#มือใหม่เริ่มลงทุน
#วางแผนการเงิน

ภาษี VAT สร้างความเหลื่อมล้ำ จริงหรือ ?

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
1,264 views

VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม คือการจัดเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งผู้รับภาระภาษีคือผู้บริโภค 
เพราะผู้ประกอบการได้บวกภาษีเข้าไปในราคาสินค้าและบริการแล้ว

 

ประเด็นที่สำคัญ คือ ภาษี VAT จะถูกคิดในอัตราเดียวกันหมด คือ 7%
ไม่ว่าเราจะมีรายได้เท่าไร เป็นคนรวย หรือคนจน จะถูกคิดที่อัตราภาษีเดียวกันหมด
ยิ่งเราบริโภคมาก ซื้อของมาก ก็ต้องจ่ายภาษีมาก
ในขณะที่เราบริโภคน้อย ซื้อของน้อย ใช้จ่ายน้อย ภาษีส่วนนี้เราก็จะจ่ายน้อยตามไปด้วย
ดังนั้น การจะบอกว่า ภาษี VAT เป็นภาษีที่สร้างความเหลื่อมล้ำ ก็ไม่ถูกต้องซะทีเดียว
เพราะ VAT เป็นเรื่องของความเท่าเทียม เพราะทุกคนจ่ายเท่าๆกัน และจ่ายเหมือนๆกัน

 

แต่ถ้าเราพิจารณาในรายละเอียด เช่น การจ่ายต่อหน่วยเทียบกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
กลุ่มประชาชนคนจน อาจจะต้องจ่ายมากกว่าคนรวย
ตัวอย่างเช่น การเดินไปซื้อกระดาษชำระ 
คนจนอาจจะซื้อได้ทีละม้วน ม้วนละ 10 บาท 
เท่ากับว่ากระดาษชำระม้วนนี้ มี VAT ที่ต้องจ่าย คือ 0.7 บาทต่อชิ้น
ในขณะที่คนรวยอาจจะซื้อครั้งเดียว 10 ม้วน ในราคา 80 บาท 
เมื่อหารออกมาต่อหน่วยเท่ากับว่าม้วนละ 8 บาท 
เท่ากับว่ากระดาษชำระม้วนนี้ มี VAT ที่ต้องจ่าย คือ 0.56 บาท
ซึ่งถ้าเรามองจากมุมนี้ ก็อาจจะบอกได้ว่า คนจนจ่ายแพงกว่าคนรวยก็ไม่ผิด และเป็นเรื่องความเหลื่อมล้ำได้จริง

 

อย่างไรก็ตาม ภาษี VAT ถือเป็นภาษีทางอ้อมที่มีความเท่าเทียมในตัวของมันเอง
คือบริโภคน้อย จ่ายน้อย บริโภคมาก จ่ายมาก 
ไม่ได้เป็นเรื่องของความเหลื่อมล้ำ อย่างที่พูดถึงกันถ้าเราพิจารณาในภาพใหญ่จริงๆ

 


คำถาม คือ ถ้าภาครัฐจะจัดเก็บภาษีที่ลดความเหลื่อมล้ำได้จริงๆ จะต้องเป็นภาษีแบบไหน ?
คำตอบ คือ การขึ้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นรายได้และเครื่องมือสำคัญที่ช่วยจัดสรรทรัพยากรของคนในสังคมให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น 
ซึ่งจะนำไปสู่การลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ
นอกจากนี้ ก็จะมีภาษีที่จัดเก็บเฉพาะกลุ่มคนมั่งคั่ง เช่น ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน ภาษี Wealth Tax เป็นต้น

 

สรุปแล้ว ภาษี VAT เป็นภาษีสร้างความเหลื่อมล้ำหรือไม่ ? 
คำตอบ คือ ไม่ใช่ 
และการจัดเก็บภาษี VAT ออกจะไปในทางที่เท่าเทียมกันด้วยซ้ำ 
คือ บริโภคมากก็ต้องจ่ายมากตามไปด้วย

 

สำหรับในประเทศไทย มีการเก็บ VAT ที่อัตราเดียว คือ 7%
เชื่อว่าไม่ช้าก็เร็ว ด้วยสังคมที่พัฒนาขึ้น การเรียกร้องรัฐสวัสดิการที่มากขึ้น
ประเทศไทยมีแนวโน้มจะปรับเพิ่มอัตราภาษี VAT จาก 7% เป็น 10%
ซึ่งจะทำให้ภาครัฐมีเงินเพิ่มมากขึ้นถึง 2 แสนล้านบาท 
(เพิ่มเพียง 1% เราจะได้เงินเข้าตลังอีกราวๆ 8 หมื่นล้านบาท)

 

ประเด็นคือ จะทำอย่างไรให้การเพิ่มภาษี VAT ให้กลุ่มคนจนได้มากกว่าเสีย
คำตอบ คือ การประกาศให้ชัดเจนว่า รายได้ที่เพิ่มมาอีก 2 แสนล้าน จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อคนจน หรือกลุ่มเปราะบางอย่างไรบ้าง
เช่น ครึ่งหนึ่งจะถูกนำไปพัฒนาเรื่องของระบบการศึกษา
และอีกครึ่งหนึ่งจะถูกนำไปพัฒนาเรื่องของโรงพยาบาล และระบบสาธารณสุขของไทย

 

เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศญี่ปุ่น
ในสมัยของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่ประกาศขึ้นภาษีการขายแต่รัฐบาลก็ระบุชัดเจนว่า เงินที่ได้มาส่วนเพิ่มจะเข้ามาเพิ่มสวัสดิการให้กับเด็กเล็ก 
ทำให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เบาใจขึ้นว่า ภาษีที่ถูกจัดเก็บ จะถูกนำไปช่วยเหลือกลุ่มประชากรเปราะบางจริงๆ

เชื่อว่าประเทศไทยในอนาคต หลังการเพิ่มภาษี VAT ที่ 10% 
น่าจะมีนโยบายชัดเจนว่า ส่วนที่เพิ่มมา จะถูกนำไปใช้ในด้านใดบ้าง ช่วยเหลือประชาชนให้ทั่วถึงได้อย่างไร

------------------------------------------------------------------------------
Reference
สำนักข่าวอินโฟเควสท์

tdri.or.th

ลงทุนแมน [1]

ลงทุนแมน [2]


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง