หลายๆครั้ง เวลานักลงทุนจะเลือกซื้อหุ้นมักจะพิจารณาในเรื่องของการเติบโตของกิจการ
ถ้ากิจการเติบโตสูงมาก ดูดี มีอนาคต ก็จะให้ "มูลค่า" ที่สูง ยอมซื้อขายในราคาพรีเมี่ยม
แต่กรณีนี้อาจจะใช้ไม่ได้กับหุ้น TISCO หรือ บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ที่มูลค่าหุ้นเพิ่มสูงขึ้น จากการจ่ายปันผลสูง ถึงแม้การเติบโตจะน้อยกว่ากลุ่มก็ตาม
ถ้าเราไปดูกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ เช่น
BBL มีค่า P/E ที่ 10 เท่า , P/BV 0.55 เท่า ปันผล 2.27%
KBANK มีค่า P/E ที่ 8 เท่า , P/BV 0.72 เท่า ปันผล 2.13%
SCB มีค่า P/E ที่ 9 เท่า , P/BV 0.81 เท่า
หรือดูกลุ่มแบงก์ขนาดกลาง - เล็ก เช่น
TTB มีค่า P/E ที่ 10 เท่า , P/BV 0.64 เท่า ปันผล 2.67%
KKP มีค่า P/E ที่ 7.4 เท่า , P/BV 1.14 เท่า ปันผล 4%
แต่ถ้าดูค่าสถิติของ TISCO พบว่า มีค่า P/E ที่ 11.32 เท่า , P/BV 2 เท่า แต่อัตราปันผลสูงถึง 7%
เรียกได้ว่า แพงกว่ากลุ่ม
แต่ทำไมนักลงทุนถึงยอมให้มูลค่า TISCO ที่สูงกว่า เป็นเพราะว่า "มีอัตราปันผลที่สูงจนน่าดึงดูดใจ ... "
- ข้อคิดของ "เงินเฟ้อ"
- ภาษีขายหุ้น อาจจะทำให้หุ้นปันผลได้รับความนิยมในปีนี้
- KBANK กำลังมีการเติบโตจากการลงทุนในอินโดนีเซีย
- ข้อควรระวังในหุ้นที่มีปันผลเพิ่มขึ้น
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์กรุงศรี วิเคราะห์ว่า TISCO มีอัตราการเติบโต แต่ปันผลอยู่ในระดับสูง ...
โดย TISCO ไม่ได้มีความน่าตื่นเต้นในแง่ของการเติบโต และอาจจะโตได้เพียง 7% ในปี 2566 ซึ่งถือว่าน้อยกว่ากลุ่มที่จะเติบโตเฉลี่ยราวๆ 15-20%
... แต่จุดเด่นของ TISCO คือการปันผลสูง มีเสถียรภาพ และเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ....
ดังนั้น จึงยอมให้มีมูลค่าที่ค่อนข้างพรีเมี่ยม โดยอิงจาก P/BV ที่ 2 เท่า
ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ที่หุ้นตัวนึงจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทีค่อนข้างแพงจากการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นที่สูง ถึงแม้การเติบโตจะน้อยกว่ากลุ่มก็ตาม
สุดท้าย มีสถิติที่น่าสนใจ พบว่าในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นผันผวน หุ้นปันผลจะเป็นกลุ่มหุ้นที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นกว่าตลาด และมีความผันผวนที่น้อยกว่า (ค่า Beta ต่ำ)
ในตลาดหุ้นไทย การปรับฐาน 11 ครั้งล่าสุด พบว่าดัชนี SETHD (กลุ่มหุ้นที่ปันผลสูง) จะให้ผลตอบแทนดีกว่า SET ถึง 9 ครั้งจากทั้งหมด 11 ครั้ง
------------------------------------------------------------------------------
Reference
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย