อีกไม่นานก็จะจบปี 2566 เข้าสู่ปีใหม่ 2567
คำถามที่มักจะโดนถามกันมากที่สุด คือ อยากจะวางแผนภาษีโดยซื้อ RMF และ SSF ใช้เวลาที่เหมาะสมแล้วหรือยัง
คำตอบ คือ ถึงเวลาที่เหมาสมแล้ว ..
สาเหตุเพราะตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมามากเกินไป ถึงเวลาที่เราจะเห็นเป็นโอกาสในการเข้าลง พร้อมกับวางแผนภาษีไปด้วย
คำถามต่อมา คือ แล้วเราจะเลือกลงทุนอย่างไร ?
SCB WEALTH ได้แนะนำ จังหวะลงทุน RMF-SSF คัด 4 ธีมเด่นครอบคลุมทุกสินทรัพย์ พร้อมบริการ EASY Tax Planning Advisory ผ่าน SCB Connect ช่วยคำนวณภาษี แนะนำกองทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง และเป้าหมายการลงทุนของแต่ละบุคคล ประกอบไปด้วย
ธีมที่ 1 : Save Zone
เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนอย่างระมัดระวัง เน้นลดความเสี่ยง เลี่ยงความผันผวน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น และพันธบัตรรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งในธีมนี้จะประกอบไปด้วยกองทุน SCBRM1 และ SCBSFFPLUS-SSF
ธีมที่ 2 Global Investment
เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มองหาการลงทุนในตลาดหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ได้แก่ กองทุน SCBRMASHARES(A) และ SCBASHARES(SSF) ที่ลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ด้วยสไตล์การลงทุนเชิงรุก และกองทุน SCBRMS50 ลงทุนในหุ้นไทย เน้นสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี SET50 และ SCBDV-SSF ลงทุนในหุ้นไทยที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ
ธีมที่ 3 Trend Seeker
เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มองเห็นโอกาสการเติบโตในระยะยาวของธุรกิจที่เกาะกระแสโลกอนาคต ได้แก่ กองทุน SCBRMNDQ(A) และ SCBNDQ(SSF) ที่ลงทุนในหุ้น Nasdaq ซึ่งรวมหุ้นเทคโนโลยีที่มีนวัตกรรมและศักยภาพสูง กองทุน SCBRMGHC เน้นลงทุนหุ้นทั่วโลกในกลุ่ม Healthcare ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และกองทุน SCBEV(SSF) ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยียานยนต์ที่ขับเคลื่อนอนาคต
ส่วนธีมที่ 4 Top Seller
เป็นกองทุนที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนที่ซื้อกองทุนรวมผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ ได้แก่ กองทุน SCBRM4 ลงทุนในหุ้นไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี สภาพคล่องสูง และกองทุน SCBLT1-SSF ลงทุนในหุ้นไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 แต่ไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยเน้นลงทุนในหุ้นที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
- ESG Fund กองทุนประหยัดภาษี ความหวังตลาดหุ้นไทยให้กลับมาบวกได้
- ส่องกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป้าหมายของนักลงทุนสาย "ปันผล"
- 14 หุ้น DR ซื้อได้ทันที ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษี
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถใช้บริการพิเศษ EASY Tax Planning Advisory ผ่าน SCB Connect เพื่อคำนวณภาษีและวางแผนประหยัดภาษี รวมทั้งมีคำแนะนำตัวเลือกสำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ที่เหมาะสมกับความเสี่ยง และผลตอบแทนตามเป้าหมายของแต่ละท่านได้
สำหรับเงื่อนไขการลงทุน RMF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอื่นๆ ได้แก่ กองทุน SSF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ โดยต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี แต่เว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน ไม่ขายคืนหน่วยลงทุนจนกว่าจะมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม ลงทุนปีไหนได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในปีนั้น
ส่วนกองทุน SSF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุน RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท ไม่มียอดซื้อขั้นต่ำ และไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องทุกปี แต่ต้องถือครอง 10 ปีนับจากวันซื้อ (แบบวันชนวัน)
------------------------------------------------------------------------------
Reference
THE STANDARD WEALTH