หนึ่งในความกังวลที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุด คือ เรื่องของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ซึ่งถ้ามองตามความรู้สึก แน่นอนว่าจะส่งผลลบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย
แต่ถ้าเราศึกษาข้อมูลในอดีต จะพบว่า "ไม่เป็นแบบนั้นเลย" ....
ในช่วงปี 2555 การขึ้นมาเป็นรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย และประกาศนโยบายขึ้นค่างแรงขั้นต่ำ จาก 159 - 221 บาทต่อวัน มาเป็น 222 - 300 บาทต่อวัน
โดยวันที่ 1 เมษายน 2555 ปรับขึ้นค่าแรง 7 จังหวัด 300 บาท และในวันที่ 1 มกราคม 2556 ปรับเพิ่ม 300 บาท ทั่วประเทศ
พูดง่ายๆ คือ การปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้สูงถึง 35% และบางจังหวัดปรับขึ้นสูงถึง 89%
คำถาม คือ การปรับขึ้นมากแบบนี้ ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ?
คำตอบ คือ ไม่เป็นแบบนั้น โดยดูจากตัวเลขจะพบว่า
1. เงินเฟ้อ
พบกว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในช่วงปี 2555 -2556 อัตราเงินเฟ้อไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบรุนแรงหรือเพิ่มขึ้นแบบมีนัยสำคัญ
2. อัตราการว่างงาน
ปัญหานี้น่าจะถูกยกมาถูกพูดถึงมากที่สุด คือ เพิ่มค่าแรง คนน่าจะถูกเลิกจ้างและว่างงานกันมากขึ้น
ปรากฏว่า อัตราการว่างงานในช่วงขึ้นค่าแรงอยู่ราวๆ 0.47% - 0.86% ซึ่งเกาะกับค่าเฉลี่ยช่วงปีก่อนหน้าอยู่ราวๆ 0.63%
พูดง่ายๆคือ คนก็ยังมีงานทำเหมือนเดิม และไม่ได้ว่างงานอย่างที่กังวลกัน
3. ภาคของการลงทุน
การลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ เพิ่มขึ้น 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่อไตรมาสระหว่างปีที่ขึ้นค่างแรง
ซึ่งสูงกว่าช่วงปี 2564 ที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้น 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ยิ่งเรื่องของการบริโภคในประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
โดยการขึ้นค่าแรงสนับสนุนให้คนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น กำลังซื้อในประเทศเพิ่มมากขึ้น
จากตัวเลข พบว่า จากเดิมมูลค่าการบริโภคในประเทศอยู่ที่ 13.2 ล้านล้านบาท
เพิ่มขึ้นมาเป็น 14.3 ล้านล้านบาทในปี 2566
- การขึ้นค่าแรง 450 บาท อาจไม่ได้แย่อย่างที่คิด
- SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยโตต่อ แต่ระวังปัญหาทางการเมือง
- หุ้น ITV หายไปไหน อดีตสถานีโทรทัศน์เสรี ที่กำลังเป็นประเด็นทางการเมืองตอนนี้
แต่การจะบอกว่าขึ้นค่าแรง ทำให้เศรษฐกิจดี ก็อาจจะด่วนสรุปเกินไป
สาเหตุเป็นเพราะว่า รัฐบาลมีการเพิ่มค่าแรงก็จริง แต่ก็ให้สิทธิพิเศษทางภาษีบางอย่างแก่นายจ้างด้วย เช่น
... ลดภาษี SMEs ที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท
... นิติบุคคลสามารถนำส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำมาลดภาษีได้ 1.5 เท่า
... การขายเครื่องจักรเก่าเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
... สินเชื่อสนับสนุนการลงทุนให้กับผู้ผลิต
... ปรับลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ดังนั้น เชื่อว่านโยบายของพรรคก้าวไกลไม่ได้มีแค่การขึ้นค่าแรงอย่างเดียว
แต่น่าจะมีสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับนายจ้าง เจ้าของกิจการที่จะตามมาในภายหลัง และแน่นอนว่านโยบายเหล่านี้น่าจะส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
สรุปแล้ว การขึ้นค่าแรง อาจจะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
และยังเป็นนโยบายเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยเงินเฟ้อ อัตราการว่างงานหรือแม้แต่ภาคการลงทุน อยู่ในเกณฑ์ปกติและมีแนวโน้มเชิงบวกอีกด้วย
แน่นอนว่าในแง่ของตลาดหุ้น ส่งผลเชิงบวกด้วยเหมือนกัน
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์หยวนต้า ได้เก็บสถิติ 3 สถานการณ์ด้วยกันคือ
... 1 เดือนก่อนการขึ้นค่าแรงครั้งที่ 1 (ใน 7 จังหวัดแรก) SET Index +3.1%
... 1 เดือนก่อนการขึ้นค่าแรงครั้งที่ 2 (ทั่วประเทศ) SET Index +16.3%
... การขึ้นค่าแรงครั้งที่ 2 หลังจากนั้นอีก 1 เดือน SET Index +5.9%
และหุ้นที่ปรับตัวอย่างโดดเด่น คือ ค้าปลีก สื่อสาร และไฟแนนซ์
เราในฐานะนักลงทุน อาจจะต้องปรับมุมคิดกันใหม่ครับ ...
การขึ้นค่าแรง อาจจะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
------------------------------------------------------------------------------
Reference
PPTV Online