เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทางฝั่งอเมริกา และยุโรปปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก
สาเหตุเนื่องมาจาก ความไม่มั่นใจในสถาบันการเงิน
ถึงแม้ว่า FED จะพยายามอัดฉีดเงิน คุ้มครองเงินฝาก และอาจจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในเวลาต่อมา
แต่ก็ยังไม่สามารถขจัดควากังวลของนักลงทุนลงได้ อย่างที่เราเห็นว่าประชาชนชาวอเมริกาจำนวนมากกำลังแห่ถอนเงินจากแบงก์ขนาดกลาง - เล็ก ไปฝากเงินกับธนาคารแบงก์ใหญ่มากขึ้น
ทางฝั่ง ECB เหมือนจะจบลงด้วยดี จากปัญหาของ Credit Suisse
แต่ปัญหารอบใหม่ก็ตามมา นั้นคือปัญหาของดอยช์แบงก์ (Deutsche Bank) ธนาคารขนาดใหญ่เบอร์ 1 ของเยอรมนี
ปัญหามันมาจาก นักลงทุนเห็นการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ตกลงมาอย่างหนัก -15% ก่อนจะรีบาวร์มาปิด -8% เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา
คำถาม คือ เกิดอะไรขึ้นกับดอยช์แบงก์
คำตอบ น่าจะมาจาก 2 ประเด็น ด้วยกันคือ ...
1. Credit Default Swap หรือ CDS ซึ่งเป็นอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชําระหนี้ของดอยช์แบงก์พุ่งสูงสุดในรอบ 4 ปี
2. ทางธนาคารมีการประกาศว่าจะซื้อ Tier 2 Subordinated Debt ก่อนกําหนดที่ระยะเวลา 5 ปี
พูดง่ายๆ คือ นักลงทุนกลัวว่าดอยช์แบงก์อาจจะมีการผิดนัดชำระหนี้
ไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนหุ้นกู้ของตัวเองได้ จึงซื้อหุ้นกู้ของตัวเองคืนไปก่อน
ส่งผลให้เกิดความกังวล นักลงทุนจึงเทขายหุ้นดอยช์แบงก์อย่างหนัก
- สรุปประเด็น เกิดอะไรขึ้นกับ Credit Suisse ?
- นักลงทุนกำลังเห็นการพิมพ์เงินของ FED และ ECB ขนาดใหญ่
- โอกาสเก็บหุ้นพื้นฐานดี ที่ราคาร่วงแรง
นอกจากปัญหาของ Deutsche Bank แล้ว
สิ่งที่นักลงทุนยังกังวล คือ เงินเฟ้อไม่น่าจะปรับลดลงเร็วอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้า
ตามหลัก ECB พยายามเพิ่มดอกเบี้ย เพื่อกดเงินเฟ้อให้ลง
แต่การลดดอกเบี้ยมากเกิน ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงิน
อย่าที่เคยเกิดขึ้นกับ ดอยช์แบงก์ และ เครดิตสวิส มาก่อนหน้านั้นแล้ว
นั่นหมายความว่า ECB อาจจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย ในระยะถัดไป แต่ราคาที่ต้องจ่าย คือ เงินเฟ้อก็อาจจะยังทรงตัวในระดับสูงต่อไป
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ECB จะเลือกทางไหน