตเฉลี่ยกำไรสะสมเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
เท่ากับว่ามูลค่าทางบัญชีของ AWC จะเพิ่มขึ้นทุกปี และโตอย่างสม่ำเสมอ
ในแง่ระยะสั้น ฝ่าจยวิจัยมองว่า AWC จะเติบโตได้อีกในไตรมาส 1 ปี 2567 ทั้ง YoY และ QoQ 
โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่เติบโตอย่างโดดเด่น

ในอนาคต เราจะเห็น AWC ยังคงมุ่งพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มศักยภาพให้กับทรัพย์สินคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเร่งเพิ่มพอร์ตแบรนด์ลักเซอรี่ ไม่ว่าจะเป็นแมริออท มีเลีย อินเตอร์คอนติเนนตัล บันยันทรี
ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ เช่น พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ หรือแม้กระทั่งเมืองรองอย่าง เชียงราย
เพราะพื้นที่เหล่านี้ มีศักยภาพของการเติบโตไม่แพ้ กรุงเทพฯ

 

อนึ่ง AWC ประกาศจ่ายเงินปันผล 0.05 บาทต่อหุ้น ขึ้น XD วันที่ 9 พฤษภาคม 2567
และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 
ติดเป็น Dividend Yield อยู่ที่ราวๆ 1.32%

------------------------------------------------------------------------------
Reference
ผลประกอบการสำคัญ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์บัวหลวง

สำนักข่าวอินโฟเควสท์

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง