นอกจากปัญหาการเมืองไทยที่นักลงทุนให้ความสนใจแล้ว
เราแทบจะไม่ได้ติดตามเรื่องของปัญหา Debt Ceiling
ซึ่งเป็นปัญหาทางการเงินที่คอยกดดันตลาดหุ้นอเมริกาและทั่วโลกอยู่ในขณะนี้
คำถาม คือ สิ่งที่เราจะได้ยินจากการฟังข่าวว่า "ปัญหา Debt Ceiling"
มันคืออะไร ?
และตอนนี้นักลงทุนทั่วโลก เขากำลังกังวลอะไรกันอยู่ ?
โดยปกติภาครัฐจะมีการกู้ยืมมาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินเดือนของหน่วยงานราชการ รวมถึงสวัสดิการสังคมและภาระดอกเบี้ยที่มาจากการกู้ยืม สิ่งที่กู้ยืมมาเราเรียกว่า "หนี้สาธารณะ"
แต่การกู้ยืมมาใช้จ่าย จะต้องอยู่ภายใต้กฏหมายที่กำหนดเอาไว้ ...
ซึ่งรัฐบาลก็กู้ยืมจนเกินเพดานหนี้ และมีการขยายเพดานหนี้ออกไปเรื่อยๆ
และล่าสุด ปัญหาก็เกิดเมื่อรัฐบาลกลางกู้เงินจนแตะระดับเพดานหนี้ (อีกครั้ง)
เราก็เลยเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "ปัญหา Debt Ceiling"
ปัญหา Debt Ceiling คือ ปัญหาที่กู้เงินจนเกินเพดานหนี้ และทางภาครัฐต้องร่างกฏหมายใหม่ เพื่อขยายเพดานหนี้ต่อออกไป เพื่อให้ภาครัฐกู้เงินออกมาใช้จ่ายได้
ถ้าไม่อย่างนั้น อาจจะเกิดเหตุการณ์ Government Shutdown
รัฐบาลไม่มีเงินมาใช้จ่าย จ่ายเงินข้าราชการ ส่งผลไปยังการผิดนัดชำระหนี้ ตลาดหุ้นตกทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคหายไป
- ถึงเวลาซื้อ RMF SSF แล้วหรือยัง ?
- SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยโตต่อ แต่ระวังปัญหาทางการเมือง
- สรุปคำแนะนำจากวอเร็น บัฟเฟตต์ และชาลี มังเกอร์ ในงานประชุม Berkshire Hathaway 2023
เมื่อคืนที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นอเมริกาตกค่อนข้างหนัก จากเรื่องของการเจรจาเพดานหนี้ ยังไม่ได้ข้อสรุป
ซึ่งทางประธานสภาของสหรัฐ นายเควน แมคคาร์ธีจะต่อสายตรงเพื่อพูดคุยกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ทุกวันจนกว่าจะได้ข้อสรุป เส้นตายจะอยู่วันที่ 1 มิถุนายน หรือที่เรียกกกันว่า X-date
ถ้าตกลงกันได้ มีการเจรจาเพดานหนี้ได้จริง จะทำได้ 2 วิธี คือ
1. วิธิ Regular Order คือ ผ่านกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้
2. วิธิ Reconciliation คือผ่านกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้ ด้วยวิธีพิเศษ โดยใช้เพียงคะแนนเกินครึ่งหนึ่ง ทั้งจากสภาล่างและสภาสูง (ใช้ 51 เสียงจาก 100 เสียง)
ประเด็นคือ แล้วถ้าไม่ทัน ละ ?
สหรัฐอเมริกาไม่สามารถขยายเพดานหนี้ ได้ จะเกิดอะไรขึ้น ?
และดูเหมือนว่า ตลาดจะมองไปในทางนี้มากกว่า
... ในปี 2011 การเจรจาดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ทางสภาต้องออกกฏหมายพิเศษที่เรียกว่า Budget Control Act หรือ BCA เพื่อเลื่อนระยะเวลาการขยาย Debt Celling ออกไป โดยภาครัฐจะใช้งบจาก Cash Balance ในการชำระภาระผูกพันออกไปก่อน
ทำให้ในปีนั้น สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้รับลดเครดิตของอเมริกาลงด้วยเหตุผลเรื่องความล้มเหลวของการคลังในระยะคลัง ส่งผลกระทบให้หุ้นตกและกระทบกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงอย่างมาก
... ในปี 2014 การพยายามเจรจา Debt Celling ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากสภาล่าง ในขณะที่พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากสภาสูง ทำให้การเจรจาไม่ลงตัว เกิดเหตุการณ์ Government Shutdown
ส่งผลให้มีพนักงานภาครัฐถูกพักงานมากถึง 8.5 แสนคน หรือคิดเป็น 40% ของพนักงานรัฐทั้งหมด แต่สุดท้ายสภาคองเกรสก็ผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวออกมาได้
โดยสรุป คือ ปัญหา Debt Celling คือปัญหาที่กลับมากดดันเศรษฐกิจทั่วโลกกันอีกครั้ง หลังผ่านพ้นเรื่องวิกฤตธนาคารล้มละลาย (ที่ยังไม่จบ)
ซึ่งมีแนวโน้มสูงมากที่อเมริกาอาจจะไม่สามารถขยาย Debt Celling
และสิ่งที่ตามมา คือ Government Shutdown พนักงานภาครัฐอาจจะต้องถูกพักงาน กระทบกับตลาดทุนและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่หายไปอย่างรวดเร็ว
ต่อมา คือ การผิดนัดชำระหนี้บนตราสารหนี้ภาครัฐ ซึ่งก็จะไปสร้างความตื่นตระหนกทางการเงิน (Financial Shock) ทำให้เกิดภาวะการเงินตึงตัวมากขึ้นได้
เพราะบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำต่างๆ มีแนวโน้มจะปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐฯ ลง ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของกระทรวงการคลัง ผู้บริโภค และภาคธุรกิจสูงขึ้น
ขณะที่นักลงทุนต่างชาติจะทยอยลดการถือครองตราสารหนี้ภาครัฐของสหรัฐฯ จนไปกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า และเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อได้ ในที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
เรียกได้ว่าเป็นวิกฤตที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม และควรติดตามอย่างใกล้ชิดครับ
------------------------------------------------------------------------------
Reference
BBC
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์บัวหลวง
SCB EIC : เพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐอเมริกา (U.S. Debt Ceiling)