#แนวคิดด้านการลงทุน

หุ้นแตกพาร์ อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องที่ดีเสมอไป ?

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
3,038 views

เมื่อไม่นานมานี้ มีประเด็นข่าวเรื่องของการแตกพาร์ในหุ้น Delta โดยจะลดเหลือ 0.1 บาทต่อหุ้น จากเดิมที่ 1 บาท 
พูดง่ายๆ คือ ถ้าเรามีหุ้น Delta จำนวน 1,000 หุ้น ซื้อขายที่ราคา 970 บาท ที่ราคาพาร์ 1 บาท 
เมื่อถึงวันแตกพาร์เสร็จแล้ว หุ้น Delta ในพอร์ตของเราจะมี 10,000 หุ้น แต่ปรับราคาใหม่เป็น 97 บาท ที่ราคาพาร์ 0.1 บาท
ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อหุ้นในตลาดโดยตรง คือ 
1. จำนวนหุ้นมากขึ้น สภาพคล่องของหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก 
2. ราคาหุ้นลดลง เปิดโอกาสซื้อขายง่ายขึ้น
3. มูลค่าหลักทรัพย์เท่าเดิม ปัจจัยพื้นฐานเหมือนเดิม

 

ถ้าดูจากตรงนี้ เราอาจจะสรุปได้ว่าการแตกพาร์หุ้น เป็นเรื่องที่ดี ... ? 
เพราะดูจากหุ้นหลายตัวที่มีการแตกพาร์แล้วประสบความสำเร็จหุ้นพุ่งขึ้นไปอีกมาก เช่น 
... GULF ที่มีราคา IPO 45 บาท และราคาพาร์ 5 บาท 
แต่ในวันที่ 16 เมษายน 2563 มีการประกาศแตกพาร์ 5 บาท เป็น 1 บาท 
ทำให้ราคาเหลือจาก IPO ที่ 9 บาท ปัจจุบันอยู่ที่ 54 บาท

 

หรืออย่างกรณีของ CPN ที่เคยมีราคาพาร์ 10 บาท ก็เปลี่ยนมาเป็น 1 บาทในภายหลัง แต่หุ้นก็ยังสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นทุกๆปี

 

ดังนั้น หุ้นแตกพาร์จึงเป็นเรื่องดี
แต่นั้นก็อาจจะด่วนสรุปเกินไป เพราะหลายๆครั้งหุ้นที่ผ่านการแตกพาร์ อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องที่ดีเสมอไปก็เป็นได้
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น อยากจะเล่าให้ฟังแบบนี้ครับ ...

 

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์หยวนต้า มองว่า เมื่อหุ้นประกาศแตกพาร์ ราคาหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นก่อน และจะเข้าสู่จุดพีคในวันที่ซื้อขายพาร์ใหม่ หลังจากนั้นหุ้นที่ประกาศแตกพาร์มีโอกาสจะจบรอบอย่างน้อยในระยะสั้น หลังจากนั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานของหุ้น 
... พูดง่ายๆคือ โดยส่วนใหญ่แล้วหลังการแตกพาร์ สภาพคล่องของหุ้นจะเพิ่มขึ้นก็จริง แต่ความนิยมหรือการกลับมาน่าสนใจในการเก็งกำไรอาจจะลดน้อยลง ซึ่งเราต้องเข้าไปดูราคาปัจจัยพื้นฐานประกอบการตัดสินใจอีกที

 

สอดคล้องกับความเห็นนักวิหลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ ที่มองว่า หุ้นที่ประกาศลดพาร์มีแนวโน้มที่ราคาหุ้นจะเป็นบวกนับจากวันที่คณะกรรมการมีมติไปจนถึงวันแรกที่มีผลให้ซื้อขายด้วยพาร์ใหม่ แต่หลังจากวันที่มีผลแล้ว ในทางทฤษฎีเมื่อหุ้นมีสภาพคล่องมากขึ้นทำให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมได้มากขึ้น โดยธรรมชาติแล้วราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่ายุติธรรมได้ง่ายกว่าการที่มีคนหมู่น้อยเข้ามามีส่วนร่วม
ซึ่งถ้าหุ้น Undervalue ราคาหุ้นหลังจากแตกพาร์มีโอกาสที่จะไปในทิศทางเชิงบวกได้
ในทางกลับกัน ถ้าหุ้น Overvalue อาจถูกกดดันให้ราคากลับลงมา ....

 

 

จากข้อมูลของอีไฟแนนซ์ไทย เมื่อปี 2565 พบว่า 12 บริษัทที่มีการประกาศแตกพาร์หุ้นโดยมีเหตุผลเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง 
หลังการแตกพาร์และราคาปิดเมื่อสิ้นปี พบว่าปรับตัวลดลงเฉลี่ย 14%

ดังนั้นเรื่องของการแตกพาร์ ก็อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องที่ดีเสมอไป 
นักลงทุนเองจำเป็นจะต้องติดตามพื้นฐานของหุ้นกันอย่างใกล้ชิดต่อไปครับ

โดยสรุปแล้ว เราจะกลับมามองปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น
ถ้าหุ้นราคาแพงเกินไป ก็จะปรับเข้าสู่ราคาที่สมดุล
ในทางกลับกัน ถ้าหุ้นมีราคาถูกเกินไป ก็อาจจะเป็นโมเม้นตัมเชิงบวกต่อราคาหุ้นในอนาคตได้เหมือนกัน

------------------------------------------------------------------------------
Reference
THE STANDARD WEALTH

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย [1]

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย [2]

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง