เวลาเราพูดถึง OR เชื่อว่านักลงทุนกว่า 90% จะนึกถึงสถานีผู้ให้บริการน้ำมัน
ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด แต่ธุรกิจย่้อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา สถานีผู้ให้บริการน้ำมันก็เช่นกัน จำต้องเปลี่ยนมาเป็น "คอมมูนิตี้" มากขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้ OR ประกาศเปิดตัว "พีทีที สเตชั่น แฟลกชิป วิภาวดี 62 "
ต้นแบบสถานีบริการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดในการดำเนินธุรกิจของ OR ที่พร้อมสร้างโอกาสให้ผู้คน ชุมชน สิ่งแวดล้อม เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด SDG ในแบบของ OR ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่สร้างส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้คน ชุมชน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีจัดการสถานีบริการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
พูดง่ายๆ คือ OR กำลังเดินหน้าสู่ธุรกิจ Non - oil อย่างต่อเนื่อง บนพื้นที่ค้าปลีกกว่า 5 พันตารางเมตร
เต็มไปด้วยร้านอาหาร ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอลรูปแบบพิเศษ
พร้อมบริการหัวชาร์จรถไฟฟ้า EV รองรับผู้บริโภคยุคใหม่
รวมถึงการเข้าสู่ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและที่พัก (Tourism & Accommodation) ซึ่งจะเป็นการคัดเลือกพันธมิตรจะเข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้างโรงแรมในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน ขนาดเล็กและราคาประหยัด (Budget Hotel) ราวๆ 60-100 ห้องต่อแห่ง
ยิ่งไปกว่านั้น OR กำลังร่วมมือกับพันธมิตรเกาหลีใต้ ดำเนินธุรกิจสุขภาพและความงาม (Health & Beauty)
ซึ่งจะเป็นลักษณะกำรทำแบรนด์สินค้ำร่วมกันหรือกำรพัฒนำ แบรนด์ใหม่เพื่อทำตลาดในอนาคต
ซึ่งจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วง ไตรมาส 1 ของปี 2567
นายดิษทัต เปิดเผยว่า พีทีที สเตชั่น แฟลกชิป วิภาวดี 62 แห่งนี้ นับเป็นสถานีบริการต้นแบบหรือแฟลกชิป (Flagship) ที่สมบูรณ์แบบที่สุดของ OR ซึ่งผสมผสานแนวคิดการบริการจัดการแบบ SDG ในแบบของ OR ที่มุ่งไปสู่การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมทั้งนำเสนอระบบนิเวศของ OR (OR Ecosystem) ในธุรกิจของ OR และพันธมิตรได้อย่างครบวงจร และยังถือเป็นสถานีบริการต้นแบบสำหรับการออกแบบสู่การขยาย พีทีที สเตชั่น ในอนาคตอีกด้วย
แนวคิดการบริการจัดการตามแนวคิด SDG ตามแบบของ OR ที่ปรากฏในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น แฟลกชิป วิภาวดี 62 แห่งนี้ มีครบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
"S" หรือ "SMALL" มุ่งเน้นการให้โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก โดยมีร้านไทยเด็ดต้นแบบ ที่สนับสนุนสินค้าชุมชนจากทั่วประเทศ ร้านภัทรพัฒน์ ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิชัยพัฒนา และ “Common Space” หรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืน
"D" หรือ "DIVERSIFIED" มุ่งเน้นการสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตในทุกรูปแบบผ่านแฟลตฟอร์มต่าง ๆ ของ OR ที่มีศักยภาพ โดยสถานีบริการแห่งนี้มีร้านค้าจากแบรนด์ต่าง ๆ ทั้งในเครือ OR และพันธมิตร เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น คาเฟ่ อเมซอน เท็กซัส ชิคเก้น พาคามาร่า และโอ้กะจู๋ เป็นต้น
"G"หรือ "GREEN" มุ่งเน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) โดย OR ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการสถานีบริการแห่งนี้ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมให้กับผู้คนชุมชนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมไปด้วยกันเพื่อเสริมความมุ่งมั่นในเป้าหมายเรื่อง Carbon Neutrality ของ OR ไม่ว่าจะเป็น การใช้พลังงานอย่างยั่งยืนจากการออกแบบอาคารสอดแทรกเข้าไปในพื้นที่ธรรมชาติ ในรูปแบบ Green Station ร่วมกับเทคโนโลยีการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อใช้ภายในสถานีบริการและร้านค้าที่ OR ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานผ่านแบตเตอรี่ (G-Box) จากกลุ่มบริษัทในเครือ NUOVO PLUS เพื่อจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งอยู่ระหว่างการพัฒนาการนำเทคโนโลยี AI-CCTV for Customer Carbon ที่สามารถตรวจจับระยะเคลื่อนรถ และยี่ห้อรถ เพื่อคำนวณก๊าซ CO2 ที่เกิดขึ้นของผู้บริโภคที่ภายในสถานีบริการได้
- คุ้มไหม ? เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ ลดค่าไฟได้เดือนละ 1.2 ล้านบาท
- ANI เกาะเทรนด์ E-Commerce : เติบโตพุ่งทะลุ 116 ล้านล้านบาท
- กรณีศึกษา SABINA ชุดชั้นในสตรี ที่ยอดขายเติบโตมากจากแพลตฟอร์มออนไลน์
อ่านมาถึงตรงนี้ เราอาจจะมีข้อสงสัยว่า จะเพิ่มมูลค่าให้กับหุ้น OR มากแค่ไหน ? 1
คำตอบ คือ ภาพระยะสั้นไม่ได้เป็นบวกมาก แต่ภาพระยะยาวถือว่าน่าสนใจ
เพราะเราต้องไม่ลืมว่ารายได้หลักของ OR มาจากธุรกิจ Oil เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ Non Oil เป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น
โดยเฉพาะธุรกิจ Lifestyle ที่รุกเข้าไปในธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจสุขภาพและความงาม จะยังไม่สามารถสร้างกำไรอย่างมีนัยสำคัญต่อกุล่ม OR ทั้งหมดได้
อีกทั้งในอุตสาหกรรมที่กล่าวมา ก็มีผู้นำตลาดอยู่ก่อนแล้ว และยังแข่งขันกันสูงอีกด้วย ถือเป็นความท้าทายที่ยังต้องติดตามกันต่อไป
สรุปคือ OR พยายามปรับเปลี่ยนตัวเอง จากสถานีผู้ให้บริการ มาเป็นคอมมูนิตี้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสถานีบริการ EV ธุรกิจโรงแรม สุขภาพและความงาม ร่วมถึงการนำ EcoSystem ที่ OR มีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ร้านอาหาร มารวมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมคนรุ่นใหม่มากขึ้น
ซึ่งภาพรวมถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และเป็นปัจจัยบวกในระยะยาว
แต่สำหรับภาพระยะสั้นแล้ว ถือเป็นความท้าทายที่นักลงทุนต้องติดตามกันต่อไป
เพราะธุรกิจนี้ มีเจ้าตลาดขนาดใหญ่ และการแข่งขันก็ยังสูงอีกด้วย นั่นเองครับ
------------------------------------------------------------------------------
Reference
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์หยวนต้า