#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

อธิบาย ลดราคาพลังงาน ทำอย่างไร และจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างไร ?

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
766 views

เมื่อไม่นานมานี้ มีกระแสข่าวออกมาว่างานแรกของรัฐบาล คือ การมุ่งเป้าไปที่การลดราคาพลังงาน
คำถามคือ รัฐบาลจะทำอย่างไร ? 
วันนี้ จะอธิบายสั้นๆ แบบเข้าใจได้ง่าย ครับ

 

การตรึงราคาก๊าซหุงต้ม LPG
โดยปกติราคา LPG จะอยู่ที่ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม 
ซึ่งราคา 423 เป็นราคาที่รัฐบาลตรึงเอาไว้ และจะสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2566 
แต่เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการเห็นชอบรักษาเสถียรภาพของราคา LPG ต่อไปอีก 1 เดือน ซึ่งจะหมดอายุวันที่ 30 กันยายน 2566 
โดยแนวทาง จะเป็นเรื่องของการใช้กองทุนน้ำมัน และงบของภาครัฐบาลบางส่วนไปอุดหนุนราคา

 

การลดราคาน้ำมันสำเร็จรูป 
ถือเป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่และมีผลกระทบเป็นลูกโซ่
ในส่วนของน้ำมันดีเซล กองทุนน้ำมันอุดหนุนอยู่ที่ 6.43 บาทต่อลิตร ทำให้ราคาน้ำมันดีเซล อยู่ราวๆ 31.94 บาท
ซึ่งกระทบต่อกองทุนน้ำมันเดือนละ "หมื่นล้านบาท" 
และในปัจจุบัน สถานะของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบมากถึง 10,375 ล้านบาท เข้าไปแล้ว 
ตอนนี้สิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ 
1. ลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งลดการเก็บ 5 บาท จะกระทบกับรายได้รัฐเดือนละหมื่นล้านบาท
2. ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล และเบนซิล 
ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ลิตรละ 0.81 - 2.80 บาทต่อลิตร ทั้งในส่วนของดีเซลและเบนซิล 
.
3. ปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน โดยเฉพาะราคาหน้าโรงกลั่น โดยแผนนี้อยู่ระหว่างการจัดโครงสร้างใหม่

 


การลดค่าไฟฟ้า
เรียกได้ว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายที่สุด 
ปัจจุบันค่าไฟในเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ 4.45 บาทต่อหน่วย
แนวทางภาครัฐในการลดค่าไฟฟ้า คือ 
1. จัดงบอุดหนุนค่าไฟฟ้า โดยกลุ่มครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วย และส่วนที่ใช้ไฟเกิน 500 หน่วยต่อเดือน ให้ปรับการช่วยเหลือเป็นแบบขั้นบันได
2. การจัดสรรก๊าซจากอ่าวไทย นำมาผลิตไฟใช้สำหรับผู้อยู่อาศัยก่อน ทำให้ได้ต้นทุนที่ถูกกว่าและไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าไฟฟ้าจากปัจจุบัน 
3. การยืดหนี้ค่าบริหารจัดการค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) ของการไฟฟ้าออกไป โดยภาครัฐอาจจะต้องแก้ปัญหาสภาพคล่องให้ กฟผ. เช่น การออกพันธบัตรรัฐบาล
4. การปรับแก้เรื่องของความพร้อมจ่าย เจรจาการลด Margin ยืดเวลาของสัญญาเดิม และไม่เร่งการเพิ่มซัพพลายของการผลิตไฟฟ้า

 

อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะทำให้นักลงทุนสงสัยว่าประเด็นที่กล่าวมา จะส่งผลเชิงลบต่อตลาดหุ้นอย่างไร ? 
คำตอบ คือ เป็น Sentiment เชิงลบต่อตลาดหุ้น โดยเฉพาะกลุ่มโรงกลั่น และกลุ่มโรงไฟฟ้า

 

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส วิเคราะห์ว่า หุ้นกลุ่มโรงกลั่นโโนกดดันจากประเด็นนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
สาเหตุเป็นเพราะว่าราคาหน้าโรงกลั่นเป็นราคาต้นทุนที่แท้จริงของโรงกลั่น และเป็นราคาใกล้เคียงเมื่อเทียบกับภูมิภาคเดียวกัน 
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนไม่ชอบความไม่ชัดเจน เชื่อว่าประเด็นนี้จะสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนจนกว่าจะได้ข้อสรุป

 

ในส่วนของกลุ่มโรงไฟฟ้า ยังไม่เคยมีเรื่องของการแก้ไขสัญญา หรือแก้ในส่วนของค่าความพร้อมจ่าย
แต่เชื่อว่า น่าจะเป็นบรรยากาศเชิงลบต่อหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า เพราะนักลงทุนมองว่าไม่มีความชัดเจนจากภาครัฐ

------------------------------------------------------------------------------
Reference
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส

thairath.co.th

กรุงเทพธุรกิจ


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง