บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP ถือเป็นหุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนกับผู้ลงทุนอย่างงดงาม
โดยถ้านักลงทุนถือเพียง 2 เดือน จะได้ผลตอบแทนราวๆ 5%
แต่ถ้าถือ 1 ปี จะได้ผลตอบแทนประมาณ 14%
แต่ถ้านักลงทุนถือ 5 ปี จะได้ผลตอบแทนสูงถึง 46% และเงินปันผลต่อปีอีกราวๆ 5% ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงมาก
ไม่เพียงแค่นั้น ผลประกอบการของ AP ก็เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆถึงแม้จะเจอกับวิกฤต COVID-19 ก็ตาม ...
โดยในปี 2562 พบว่า รายได้อยู่ที่ 23.88 พันล้านบาท กำไรสุทธิ 3.06 พันล้านบาท
ในปี 2563 บริษัทมีรายได้ 29.95 พันล้านบาท กำไรสุทธิ 4.22 พันล้านบาท
ในปี 2564 บริษัทมีรายได้ 31.98 พันล้านบาท กำไรสุทธิ 4.54 พันล้านบาท
ในปี 2565 ผลประกอบการ 9 เดือน บริษัทมีรายได้ 29.84 พันล้านบาท กำไรสุทธิ 4.72 พันล้านบาท
แล้วถ้าเรามองไปในภาพระยะยาวของ AP จะเป็นอย่างไร ... ?
เมื่อไม่นานมานี้ AP จัดงานแถลงข่าวเมื่อวานนี้เพื่อสรุปผลการดําเนินงานในปี 2565 และกลยุทธ์ก้าวต่อไปของบริษัท ด้วยการเปิดตัวโครงการใหม่มากถึง 58 โครงการ มูลค่า 7.7 หมื่นล้านบาท รุกตลาดแนวราบ-คอนโดฯ เร่งเพิ่มแชร์ตลาดลักชัวรี ชู 3 มิติดันธุรกิจ สังคม และต่อยอดโอกาสทางธุรกิจใหม่
สำหรับกลยุทธ์ของ AP ปี 2566 นั้น บริษัทจะดำเนินธุรกิจภายใต้แผน "2023 AP INCLUSIVE GROWTH ที่สุดของปีกับการเติบโตร่วมกัน" โดยจะดำเนินงานผ่าน 3 มิติ
- สรุป TRUE - DTAC ในสิ่งที่นักลงทุนต้องรู้
- ทำไมหุ้น MEB ถึงกลายมาเป็นที่สนใจของนักลงทุน ?
- JWD x SCGL เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น SJWD พร้อมเข้าเทรด 17 ก.พ.นี้
กลยุทธ์แรก DIVE DEEPER IN PROPERTY BUSINESS ทำงานแบบเจาะลึก เข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อครองความเป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ เพื่อการอยู่อาศัย ผ่าน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจพัฒนาคอนโดฯ กลุ่มธุรกิจพัฒนาบ้านเดี่ยว และกลุ่มธุรกิจพัฒนาทาวน์โฮม
... โดยปีนี้บริษัทฯ เปิดตัวโครงการใหม่ที่มีมูลค่ามากที่สุดในตลาด จำนวน 58 โครงการ มูลค่ากว่า 77,000 ล้านบาท เป็นบ้านเดี่ยว 22 โครงการ มูลค่า 34,800 ล้านบาท ทาวน์โฮมจำนวน 27 โครงการ มูลค่า 26,400 ล้านบาท คอนโดฯ 4 โครงการ มูลค่า 11,800 ล้านบาท และโครงการในต่างจังหวัด 5 โครงการ มูลค่า 4,000 ล้านบาท โดยได้เตรียมงบลงทุนซื้อที่ดินไว้ประมาณ 20,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปี 65
กลยุทธ์ที่สอง HATCH NEW BUSINESS ค้นหาช่องว่างตลาดใหม่ โดยจะนำทรัพยากรของบริษัทฯ ต่อยอดสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ ทั้งในมิติธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ในรูปแบบใหม่ หรือเพื่อเสริมธุรกิจอื่นๆ ในเครืออย่าง สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเมนท์ (SMART) หรือ บางกอก ซิตี้สมาร์ท (BC) พร็อพเพอร์ตี้โบรกเกอร์แบบครบวงจร เป็นต้น
และกลยุทธ์สุดท้าย PEOPLE & SOCIAL ร่วมขับเคลื่อนสังคมให้เติบโตไปร่วมกัน ด้วยการสานต่อความตั้งใจที่จะเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพ ‘คน’ ด้วยการมอบทักษะแห่งอนาคตแก่ทุกคนผ่านโครงการเพื่อสังคมต่างๆ ที่ทำอย่างต่อเนื่อง
พูดง่ายๆคือ ผู้บริหารตั้งเป้ากลยุทธ์ Deeper Dive จาก 3 ด้านด้วยกัน คือ
1. โครงการหรู
2. การดีไซน์แบบใหม่
3. การร่วมมือกับพันธมิตร Mitsubishi Estate
โดยบริษัทตั้งเป้ายอด presale ไว้ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท เติบโต 15% yoy
และยอดโอน 5.63 หมื่นล้านบาท เติบโต 17% yoy
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์กรุงศรี มองว่าหุ้น AP เทรดกันที่ P/E 7เท่า ถือว่าราคายังถูก และมีอัตราเงินปันผลสูงถึงเกือบๆ 6%
ถึงแม้ว่า AP จะไม่ได้เป็นหุ้นเติบโตสูง หรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างหวือวา
แต่การประกาศตัวดำเนินงานเชิงรุก และจากผลงานที่ผ่านมาสะท้อนได้ว่าเป็นบริษัทที่มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตลอดเวลาผ่านช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง และท้าทายต่อไปได้
โดยภาพรวม AP คือ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่กี่บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดน้อยที่สุด และยังได้รับอานิสงค์จากโครงการแนวรายที่ขยายตัวจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
อีกทั้งบริษัทยังมีเป้าหมายการเติบโตที่ชัดเจน โดยเฉพาะกลยุทธ์ที่เรียกว่า Deeper Dive น่าจะทำให้ผลประกอบการในปี 2566 เป็นปีที่ดีของ AP อย่างแน่นอนครับ
------------------------------------------------------------------------------
Reference
งบการเงิน : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย