#ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน
#มือใหม่เริ่มลงทุน

สรุป TCAP อีกหนึ่งหุ้นปันผล ที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
3,824 views

หุ้น TCAP หรือบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) มักจะเป็นหุ้นที่ไม่ค่อยมีนักลงทุนพูดถึงสักเท่าไรนักในแวดวงการลงทุน
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะ ราคาหุ้นไม่ได้ขึ้นลงหวือหวา การดำเนินงานธุรกิจที่ไปเรื่อยๆ
ทำให้ไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุนสายเก็งกำไรเท่าไรนัก

และมักจะมองว่าหุ้น TCAP เป็นหุ้นปันผลดี ที่กิจการไม่น่าจะเติบโตอีกแล้ว
ทำไมถึงมองแบบนั้น เราต้องมาเข้าใจประวัติของ TCAP กันก่อนครับ
ประวัติของ "ทุนธนชาต" เริ่มมาจาก 
คุณบันเทิง ตันติวิท และคุณศุภเดช พูนพิพัฒน์ ได้เข้าไปฟื้นฟู แคปปิตอลทรัสต์
ซึ่งเติบโตมาจาก ลี กวง มิ้ง บริษัทส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่มีพนักงานเพียงไม่กี่คน 
และต่อมาปี พ.ศ. 2523 ก็ได้เปลี่ยนเป็นบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติ ก้าวเข้ามาเป็นบริษัทเงินทุนอันดับต้นๆ ของประเทศ

 

จนกระทั่งเกิดวิกฤต "ต้มยำกุ้ง" ที่ทำให้ธุรกิจการเงิน ธนาคาร แบงก์ และบริษัทเงินทุนต่างๆล้มกันเป็นโดมิโน 
เหลือเพียงไม่กี่บริษัทที่เหลือรอดมาได้ และธนชาต ก็เป็นหนึ่งในนั้น 
จนกระทั่งทุนธนชาตเริ่มขยายมายังธุรกิจอีกมากมาย เช่น บริษัทเงินทุน, บริษัทหลักทรัพย์ ตามมาด้วยการเปิดบริษัทประกันภัย-ประกันชีวิต, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน, บริษัทบริหารสินทรัพย์
ในปี 2545 ก็เปิดธนาคารธนชาต ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อันดับ 6 ของระบบ พร้อมๆ กับการเป็นธนาคารผู้นำในธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ของประเทศ

ต่อมาในปี 2553 ธนาคารธนชาต ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทย หรือ SCIB 
จากกองทุนฟื้นฟูที่เข้ามาช่วยเหลือธนาคารนครหลวงไทยในเหตุการณ์ต้มยำกุ้ง ถือหุ้นอยู่ 47.58 %
TCAP ได้ประกาศซื้อหุ้น SCIB ที่ราคา 32.5 บาท/หุ้น ด้วยมูลค่ากว่า 6.8 หมื่นล้านบาท

ในปี 2564 ก็มีอีกหนึ่งดีลใหญ่ที่นักลงทุนจับตาเป็นอย่างมาก คือการควบรวมกิจการระหว่าง ธนาคารธนชาตและธนาคารทหารไทย ซึ่งตอนนั้นยังเป็น TMB 
มีการเปลี่ยนชื่อจากธนาคารทหารไทย เป็น "ทีทีบี" (ttb) และยุบรวมสาขาระหว่างทหารไทยและธนาคารธนชาตมาเป็น "ทีทีบี" ทั้งหมด
โดย TCAP ยังถือหุ้น TTB อยู่ 24.39% รองลงมาเป็น ING BANK ถือหุ้นอยู่ 22.39% 
และกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 11.74%

 

ดังนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า TCAP ยังคงดำเนินธุรกิจธนาคารธนชาตอยู่ 
และเมื่อไม่มีธุรกิจธนาคารธนชาตแล้ว ผลประกอบการของ TCAP น่าจะลดลง 
ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริงเลย 
ถ้าดูตามผลประกอบการจะพบว่าแข็งแกร่งขึ้นมากกว่าเดิม ...
ในปี 2563 TCAP มีรายได้ 8.87 พันล้านบาท
ในปี 2564 TCAP มีรายได้ 16.19 พันล้านบาท 
และ ในปี 2565 TCAP มีรายได้ 15.54 พันล้านบาท 
และครึ่งปีแรกของ 2566 TCAP มีรายได้  8.77 พันล้านบาท 
จะเห็นได้ว่าผลประกอบการมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้จะเจอกับวิกฤตโควิด บริษัทก็ยังมีการเติบโต และจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอ

โดยสัดส่วนรายได้หลักๆของ TCAP มาจาก
ธุรกิจ TTB สัดส่วน 63% 
ธุรกิจ THANI สัดส่วน 15%
ธุรกิจ TNI สัดส่วน 11%
ธุรกิจ TNS สัดส่วน 5 % 
ธุรกิจ T Life สัดส่วน 1% และจากธุรกิจ MBK สัดส่วน 1% 
พอร์ตการลงทุนของ TCAP คือการถือหุ้นใน TTB 24.39%
ถือหุ้นใน THANI 60.61% และ MBK 22.81%

 

 

ปัจจุบัน TCAP ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในหุ้นปันผลสม่ำเสมอ และเป็นหุ้นปันผลดีมาโดยตลอด
โดยปัจจุบันราคาหุ้นอยู่ที่ 50 บาท มีอัตราส่วนเงินปันผลอยู่ราวๆ 6.2%

อ่านมาถึงตรงนี้ เราอาจจะสงสัยว่า นอกจากจะเป็นหุ้นปันผลแล้ว
TCAP ยังมีโอกาสในการเติบโตมากน้อยแค่ไหน ? 
คำตอบ คือ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ...

 

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์กสิกรไทย มองว่าธุรกิจของ TCAP มีการเติบโตจาก 3 ปัจจัยด้วยกัน คือ 
1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลใหม่ที่คาดจะมุ่งเน้นไปยังการสนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจและการเพิ่มกำลังซื้อ
2. มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากนโยบายฟรีวีซ่า
3. ปัจจัยหนุนกำไรสุทธิใหม่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว อย่าง TPLUS 
ซึ่งเราคาดว่ารายได้ดอกเบี้ยจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ช่วง 3 ปี ที่ 35.1% สำหรับในอนาคตต่อไป

ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า TCAP จะได้รับกระแสเงินสดอิสระที่ 5.9 พันล้านบาทในปี 2566
กระแสเงินสดอิสระที่ 3.8 พันล้านบาทในปี 2567
กระแสเงินสดอิสระที่ 7 พันล้านบาทในปี 2568
ซึ่งคาดจะเปิดโอกาสให้ TCAP เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจเดิมที่มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นและมองหาธุรกิจใหม่

ฝ่ายวิจัยยังเสริมความเห็นอีกด้วยว่า หุ้น TCAP เป็นหุ้นที่ราคาไม่แพง แนวโน้มกำไรดี มีการปันผลที่สูง และเชื่อว่านักลงทุนจะค่อยๆเห็นคุณค่าของ TCAP ที่ซ่อนอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ หลังผลประกอบการที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

ดังนั้น หุ้น TCAP เป็นอีกหนึ่งหุ้นปันผล 
ที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม ครับ

------------------------------------------------------------------------------
Reference
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์กสิกรไทย

สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน  : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ลงทุนแมน

ThaiPublica

ลงทุนศาสตร์


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง