เวลาเราวิเคราะห์หุ้นกลุ่มธนาคาร หรือธุรกิจการเงิน
สิ่งหนึ่งที่มักจะยกมาพูดถึง คือ NPL
ประเด็นคือ NPL คืออะไร แล้วนักลงทุนอย่างเราจะตีความหมายแบบเข้าใจง่ายๆได้อย่างไร ?
ตอบแบบสั้นๆ
NPL คือ หนี้เสียหรือสินเชื่อที่ค้างชำระมากกว่า 3 เดือน หรือ 90 วัน ติดต่อกัน เรียกว่า อยู่ในช่วงของการผิดชำระหนี้
พูดง่ายๆ คือ NPL เป็นหนี้เสียที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เกินกำหนดเป็นระยะเวลามากกว่า 90 วันนั่นเอง
ถ้า NPL สูง แสดงว่า "ไม่ดี" ... ลูกหนี้ของธนาคารมีการผิดนัดชำระหนี้จำนวนมาก
ถ้า NPL ต่ำ แสดงว่า "รับได้" ... ลูกหนี้ของธนาคารมีการผิดนัดชำระหนี้จำนวนน้อย
ในภาคของเศรษฐกิจการที่ตัวเลข NPL ของทั้งระบบสูงขึ้นอาจเป็นสัญญาณบอกได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังถดถอย
เนื่องจากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้กับธนาคารได้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก
สาเหตุของการเกิด NPL คือการขาดสภาพคล่องของผู้กู้หรือลูกหนี้
และอาจมีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง เช่น
1. หากผู้กู้เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ
การที่เศรษฐกิจถดถอยก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของผู้กู้ได้
2. การมีมีวินัยทางการเงินของผู้กู้
และความสามารถบริหารจัดการทางการเงินในระดับบุคคลของผู้กู้แต่ละคน
ในมาตรฐานของ TFRS9 จะแบ่งการจัดชั้นหนี้ออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ
Stage 1 กลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิตไม่เปลี่ยนแปลงจากวันแรกของการให้สินเชื่อ คือ ลูกหนี้ที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้
Stage 2 กลุ่มที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย คือ ลูกหนี้ค้างชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นเกินกว่า 30 วัน
Stage 3 กลุ่มหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing; NPL) คือ สินเชื่อที่ผิดชำระใขหนี้เกิน 3 เดือนติดต่อกัน
- CPN กำลังมีรายได้จากธุรกิจขายบ้าน เป็น 1 ใน 4 ของรายได้รวมทั้งหมด
- หุ้นตัวแรกซื้อตัวไหนดีที่สุด ?
- เมื่อไรหุ้นไทยจะกลับมาเป็น "ขาขึ้น" ?
โดยปกติแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีหน้าที่เป็นผู้รวบรวมตัวเลขข้อมูล NPL มาจากสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ซึ่งจะนำตัวเลขทั้งหมดมารวบรวมให้เป็นมูลค่าทั้งระบบ ซึ่งตัวเลขนั้นจะสะท้อนความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจและความมั่นคงของธนาคาร
สรุปแล้ว หนี้เสีย หรือ NPL เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ธนาคารว่าลูกหนี้สามารถชำระหนี้ให้ธนาคารได้มากหรือน้อยเพียงใด