ถ้าเราบอกว่าเชนร้านกาแฟที่ดังมากที่สุดในประเทศไทย
เชื่อว่าคนไทยกว่า 95% น่าจะตอบว่า Cafe Amazon อย่างแน่นอน
แต่รู้หรือไม่ว่าร้าน Cafe Amazon ที่มีสาขาทั่วประเทศกลับสร้างรายได้ไม่ถึง 3% ของเครือ OR ทั้งหมด
เราต้องเข้าใจก่อนว่า OR หรือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
เป็นธุรกิจให้บริการสถานีบริการน้ำมัน ธุรกิจค้าปลีกและบริการในเครือของ PTT
โดย PTT ถือหุ้นอยู่ทั้งหมด 75%
รายได้หลักของ OR จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจหลักด้วยกัน คือ
1. ธุรกิจ Mobility
ได้แก่ ธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน , EV Station PluZ, สถานีบริการ LPG ค้าปลีกน้ำมันและตลาดพาณิชย์
2. ธุรกิจ Lifestyle
ได้แก่ ร้าน Cafe Amazon, ร้านเท็กซัสชิคเก้น, ร้านสะดวกซื้อ (7-Eleven และ จิฟฟี่)
3. ธุรกิจ Global
หรือธุรกิจในต่างประเทศ สถานีบริการน้ำมัน ร้าน Cafe Amazon ในฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ สปป.ลาว
4. ธุรกิจอื่นๆ
เป็นธุรกิจนวัตกรรมในอนาคต (New Business and Innovation) การลงทุนใน Venture CApital, กองทุน ORZON Ventures
โดยผลประกอบการครึ่งปีแรก ของปี 2566
บริษัทมีรายได้รวม 385.12 พันล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นสัดส่วนรายได้เป็นกลุ่มๆ คือ
1. ธุรกิจ Mobility มีรายได้ 359.35 พันล้านบาท สัดส่วน 90.8%
2. ธุรกิจ Lifestyle มีรายได้ 10.97 พันล้านบาท สัดส่วน 2.8%
3. ธุรกิจ Global มีรายได้ 25.03 พันล้านบาท สัดส่วน 6.3%
4. ธุรกิจอื่นๆ มีรายได้ 555 ล้านบาท สัดส่วน 0.1%
ซึ่งธุรกิจ Cafe Amazon อยู่ในหมวดของธุรกิจ Lifestyle
นั้นแสดงว่าร้าน Cafe Amazon ใหญ่ขนาดนี้แต่กลับสร้างรายได้ให้กับ OR ไม่ถึง 3% ของรายได้รวมทั้งหมด
และ รายได้หลักของ OR มาจากธุรกิจสถานีให้บริการน้ำมัน ที่เรียกว่า Mobility สัดส่วนเกือบ 91%
ไม่ใช่แค่ปี 2566 อย่างเดียว
ถ้าเราย้อนกลับไปดูปี 2565 จะพบว่าสัดส่วนใกล้เคียงกัน
โดยบริษัทมีรายได้ทั้งหมด 388.72 พันล้านบาท
มาจากธุรกิจ Lifestyle ราวๆ 10.06 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 2.5%
ในขณะที่รายได้จากธุรกิจ Mobility สร้างรายได้มากถึง 362.78 พันล้านบาท สัดส่วนกว่า 91% เลยทีเดียว
Source :คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 2
แต่ที่น่าสนใจ คือ สัดส่วนรายได้ของธุรกิจ Lifestyle ไม่ถึง 3% ก็จริง แต่ถ้าเรามองในมุมของ EBITDA
หรือพูดง่ายๆคือ มองในมุมของกำไรก่อนหักภาษีและค่าเสื่อม จะมีสัดส่วนมากถึง 25% ของกำไรที่ OR ทำได้จากความสามารถจริงๆ
ในปี 2566 บริษัทมี EBITDA อยู่ที่ 11.13 พันล้านบาท แบ่งออกเป็น
1. ธุรกิจ Mobility มี EBITDA 7.53 พันล้านบาท สัดส่วน 67.6%
2. ธุรกิจ Lifestyle มี EBITDA 2.79 พันล้านบาท สัดส่วน 25%
3. ธุรกิจ Global มี EBITDA 846 พันล้านบาท สัดส่วน 7.6%
4. ธุรกิจอื่นๆ มี EBITDA -26 ล้านบาท สัดส่วน -0.2%
พูดง่ายๆ คือ ธุรกิจ Lifestyle มีอัตรากำไรที่สูงกว่าธุรกิจ Mobility จึงไม่แปลกใจที่นักลงทุนจะมองว่าธุรกิจ Lifestyle (นำโดย Cafe Amazon) จะช่วยสร้างการเติบโตให้กับ OR ได้ในอนาคต
ปัจจุบัน ร้าน Cafe Amazon มีสาขาอยู่ทั่วประเทศไทย 4,007 สาขา
เฉพาะไตรมาส 2 เพียงไตรมาสเดียวขายกาแฟไปแล้วกว่า 93 ล้านแก้ว
และถ้าเรามองครึ่งปีแรกของปี 2566 ขายไปแล้วกว่า 184 ล้านแก้ว