#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน
#มือใหม่เริ่มลงทุน

เศรษฐกิจต้องขยายตัวเท่าไร ถึงเรียกว่าดี ?

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
1,005 views

เราเคยสงสัยไหมว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาเรามักจะได้ยินว่า
ขยายตัวได้ดี หรือขยายตัวได้ต่ำ 
บางประเทศเติบโตเป็นเลข 2 หลัก บางประเทศโตเป็นเลขหลักเดียว
บางประเทศเติบโตเล็กน้อย หรือเรียกว่าไม่เติบโตเลย

 

มันพอจะมีตัวเลขที่เป็น "จุดกลาง" ของการแบ่งไหมว่าการเติบโตลักษณะนี้ของ GDP อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่า ดี  (Healthy Rate) ?
The Balance Money วิเคราะห์ว่าการเติบโตที่เรียกว่าพอดีๆ คือไม่เติบโตแบบร้อนแรงจนเกินไป หรือเติบโตต่ำเกินไป คือตัวเลขอยู่ระหว่าง 2% - 3% เราเรียกว่า Ideal GDP Growth rate

สอดคล้องกับทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่มองว่าการเติบโตของ GDP ของประเทศควรจะอยู่ที่ 3.4% เป็นเกณฑ์ค่าเฉลี่ย และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นในปัจจุบันมีสถานการณ์ความขัดแย้งของรัสเซีย - ยูเครน ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาราคาพลังงานพุ่งสูง การเติบโตของ GDP ก็อาจจะปรับลดลงได้ 
หรือการเปิดประเทศของจีน การผ่อนคลายโควิด ก็อาจจะเป็นแรงส่งให้ GDP ของโลกเติบโตตามไปด้วย
พูดง่ายๆคือ GDP ที่เติบโตแบบพอดี สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ แต่เกณฑ์ค่าเฉลี่ยควรจะอยู่ที่ 3.4%

 

อ่านมาถึงตรงนี้ เราอาจจะบอกว่า ประเทศไทยก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่ใช่หรือ ? 
เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยก็เติบโตอยู่ในระดับนี้มาโดยตลอด ... 
ข้อมูลจาก Statista บอกว่า GDP Growth ของไทยที่ผ่านมา
ปี 2561 ประเทศไทยมี GDP growth อยู่ที่ +4.22%
ปี 2562 ประเทศไทยมี GDP growth อยู่ที่ +2.15%
ปี 2563 ประเทศไทยมี GDP growth อยู่ที่ -6.2%
ปี 2564 ประเทศไทยมี GDP growth อยู่ที่ +1.57%
ปี 2565 ประเทศไทยมี GDP growth อยู่ที่ +3.33% ** คาดว่า
แล้วถ้าเรามองไปในอนาคตตลอด 3 ปีข้างหน้า พบว่า GDP Growth ของไทยมีแนวโน้มเติบโตแบบ "เกาะค่าเฉลี่ย" 
ปี 2566 ประเทศไทยอาจจะมี GDP growth อยู่ที่ +4.29%
ปี 2567 ประเทศไทยอาจจะมี GDP growth อยู่ที่ +3.82%
ปี 2568 ประเทศไทยอาจจะมี GDP growth อยู่ที่ +3.35%

 

 

ตามทฤษฏีก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องถูกต้อง เศรษฐกิจไทยจัดอยู่ในระดับที่เรียกว่า "โตพอดี"
แต่ถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย เติบโต 5%
มาเลเซียโต 6.1% 
สิงคโปร์โต 4.6% 
ฟิลิปปินส์โต 6.3% 
ขณะที่ไทยโตแค่ 3.3% ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าโตช้า ส่งผลให้คนในประเทศส่วนใหญ่ติดอยู่กับ "รายได้ปานกลาง" มา 30 ปีแล้ว 
และด้วยการที่โตช้านี้เอง ทำให้บริษัทการเงินยักษ์ใหญ่หลายแห่งมองว่าจุดอ่อนของเอเชีย คือ ไทยและญี่ปุ่น ที่มีเศรษฐกิจเติบโตช้า ตรงข้ามกับประเทศ อินโดนีเซีย เวียดนาม ที่เติบโตเร็วกว่ามาก

 

พูดง่ายๆ คือ เรื่องของเศรษฐกิจเป็นเรื่องของการแข่งขัน การเติบโตช้าท่ามกลางเพื่อนบ้านที่เติบโตเร็ว จะทำให้ประเทศที่โตช้ากว่าถุกแย่งทรัพยากร ไป เช่น บุคลากรที่มีศักยภาพ เทคโนโลยี การศึกษา การลงทุนจากต่างชาติ นวัตกรรมต่างๆ
และถ้ายังเป็นอย่างนี้ต่อไป เราจะถูกเพื่อนบ้านแซงในไม่ช้า

------------------------------------------------------------------------------
Reference
The Balance Money

imf.org

Bloomberg

investopedia.com

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส

statista.com


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง