เวลาเราพูดถึงการทำธุรกิจ เรามักจะคิดถึงเรื่องของการตลาดควบคู่กันไปด้วย เพราะสองสิ่งนี้แทบจะเป็นเรื่องเดียวกัน
และเมื่อเราพูดถึงการตลาด ไม่ได้หมายความว่าการทำโปรโมชั่น หรือแค่การทำโฆณาอย่างเดียว แต่เรายังต้อง "เชื่อมต่อ" แบรนด์สินค้าของเราเข้ากับลูกค้าที่มี loyalty หมายความว่า
1. กลุ่มลูกค้าต้องแม่นยำ และชัดเจน
2. ต้องเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ให้เป็นลูกค้าให้ได้
3. การทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ
ซึ่งถ้าธุรกิจสามารถทำ 3 ข้อนี้ได้ครบก็จะสามารถเติบโตต่อไปได้ ..
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทรนด์การทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งในปัจจุบัน ได้รับความน่าสนใจมากจากองค์กรขนาดใหญ่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเฉพาะบุคคล (Personalized Marketing) ไม่ใช่หว่านแหแบบสมัยก่อน
แต่ปัญหาคือ ธุรกิจขนาดเล็กหรือ SME ที่ไม่ได้มีสายป่านยาวมากนัก จะทำอย่างไรให้เข้าถึงเครื่องมือที่มีคุณภาพ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจงในต้นทุนที่ไม่สูงมาก
จึงเป็นที่มาของ ReadyPlanet ผู้คิดค้นเเละพัฒนามาร์เก็ตติ้ง แพลตฟอร์ม สัญชาติไทยที่อยู่ในวงการมากกว่า 20 ปี
บริษัท เรดดี้ แพลนเน็ต จำกัด หรือ READY ก่อตั้งโดย คุณทรงยศ คันธมานนท์ และมีจุดเริ่มแรกมาจากการทำเว็บไซด์แบบสำเร็จรูป และค่อยๆพัฒนาเครื่องมือต่างๆ เปิดตัวมาเป็น ReadyPlanet Marketing Platform หรือ RMP เครื่องมือดิจิทัลมาร์เก็ตตติ้งแพลตฟอร์มที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก มีศักยภาพ ราคาไม่แพงสามารถเข้าถึงกลุ่มบริษัทได้หลากหลายระดับ จึงไม่แปลกใจที่ READY จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล
ที่สำคัญบริษัทกำลังจะเปิดระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ กันแล้วเร็วๆนี้
แต่ก่อนหน้านั้น นักลงทุนควรจะมาทำความเข้าใจก่อนว่า มีประเด็นอะไรที่เราต้องรู้บ้าง อยากจะเล่าให้ฟังสั้นๆแบบนี้ครับ ...
1. บริษัททำธุรกิจอะไร รายละเอียดหุ้นแบบสรุป
บริษัททำธุรกิจ เป็นผู้ให้ให้บริการแพลตฟอร์มการขาย และการตลาดดิจิทัล มีชื่อว่า Readyplanet All-in-One Platform
ที่ครอบคลุมด้านเว็บไซต์ (Website), โฆษณาออนไลน์ (Online Advertising), ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) และ ระบบจองโรงแรมโดยตรง (Hotel Direct Booking)
บริษัทจะเสนอขายราคา IPO ที่ 7.30 บาทต่อหุ้น มูลค่าเสนอขายรวม 255,500,000 บาท
โดยมีราคาพาร์ที่ 0.50 บาทต่อหุ้น
และมูลค่าตามบัญชี (Book Value) ที่ 1.04 บาทต่อหุ้น
2. ผลประกอบการที่ผ่านมา
ในปี 2562 บริษัทมีรายได้ 259.84 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 33.82 ล้านบาท
ในปี 2563 บริษัทมีรายได้ 142.80 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 95.85 ล้านบาท
ในปี 2564 บริษัทมีรายได้ 145.65 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 14.26 ล้านบาท
.
ในปี 2565 ผลประกอบการ 9 เดือน บริษัทมีรายได้ 119.06 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 13.69 ล้านบาท
โดยบริษัทชี้แจงว่าในปี 2563 ที่บริษัทขาดทุนมีผลมาจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนต้องปิดกิจการ หรือหยุดดำเนินธุรกิจชั่วคราว ซึ่งสร้างผลกระทบโดยตรงต่อบริษัท โดยเฉพาะปริมาณการใช้โฆษณาอนไลน์ของลูกค้าไม่เป็นไปตามเป้า
3. โครงสร้างรายได้
บริษัทมีโครงสร้างรายได้หลัก มาจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1. การบริการด้วยตนเองผ่านแพลตฟอร์มของบริษัท สัดส่วนประมาณ 44.5%
2. การบริการโดยผู้เชี่ยวชาญให้กับลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มของบริษัท สัดส่วนประมาณ 54.75%
3. รายได้จากการให้บริการอื่นๆ เช่น ค่าบริการสถานที่ สัดส่วนรายได้ 0.7%
4. วัตถุประสงค์การใช้เงิน
1. ใช้สำหรับพัฒนาแพลตฟอร์ม 50 ล้านบาท
2. ใช้ขยายทีมงาน ทีมการตลาด และหาฐานลูกค้าใหม่ๆ 20 ล้านบาท
3. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท 30 ล้านบาท
- การขาดทุนของ OR อาจจะไม่ได้น่ากังวลอย่างที่คิด
- JWD x SCGL เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น SJWD พร้อมเข้าเทรด 17 ก.พ.นี้
- เจาะประเด็น AP การเติบโตอยู่ที่ตรงไหน ?
ประเด็นสุดท้ายที่นักลงทุนอยากรู้ คือ การเสนอขายที่ราคา 7.30 บาทต่อหุ้น มีความสมเหตุสมผลมากแค่ไหน
จากข้อมูล Filling แสดงความคิดเห็นว่าราคาที่ 7.30 บาท มีฐานมาจากการคำนวนเรื่องค่า P/E Ratio กล่าวคือ บริษัทมี EPS ที่ 0.23 บาทต่อหุ้น และราคาเสนอขายที่ 7.30 บาท เท่ากับว่าค่า P/E ของบริษัทจะอยู่ที่ 31.74 เท่า
ถือเป็นบริษัทที่น่าติดตามเป็นอย่างมาก .....
------------------------------------------------------------------------------
Reference
ข้อมูล Filling : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย