#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

อินโดนีเซียค่าแรงแพงกว่าไทย แต่ทำไมบริษัทระดับโลกสนใจลงทุน ?

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
2,976 views

ช่วงนี้เรามักจะได้ยินว่าหลายบริษัทที่เคยมีฐานการผลิตที่ไทย กำลังเกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ
โดยเฉพาะประเทศที่มีค่าแรงถูกว่าไทย เช่น เวียดนาม
แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีกระแสข่าวว่าบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ที่เคยมีฐานการผลิตในไทยมายาวนาน
กำลังจะย้ายฐานการผลิตไปอินโดนีเซีย

 

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ อินโดนีเซียค่าแรงแพงกว่าไทย
แต่ทำไมบริษัทผลิตรถยนต์ที่เป็นยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ถึงเลือกที่จะไปอินโดนีเซีย ?

 

เราต้องเข้าใจก่อนว่าค่าแรงขั้นต่ำของไทยจะอยู่ราวๆ 345 บาท - 353 บาทต่อวัน 
ในขณะที่อินโดนีเซีย มีแค่แรงขั้นต่ำ 540 บาทต่อวัน (ทำงาน 8 ชั่วโมง)
หมายความว่า ค่าแรงของคนอินโดนีเซีย แพงกว่าไทยอยู่ราวๆ 187 บาท

แต่เหตุผลที่ทำให้ย้ายฐานการผลิต 
คำตอบน่าจะเป็นเรื่องของ นโยบายส่งเสริมการลงทุน FDI ของอินโดนีเซียในปี 2566 
ในการเชิญชวนชาวต่างชาติให้หันมาลงทุนในอินโดนีเซีย จาก 3 ประเด็นด้วยกัน คือ 
1. สิ่งจูงใจ  
รัฐบาลอินโดนีเซียเสนอสิ่งจูงใจมากมายแก่นักลงทุนต่างชาติ ทั้งการลดหย่อนภาษี การอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาครอบครองที่ดินเพื่อการผลิตได้ รวมไปถึงการเข้าถึงสินเชื่อ ซึ่งสิ่งจูงใจเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำให้อินโดนีเซียเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่น่าดึงดูดยิ่งขึ้น

 

2. One-Stop Service 
รัฐบาลอินโดนีเซียได้จัดตั้งบริการแบบครบวงจรสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถขอรับใบอนุญาตและการอนุมัติเรื่องต่าง ๆ ที่จำเป็นได้สะดวก รวดเร็ว และง่ายยิ่งขึ้น

 

3. ความง่ายในการทำธุรกิจ 
อินโดนีเซียตั้งใจที่จะทำให้การทำธุรกิจในอินโดนีเซียเป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงการลดความซับซ้อนของกฎระเบียบ การลดภาระผูกพัน และการปรับปรุงความโปร่งใสของกระบวนการลงทุน

 

ยิ่งไปกว่านั้น การที่อินโดนีเซียมีประชากรมากถึง 274 ล้านคน สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก
แนวโน้มของเศรษฐกิจมีโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็ว ความต้องการใช้รถก็จะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อธุรกิจผู้ผลิตรถอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม กระแสข่าวนี้ก็อาจจะเป็นข่าวลือ และบริษัทที่ตกเป็นข่าวก็ออกมาปฏิเสธแล้วว่าไม่เป็นความจริง
แต่มูลเหตุที่เกิดขึ้นก็เป็นสัญญาณชัดเจนว่า ประเทศไทยเราไม่เหมือนในอดีตแล้ว
ต้องแข่งขันกันมากขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิพิเศษ ทรัพยากรธรรมชาติ และทักษะแรงงาน 
รวมถึงสิ่งที่ใหญ่มากๆอย่าง ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ดังนั้น ต้นทุนเรื่องค่าแรงถูก อาจจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปแล้ว ...

 

สุดท้าย มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก Krungsri Research ระบุว่า ...
อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2506 โดยในระยะเริ่มแรกภาครัฐเน้นออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุนผลิตและใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการปรับขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป (Complete Built-Up: CBU) และชิ้นส่วนครบชุด (Complete Knock-Down: CKD)

 

ต่อมาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรที่ใช้ผลิตรถยนต์ เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย

นอกจากนี้ ภาครัฐของไทยยังได้กำหนดสัดส่วนการบังคับใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตในประเทศ (Local Content Requirements: LCR) ในการผลิตยานยนต์ให้มากขึ้นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เติบโตซึ่งในปัจจุบันข้อกำหนดดังกล่าวได้ถูกยกเลิกแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์นั่งในไทยยังคงใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศคิดเป็นสัดส่วน 60-80% ของชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมดที่ผลิตในประเทศ

ในขณะที่รถยนต์นั่งประเภท Eco-car และรถปิกอัพใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศกว่า 90% ในปัจจุบันการทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) และความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้า CBU และ CKD ปรับลดลง

 

ในส่วนของค่าแรงขั้นต่ำประกาศล่าสุดจากคณะกรรมการค่าจ้างปี 2565 มีผลบังคับใช้ปี 2566 เราจะพบว่า จังหวัดที่เป็นฐานที่ตั้งของโรงงาน Isuzu จะอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นจังหวัดที่มีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 353 บาทต่อวัน และจังหวัดฉะเชิงเทราที่ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 345 บาท ซึ่งทั้งสมุทรปราการและฉะเชิงเทราถือว่าเป็นจังหวัดที่มีค่าแรงขั้นต่ำสูงเป็นอันดับที่ 2 และ 3 ของประเทศ แต่นี่จะใช่เหตุผลที่ Isuzu ตัดสินใจอยากจะย้ายโรงงานบางส่วนไปอยู่ที่อินโดนีเซียหรือไม่ ต้องอ่านหัวข้อถัดไป


------------------------------------------------------------------------------
Reference
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

บทวิเคราะห์ Krungsri Research แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2566-2568: อุตสาหกรรมรถยนต์

MReport

Marketeer


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง