เราจะลงทุนอย่างไร ในยุคที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
อีกทั้ง ยังไม่ได้ยึดติดใน "แบรนด์" ซึ่งพร้อมจะเปลี่ยนไปตลอดถ้ามีตัวเลือกที่ถูกกว่าและดีกว่า
คำตอบ คือ การลงทุนในบริษัทที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และได้รับการพิสูจน์มาแล้ว อย่าง บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (มหาชน) หรือ "NEO"
ผู้ทำธุรกิจผลิต ทำการตลาด และจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค (Consumer Products) ซึ่งประกอบด้วย
กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน (Household Products)
กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล (Personal Care Products)
และกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้สำหรับเด็ก (Baby and Kids Products)
ตัวอย่างแบรนด์ ที่เราคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เช่น Fineline, D-nee, BeNice, Eversense, TROS, Vivite, Smart และ Tomi
เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์สินค้าในครัวเรือนที่ทุกคนต้องเคยใช้กันมาบ้างแล้ว
ใช้แล้วหมดไป ผู้บริโภคก็ต้องกลับไปซื้อกลับมาใช้ใหม่ เราเรียกตลาดนี้ว่า FMCG หรือ Fast Moving Consumer Goods
ตลาด FMCG คือ ประเภทของสินค้าที่ต้นทุนไม่สูง ไม่คงทน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ไว้ใช้บริโภคในครัวเรือนแล้วหมดไป เช่น น้ำอัดลม, ยาสระผม และขนมขบเคี้ยว
ดังนั้นภาพรวมของตลาด FMCG จึงสามารถชี้วัดได้ถึง กำลังซื้อของผู้บริโภค, พฤติกรรมของผู้บริโภค และภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ สำหรับใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ของแบรนด์ในอนาคตได้
NEO คือ บริษัทสัญชาติไทย ที่เป็นเจ้าของ แบรนด์สินค้า FMCG ทั้ง 8 แบรนด์
โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากคุณสุทธิเดช ถกลศรี ผู้ก่อตั้ง บริษัท ไบโอ คอนซูเมอร์ จำกัด ทำธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค (FMCG)
ที่อยากจะเป็นตัวเลือกของผู้บริโภค ในสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ท่ามกลางการแข่งขันกับแบรนด์อินเตอร์จากต่างประเทศ จึงลงทุนตั้งโรงงานผลิต บริษัทวิจัยและพัฒนาสินค้า เพื่อทำให้กลยุทธ์ที่ว่าด้วย Product แตกต่างและมีคุณภาพ รวมทั้งดูแลเรื่องการจัดจำหน่ายเอง
เป้าหมายของคุณสุทธิเดช คือ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและนำเสนอสินค้าอุปโภคที่มีคุณภาพและหลากหลายครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ช่วยดูแลชีวิตประจำวันของทุกคนให้ได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในราคาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการยกระดับความสุขของผู้บริโภคให้ทุกวันดียิ่งขึ้น
ในปี 2532 บริษัทเปิดตัวแบรนด์สินค้าแรก คือ “เอเวอร์เซ้นส์” (Eversense) โคโลญ
ที่วางตำแหน่งชัดเจนว่าเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับวัยรุ่นหญิง สร้างความแตกต่างจากโคโลญในตลาดที่จับทุกกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ครองมาร์เก็ตแชร์อันดับ 1 ตั้งแต่ปีแรกถึงปัจจุบัน
และแตกแบรนด์มาอีก 7 แบรนด์ (รวมทั้งหมด 8 แบรนด์) อันได้แก่
BeNice ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
TROS ผลิตภัณฑ์โคโลญ และผลิตภัณฑ์โรลออนสำหรับผู้ชาย
Fineline ผลิตภัณฑ์ซักผ้า, ผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม, ผลิตภัณฑ์รีดผ้าเรียบ
Smart ผลิตภัณฑ์ซักผ้า และผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่มสูตรแอนตี้แบคทีเรีย
Tomi ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ
Vivite ผลิตภัณฑ์โรลออนสำหรับผู้หญิง
D-nee ผลิตภัณฑ์ซักผ้าเด็ก ผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่มเด็ก ผลิตภัณฑ์อาบน้ำและสระผมเด็ก
ซึ่งแน่นอนว่าทั้ง 8 แบรนด์ พร้อมเจอกับความท้าทายอยู่ตลอดเวลา เพราะใช้งบการตลาดไม่มาก และต้องแข่งขันกับโกลบอลแบรนด์ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ Market Share ในทุกสินค้าเพิ่มขึ้นทุกปี
ต่อมา ในปี 2559 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด และพร้อมแล้วที่จะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ...
บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (มหาชน) หรือ NEO ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 78,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท
โดยมี บล.ทิสโก้ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย และจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
ถ้าเราไปดูโครงสร้างรายได้ของกลุ่มบริษัท จะพบว่าแบ่งออกเป็น 3 โครงสร้างใหญ่ด้วยกัน คือ
1. รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน สัดส่วน 42%
2. รายได้จากจากการขายผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล สัดส่วน 25%
3. รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ของใช้สำหรับเด็ก สัดส่วน 33%
ปี 2563 บริษัทมีรายได้ 6.76 พันล้านบาท และกำไรสุทธิ 602.47 ล้านบาท
ปี 2564 บริษัทมีรายได้ 7.44 พันล้านบาท และกำไรสุทธิ 729.03 ล้านบาท
ปี 2565 บริษัทมีรายได้ 8.31 พันล้านบาท และกำไรสุทธิ 568.68 ล้านบาท
- กรณีศึกษา SABINA ชุดชั้นในสตรี ที่ยอดขายเติบโตมากจากแพลตฟอร์มออนไลน์
- Banpu กำลังปรับตัวอย่างหนัก ในวันที่ธุรกิจถ่านหินไม่เหมือนเดิม
- Future Energy and Beyond กำลังจะเป็น New S-curve ใหม่ของ PTT
ซึ่งไม่ใช่แค่รายได้จากประเทศไทยอย่างเดียว แต่ NEO ยังส่งออกสินค้าของตัวเองไปขายยังต่างประเทศ 16 ประเทศ
โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ ในกลุ่ม CLMV (เวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมา) ตะวันออกกลาง
ซึ่งถ้าเรามองเฉพาะตลาดส่งออก จะคิดเป็นสัดส่วน 15% ของรายได้ ทั้งหมด
ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจกว่า 30 ปี ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาสินค้า (R&D) ทำวิจัยปีละ 200 วัน แต่ละปีใช้งบประมาณ 5% ของยอดขาย เพื่อออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่หลากหลายและครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภค ตามไลฟ์สไต์ล์ในทุกช่วงอายุ
มองไปในอนาคต ปี 2567 นีโอ มีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ทั้งตลาดที่มีสินค้าอยู่แล้วและประเภทผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ เพื่อรองรับกระแสความต้องการของผู้บริโภคและเพื่อนำเสนอสินค้าที่มีความแปลกใหม่ให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
เรียกได้ว่าการนำ นีโอ คอร์ปอเรท(NEO) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2567 ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านจากธุรกิจครอบครัวไปสู่บริษัทมหาชนที่มาตรฐานในระดับสากล สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศและทำตลาดส่งออกมากขึ้น เพื่อสานวิชั่น “นีโอ” สู่การขึ้นบริษัท FMCG แห่งนวัตกรรมของภูมิภาคเอเชีย
NEO ยังเป็นหุ้น IPO ในปี 2567 ที่นักลงทุนต้องจับตากันเป็นอย่างยิ่งครับ ...
------------------------------------------------------------------------------
Reference
บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (มหาชน) : นักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูล Filling : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์