SJWD อยู่ในกลุ่มธุรกิจขนส่ง โลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรที่มีการเติบโตสูง
อีกทั้งเป็นการรวมกลุ่มระหว่าง SCGL (บริษัทขนส่งของ SCC) และ JWD
ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่นักลงทุนจะให้ความสนใจ
แต่ถ้าใครสังเกตราคาหุ้น SJWD ณ เวลานี้จะพบว่าร่วงไปแล้วกว่า -16% YTD
คำถาม คือ เกิดอะไรขึ้นกับ SJWD มีประเด็นอะไรที่นักลงทุนกังวล
คำตอบ น่าจะมาจาก 2 ประเด็นด้วยกัน คือ
1. การนำเข้า - ส่งออก ของไทย หดตัวลง 4.6% YoY
2. ไตรมาส 2 เป็นช่วง Low Season ของธุรกิจโลจิสติกส์
ดังนั้น ผลประกอบการของ SJWD ไม่น่าจะออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดเอาไว้ ...
แต่ถ้าเราลองศึกษาจากมุมมองของบทวิเคราะห์
ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก อยากจะเล่าให้ฟังแบบสรุป แบบนี้ครับ
ประเด็นแรก การนำเข้า - ส่งออก ของไทยหดตัวลง
โดยตัวเลขออกมา 4.6% YoY ถือเป็นการหดตัว แต่เป็นการหดตัวที่น้อยกว่าคาดเอาไว้
หมายความว่า นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะหดตัวราวๆ 8% YoY และถือเป็นตัวเลขที่ดูดีขึ้นจากเดือนเมษายนที่หดตัว -7.6%
จากสิ่งที่กล่าวมา ถือเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อ SJWD ว่าน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2
สอดคล้องกับราคาหุ้นที่ลดลง ถือว่าตอบรับกับประเด็นเชิงลบไปพอสมควร ...
ประเด็นที่สอง คือ ผลประกอบการไตรมาส 2 อยู่ในช่วงของ Low Season
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์หยวนต้า มองว่าผลประกอบการของ JWD และ SCGL น่าจะออกมาไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น
SCGL มีแรงกดดันจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง
ค่าใช้จ่ายทางด้าน M&A เข้ามาในไตรมาส 2
ดังนั้น ผลประกอบการภาพรวมของ SJWD น่าจะออกมาชะลอตัวลง
โดยบทวิเคราะห์มองว่า กำไรปกติน่าจะอยู่ราวๆ 200 - 250 ล้านบาท
ทำให้ภาพของกำไรทั้งปี 2566 ของ SJWD จะอยู่ที่ 1.06 พันล้านบาท
และในปี 2567 จะอยู่ที่ 1.26 พันล้านบาท
- JWD x SCGL ก้าวใหม่ของโลจิสติกส์ที่ไปได้ไกลกว่าเดิม
- SJWD โลจิสติกส์ 3 หมื่นล้าน ที่กำลังจะเติบโต 100%
- รู้จัก TPL ให้มากขึ้น ธุรกิจจัดส่งสินค้า ที่กำลังอยู่ในช่วงของการเติบโต
อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์มองว่าสิ่งที่กล่าวมา เป็นมุมมองที่ค่อนข้าง "ระมัดระวัง"
ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง SJWD มีความเป็นไปได้ที่เหนือความคาดหมายและทำผลงานได้ดีกว่าคาด โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง จาก 6 ปัจจัยด้วยกัน คือ
1. รายได้ของ SJWD มีแนวโน้มแตะ 2.19 หมื่นล้านบาท
2. การ Synergy เริ่มชัดขึ้น ผลักดันให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นแตะ 15%
3. การออกหุ้นกู้ 4 พันล้านบาท และมีการ Refinance ดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนถูกลง
4. ค่าใช้จ่าย One Time จากการรวมกิจการอาจจะมีครั้งเดียวในไตรมาส 2 ทำให้ผลประกอบการไตรมาส 3 และ 4 ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด
5. SJWD มีดีล M&A อีก 1-2 ดีล ช่วงไตรมาส 3
6. ธุรกิจปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง มีแนวโน้มฟื้นตัวช่วงครึ่งปีหลัง 2566
ดังนั้น บทวิเคราะห์มองว่า จากราคาหุ้นที่ลดลงมาถือว่าสะท้อนปัจจัยลบไปมาก
และถ้าปัจจัยบวกที่กล่าวมา เกิดขึ้นจริง จะถือเป็น Upside ที่ตลาดยังไม่รับรู้
ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่นักลงทุน มองเป็นโอกาส มากกว่าความเสี่ยงครับ
------------------------------------------------------------------------------
Reference
สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย