#แนวคิดด้านการลงทุน
#มือใหม่เริ่มลงทุน
#วางแผนการเงิน

รู้จัก Tokenization ให้มากกว่าที่เคย โลกการลงทุนแห่งอนาคต เปลี่ยนสินทรัพย์เป็นโทเคน

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
497 views

เมื่อไม่นานมานี้ Bank of America ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า Tokenization คือ กุญแจสู่การปฏิวัติเชิงโครงสร้างและการพลิกโฉมตลาดเงินตลาดทุน 
พร้อมมองว่าโทเคน 99% ที่มีในท้องตลาดปัจจุบันจะหายสาบสูญไปภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้านี้ ... 
รายงานของ Bank of America ระบุว่า การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนจะขยายตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดด 
เนื่องจากจะมีต้นทุนค่าเสียโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลถ้าหากไม่นำสิ่งทรงประสิทธิภาพเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

 

พูดง่ายๆ คือ ธีมเรื่องของ Tokenization เป็นเรื่องที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม 
และเป็นกระแสใหม่ที่เราต้องเรียนรู้พัฒนากันตลอดเวลา
แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า Tokenization คืออะไร ? 
และเราควรจะจับประเด็นตรงไหนในเรื่อง Tokenization อีกบ้าง
มาทำความเข้าใจ ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ กันครับ ...

 

Tokenization คือ การแปลงหรือทำให้สินทรัพย์ต่างๆ อยู่ในรูปแบบดิจิทัล 
เป็นกระบวนการที่สินทรัพย์ถูกแปลงเป็น "โทเคน (Token)" ที่สามารถย้าย จัดเก็บ หรือบันทึกบน Blockchain ได้ 
... พูดง่ายๆ คือ การแปลงมูลค่าของวัตถุที่จับต้องได้ ไปเป็นโทเคนที่สามารถถ่ายโอนและจัดการบนระบบ Blockchain 
หรือการแปลงสิทธิ์การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ให้เป็นโทเคนดิจิทัลบน Blockchain ที่แต่ละโทเคนจะมีมูลค่าเป็นของตัวเอง
ในปัจจุบัน การเปลี่ยน - โอนถ่านความเป็นเจ้าของจะเต็มไปด้วยเอกสารและข้อกฏหมายที่ซับซ้อนมากมาย 
แต่การเปลี่ยนเป็น Tokenization ทำให้กระบวนการทั้งหมดเหล่านี้ง่ายขึ้นด้วยการเชื่อมโยงสินทรัพย์เหล่านี้กับโทเคน

 

คำถาม คือ อะไรที่สามารถ Tokenized ได้บ้าง ? 
แนวคิดเรื่อง Tokenization สามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย เช่น อสังหาริมทรัพย์ หุ้นในบริษัท รองเท้าของเหล่าคนดัง  หรือแม้กระทั่งโทเคนส่วนบุคคลที่แทนตัวตนของเจ้าของโทเคน หรือที่เรียกว่า Personal Tokenization

 

หรือการนำอสังหาริมทรัพย์มาแปลงเป็น Tokenization ก็ทำได้เหมือนกัน ... 
สิทธิ์การเป็นเจ้าของทรัพย์สินในหนึ่งสิทธิ์ สามารถเปลี่ยนเป็นโทเคนได้นับล้านที่ออกมาในรูปของที่ดินทั้งหมด (เช่น อยู่ในหน่วยตารางเมตร) หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือศูนย์การค้าที่ผู้คนหลายร้อยคนสามารถเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของทรัพย์สินได้  และสามารถให้ผลกำไรกับผู้ถือโทเคนได้โดยอัตโนมัติและโปร่งใส

 


ประเภทของ Token ที่เรามักจะเห็นในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ 
1. STO (Security Token Offering) เป็นประเภทที่เหมาะกับการระดมทุน เมื่อบริษัทหลายแห่ง อาจพบว่าเป็นการยากที่จะระดมทุนสำหรับการเปิดตัวหรือพัฒนา ดังนั้นการออกโทเคนของตนเองช่วยให้สามารถควบคุมกระแสของเงินที่เข้าและออกได้ดียิ่งขึ้น

2. ICO (Initial Coin Offering) ปัจจุบันธุรกิจต่างๆ สามารถระดมทุนผ่าน ICO ได้แล้ว ตรงกันข้ามกับช่องทางการหาทุนแบบเดิมๆ เช่น การเสนอขายหุ้น (IPO) เพราะปัจจุบันบริษัทสามารถออกโทเคนเพื่อเสนอให้นักลงทุนซื้อด้วยสกุลเงินดิจิทัลได้

3. Utility Tokens มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมูลค่าของการร่วมทุนที่ได้สร้างขึ้น โดยสามารถใช้โทเคนนี้เพื่อชำระค่าบริการต่างๆ ซื้อสินค้า หรือมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ของโปรเจกต์โดยการเข้าร่วมในการลงคะแนนและสำรวจ ยิ่งโทเคนมีประโยชน์มากมูลค่าก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น รวมถึงหากศักยภาพในการพัฒนาโครงการมีมากก็จะยิ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมซื้อโทเคนมากโดยคาดหวังถึงกำไรที่อาจกลับมาในอนาคต  นอกจากนี้ นักลงทุนอาจได้รับผลประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ส่วนลดสำหรับบริการต่างๆ ของบริษัท บัตรกำนัล โฆษณาได้ฟรี หรือแม้กระทั่งได้มีส่วนร่วมในการกระจายรายได้จากการร่วมทุน


อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักลงทุนต้องคิดอยู่เสมอ คือ โอกาสมาพร้อมกับความเสี่ยง .. ! 
บทวิเคราะห์จาก Bank of America มองว่า Tokenization คือ การลงทุนแห่งอนาคตก็จริง และยังเป็นการเปิดโอกาสให้คนจำนวนมากเข้าถึงความเป็นส่วนหนึ่งในสินทรัพย์ด้วยเช่นเดียวกัน
แต่โทเคนหลายๆอย่างเกิดขึ้นมาเร็ว ก็จะหายไปอย่างรวดเร็วได้ด้วยเหมือนกัน เช่น เหรียญมีมอย่าง shiba inu (SHIB) และ pepecoin (PEPE) 
โดยบทวิเคราะห์ มงอว่า เหรียญชื่อดังเหล่านี้ไม่ได้มีคุณประโยชน์หรือมูลค่าแท้จริงในตัวมันเอง 
ซึ่งแตกต่างไปจากโทเคนดิจิทัลสกุลอื่น ๆ

ดังนั้น นักลงทุนจะต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนการลงทุน ทุกครั้งครับ ...
------------------------------------------------------------------------------
Reference
coindesk.com

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

scb10x


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง