เมื่อวานพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำ ในการทำโครงสร้าง MOU 23 ข้อ โดยเน้นไปที่การร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยยึดหลักเพิ่มรายได้ประชาชน ลดความเหสื่อมล้ํา และสร้างระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม
และที่ชดเจนที่สุด คือ การขึ้นค่าแรง 450 บาททันที ในปี 2566
โดยทางพรรคมีนโยบายแบ่งเบาภาระค่าแรงที่สูงขึ้นสำหรับ SME ในช่วง 6 เดือนแรก โดยการที่รัฐช่วยสมทบค่าประกันสังคมในส่วนของผู้ว่าจ้าง สำหรับแรงงานที่ถูกกระทบโดยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
แน่นอนว่าประเด็นการขึ้นค่าแรง จะมีคนบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย ...
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แสดงความเห็นว่าภาคเอกชนมีความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรง
เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการเผชิญผลกระทบหลายด้าน นับตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิด เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าไฟที่แพงขึ้น
ดังนั้นจึงอยากเสนอให้เป็นการปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ..
อย่างไรก็ตาม ก็มีบริษัทหลายแห่งเริ่มปรับขึ้นค่าแรงกันบ้างแล้ว แม้มองว่าอาจจะส่งผลกระทบกับธุรกิจบ้าง
คำถาม คือ ถ้านโยบายการปรับขึ้นค่าแรง 450 บาทจริงๆ จะกระทบมากน้อยแค่ไหน และน่ากลัวอย่างที่ "เขา" ว่ากันจริงๆหรือ
คำตอบ คือ การขึ้นค่าแรง 450 บาท อาจไม่ได้แย่อย่างที่คิด
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส ได้ทำวิจัยว่าด้วยเรื่องผลกระทบในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น
1. อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง
เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก ซึ่งการขึ้นค่าแรงทุกๆ 1% จะกระทบต้นทุนราวๆ 0.1% ซึ่งถือว่าไม่มาก อีกทั้งบริษัทที่รับเหมางานภาครัฐจะมีเงินชดเชยให้บางส่วน ทำให้ภาครับเหมาก่อสร้างไม่น่ากังวลมากนัก
แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ อัตรากำไรสุทธิของบริษัทรับเหมา ค่อนข้างต่ำ ราวๆ 2-3%
ดังนั้น การที่ต้นทุนเปลี่ยนเพียงนิดเดียว อาจจะกระทบกับกำไรโดยภาพรวม
2. นิคมอุตสาหกรรม
ในช่วงปี 2535 การปรับขึ้นค่าแรงจาก 215 มาเป็น 300 บาท เพิ่มขึ้นถึง 40% ไม่ได้ส่งผลให้ธุรกิจนิคมย่ำแย่แต่อย่างใด อีกทั้งยังขายที่ดินได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
แต่ในเวลานั้น ภาครัฐมีการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงด้วย ส่วนหนึ่ง
ฝ่ายวิจัยมองว่า ค่าแรงปรับเพิ่มขึ้นไม่น่าเป็นห่วง เพราะไทยถือเป็นกลุ่มประเทศที่น่าลงทุนเพราะมีโครงสร้างพื้นฐานพร้อม ประชาชนคนไทยมีความสามารถ และผู้ลงทุนสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้
3. การท่องเที่ยว
ธุรกิจโรงแรมมี Service Charge ที่ค่อนข้างสูงเพราะเป็นธุรกิจว่าด้วยเรื่องของการบริการ ทำให้ประเด็นค่าแรงขั้นต่ำไม่น่าเป็นห่วง
อีกทั้งคนทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีค่าแรงสูงกว่าขั้นแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว
- SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยโตต่อ แต่ระวังปัญหาทางการเมือง
- ทศวรรษที่หายไป VS ทศวรรษแห่งความรุ่งโรจน์
- ทำไมเราถึงไม่ควรกลัวหุ้นตกหลังเลือกตั้ง
4. อุตสาหกรรมพลังงาน และการสื่อสาร
ภาคพลังงานไม่ได้อิงกับการใช้แรงงาน คนทำงานในอุตสาหกรรมเป็นผู้เชี่ยวชาญทำให้เงินเดือนหรือโบนัสอยู่ในระดับค่อนข้างสูง จึงไม่มีปัญหาเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ
5. ค้าปลีก
ได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มาก โดยค่าแรงปรับขึ้นอาจจะทำให้กระทบยอดขายราวๆ 0.5-1% แต่ถ้ามองในภาพรวม ถือว่ากลุ่มค้าปลีกได้ประโยชน์มากกว่า ในเรื่องกำลังซื้่อที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น ฝ่ายวิจัยจึงสรุปว่า การขึ้นค่าแรง 450 บาทต่อวัน เป็นประเด็นที่ไม่น่ากังวล
และเราอาจจะกำลังมองในแง่ร้ายเกินไป
ถ้าราคาหุ้นตอบสนองต่อประเด็นนี้มากเกินไป (ถูกเทขายมากเกินไป) ถือเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ..
เพราะเราต้องไม่ลืมว่า การปรับขึ้นค่าแรง บางอุตสาหกรรมสามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นลงไปในตัวสินค้าได้
โดยเฉพาะสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ปรับตัวสูงขึ้น
ถึงแม้เราจะได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น แต่ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นตาม อาจจะไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้
สิ่งสำคัญ ที่สุด คือการพัฒนาตัวเอง
อย่างที่วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยบอกไว้ การลงทุนที่ดีที่สุด คือการลงทุนในตัวเอง
สิ่งที่ดีที่สุดที่คนอายุยังน้อยจะทำได้ คือ ค้นหาตัวเองให้เจอว่าเราเก่งอะไร แล้วเก่งในเรื่องนั้นให้สุด แล้วผู้คนจะยอมแลกกับสิ่งที่พวกเขามี เพื่อแลกกับความสามารถของเรา
ถ้าเราเก่งในเรื่องอะไรก็ตามแต่ จะมีประโยชน์ด้วยกัน 3 อย่าง คือ
1. เงินเฟ้อ ทำอะไรเราไม่ได้ และไม่มีใครเอาความเก่งของเราไปจากเราได้
2. ผู้คนจะยอมจ่ายในสิ่งที่เขามี เพื่อแลกกับความสามารถของเรา
3. ความเก่งของเรา ไม่โดนเก็บภาษี
------------------------------------------------------------------------------
Reference
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส