เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวที่น่าตื่นเต้นของ CBG คือ การประกาศรุกธุรกิจเบียร์ ที่มีการเติบโตสูงมากในประเทศไทย
เมื่อไม่นานมานี้ คุณเสถียร เสถียรธรรมะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CBG เปิดเผยว่าบริษัทได้ทุ่มทุกสรรพกำลังครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี เปิดตัวเบียร์ 2 แบรนด์ คือ "คาราบาว" และ "ตะวันแดง" ด้วยเงินลงทุน 4,000 ล้านบาท
ซึ่งตลาดเบียร์ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึงราวๆ 2.6 แสนล้านบาท
ซึ่ง CBG ตั้งเป้าจะชิงส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 10% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านบาท
คุณเสถียร เสถียรธรรมะ ยังเปิดเผยอีกว่า ปัจจุบันมีผู้เล่นรายใหญ่ 2 รายกินส่วนแบ่งตลาด มากกว่า 90%
โดยก้าวแรก ผู้บริหารตั้งเป้ายอดขาย 200 ล้านลิตรต่อปี
โดยจะอาศัยช่องทางการขายของ CBG ในการกระจายสินค้าและใช้ร้านค้าปลีกของกลุ่ม คือ CJ และถูกและดีร่วมจำหน่าย โดยช่วงเริ่มต้น ผลตอบรับค่อนข้างดี
ผู้บริหารตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาด 10% ในอนาคตและตลาด CLMV จะเป็นแผนในระยะถัดไป CBG จะได้อะไรจากธุรกิจเบียร์ของกลุ่ม
1. รายได้จากการผลิตขวดแก้ว และกระป๋อง
2. ค่าจัดจำหน่ายตามช่องทางการกระจายสินค้า
3. กลุ่มจะช่วยแชร์ค่าใช้จ่ายสปอนเซอร์ฟุตบอล 50% ที่จำนวน 6 ล้านปอนด์
เรียกว่าได้ "ธุรกิจเบียร์" จะเป็นกำลังสำคัญในการเติบโตของ CBG อย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งในปี 2566 เป็นแบบนั้นจริงๆ
ผลประกอบการปี 2566 CBG ประกาศผลประกอบการ บริษัทมีรายได้ 19.04 พันล้านบาท
และมีกำไรสุทธิ 1.92 พันล้านบาท ลดลง 16% YoY จากเดิมปี 2565 ที่บริษัทมีกำไรสุทธิ 2.28 พันล้านบาท
ซึ่งถ้าดูเฉพาะไตรมาส 4 ปี 2566 พบว่า บริษัทมีรายได้ราวๆ 5.31 พันล้านบาท เติบโต 18% YoY
และกำไรสุทธิ 649 ล้านบาท เติบโตสูงถึง 58% YoY นำโดยธุรกิจเบียร์ และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเบียร์
ไม่เพียงแค่ธุรกิจเบียร์เท่านั้น แต่ธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลัง (Energy Drink) ก็โดดเด่นไม่แพ้กัน ..
CBG ตั้งเป้าจะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดจากเดิม 21% มาเป็น 25% ภายในปี 2567 ให้ได้ ด้วยการยืนที่ราคา 10 บาท
บริษัทตั้งเป้าจะแซงคู่แข่งขึ้นมาครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับหนึ่งให้ได้
- เป้าหมายของ TRUE 2567 คือการตั้งเป้าบริษัทจะมีกำไรในปีนี้
- BYD เปิดตัวแม่ทัพใหม่ ผู้คร่ำหวอดในวงการหลักทรัพย์มากว่า 30 ปีร่วมทีม ตั้งเป้าทะยานสู่ TOP 10
- AJA จากธุรกิจขายเครื่องเล่น DVD ตอนนี้ทำธุรกิจอะไร ?
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ธุรกิจเบียร์อาจจะไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เคจีไอ เปิดเผยว่า ธุรกิจจัดจำหน่ายเบียร์ ทำรายได้ให้ CBG เฉพาะไตรมาส 4 ที่ผ่านมา 500 ล้านบาท
และธุรกิจบรรจุภัณฑ์อีกประมาณ 275 ล้านบาท
ซึ่งโมเมนตัมของการเติบโตชะลอตัวลงในช่วงเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567
ซึ่งอาจจะทำให้รายได้จากธุรกิจเบียร์ "พลาดเป้า" ที่ 1 พันล้านบาท และส่งผลให้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ลดลงตามไปด้วย
โดยบริษัทให้เหตุผลว่า
1. คำสั่งซื้อซ้ำที่ลดลง
2. การแข่งขันจากผู้เล่นรายใหญ่
ดังนั้น ฝ่ายวิจัย จึงปรับลดกำไรของ CBG ลง จากสาเหตุที่ธุรกิจเบียร์ไม่เป็นไปตามเป้า
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยไม่ได้เป็นกังวลมากกับธุรกิจเบียร์
เพราะเราต้องไม่ลืมว่า CBG คือผู้เล่นหน้าใหม่ การเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเป็นเรื่องท้าทาย
อีกทั้ง CBG มีประสบการณ์ในธุรกิจสุรา มาก่อน โดยเมื่อ 5 ปีที่แล้ว การเข้ามาเล่นตลาดสุราก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ยอดขายก็มีสะดุมบ้าง
แต่ CBG ใช้เวลา 2 ปี ในการฟื้่นธุรกิจจากที่ครองส่วนแบ่งการตลาด 10% มาอยู่ที่ 18%
ซึ่งธุรกิจเบียร์ ก็น่าจะเป็นภาพอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน
CBG ต้องเจอกับความท้าทายของธุรกิจเบียร์ ที่คาดว่าจะนำพาให้บริษัทเติบโตต่อไป
แต่จากการประชุมนักวิเคราะห์ ความคาดหวังจากธุรกิจเบียร์มีแนวโน้มลดลงจากการเติบโตที่ไม่ได้เป็นไปอย่างที่หวัง
ถือเป็นความท้าทายที่ CBG ต้องผ่านไปให้ได้
และมั่นใจได้ว่า ผ่านได้ไปอย่างแน่นอน เพราะ CBG มีประสบการณ์มาก่อนหน้านั้นแล้ว
สิ่งที่นักลงทุนต้องติดตามต่อไป คือ ผลประกอบการของปี 2567 จะเป็นอย่างไรต่อไป
------------------------------------------------------------------------------
Reference
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เคจีไอ