-------------------------------------------------------
บทความตอนที่ผ่านๆ มาอ่านได้จาก: http://www.chiangmaifx.com/price-patterns.html
www.facebook.com/275391639215535/photos/pcb.1603468543074498/1603467323074620/
-------------------------------------------------------
เช่นเดียวกับระดับราคาที่ A ราคาที่แนวรับ B ก็ทำการกลับสมดุลที่ผู้ซื้อได้ประโยชน์อีกครั้ง สำหรับที่เส้น B แนวโน้มก็จะมีทิศทางเป็นขาขึ้น ราคาจะค่อนข้างดึงดูดใจผู้ซื้อที่ตกรถเมื่อตอนขาขึ้นรอบก่อน ในขณะเดียวกันผู้ขายก็รู้สึกว่าราคาจะกลับมาขึ้นไปที่เส้น A ได้อีกครั้ง ในชั่วขณะที่มีการวัดใจกันระหว่างทั้งสองฝ่ายภายในกรอบราคาระหว่างเส้น A และ B และในที่สุดราคาร่วงลงต่ำกว่าเส้น B แล้วสัญญาณแนวโน้มใหม่ (ขาลง) ก็ปรากฏขึ้น
การต่อสู้กันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเหมือนทำสงครามสนามเพลาะที่มีการประจันหน้ากันในพื้นที่เปิดโล่ง (Trench Warfare) ตัวอย่างในรูปที่ 6-4 กองทัพ A และ B จะเผชิญหน้าต่อสู้กัน เส้น AA เป็นเส้นแนวป้องกันของ A เหมือนกับที่เส้น BB ก็เป็นเส้นแนวป้องกันของ B สำหรับลูกศรระหว่างเส้นทั้งสอง แสดงให้เห็นการผลัดกันจู่โจมฝ่ายตรงข้าม แต่ก็ยังไม่สามารถฝ่าแนวเส้นป้องกันของอีกฝ่ายได้สักที ในตัวอย่าง B ที่ตอนสุดท้ายกองทัพ B ก็สามารถฝ่าแนวป้องกันของ A ได้ กองทัพ A จึงถูกบังคับให้ถอยร่นและไปยันอยู่ที่เส้นป้องกันที่สอง (เส้น A2) ซึ่งในโลกของตลาดหุ้น เส้น A1 ถือว่าเป็นแนวต้านแรก เมื่อมันไม่สามารถต้านได้แล้ว จึงต้องมีการปรับสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้ซื้อโดยราคาจะเพิ่มขี้นอย่างรวดเร็วจนกว่าจะเจอแนวต้านใหม่ ดังนั้น แนวป้องกันเส้นที่สองหรือเส้น A 2 ก็คือแนวต้านของราคาที่อยู่สูงขึ้นไปนั่นเอง
รูปที่ 6-4 สงครามสนามเพลาะ
กองทัพ B อาจฝ่าแนวต้าน A2 ได้โดยง่าย แต่แนวต้านถัดไปนั้นยิ่งไกลออกไปอีกจนไม่มีเวลารวบรวมกำลังพล ยิ่งห่างก็ยิ่งยืดเยื้อและมีโอกาสถูกตีโต้กลับมาอย่างรุนแรงเมื่อไปถึงแนวป้องกันนั้น ดังนั้นในบางครั้งมันจึงดูเข้าท่ากว่าถ้าจะรอและรวบรวมกำลังพลก่อน
ในกรณีที่ราคาในตลาดการเงินเพิ่มขึ้นมากเกินไปโดยไม่มีเวลาไตร่ตรองว่าใครได้ผลประโยชน์ คุณก็มีโอกาสที่จะเจอกับการกลับตัวของราคาอย่างรุนแรงอย่างที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว นี่เป็นคือการประยุกต์ใช้กฎข้อที่สองที่ว่าด้วยการระบุความสำคัญของระดับแนวรับ/แนวต้านที่ได้อธิบายไว้ในบทที่ 3
แนะนำ Reversal Rectangle และเงื่อนไขทางจิตวิทยาที่สนับสนุนการฟอร์มรูปแบบราคาของมัน
Trading range ที่แยกแนวโน้มราคาขาขึ้นและขาลงออกจากกัน ซึ่งเราจะพูดถึงในบทนี้เป็นรูปแบบราคาที่เรียกว่ารูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า Rectangle ซึ่ง ในรูปที่ 6-5 เป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ระบุจุดกลับตัว (turning point) ระหว่างระยะตลาดกระทิงและตลาดหมี ที่เรียกว่ารูปแบบการกลับตัวซึ่งสัญญาณกลับตัวจะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อราคาทะลุผ่านเส้นแนวโน้มตามขวางที่เป็นแนวรับไปได้อย่างสมบูรณ์
รูปแบบการกลับตัวที่จุดสูงสุดของตลาดเรียกว่ารูปแบบการแจกจ่าย ( Distribution) เพราะเป็น “การแจกจ่ายหุ้น” จากนักลงทุนที่แข็งแกร่งและมีข้อมูลของหลักทรัพย์ไปสู่นักลงทุนที่อ่อนแอและไม่มีข้อมูลดังกล่าว ในเชิงจิตวิทยาก็คือในระหว่างการฟอร์มตัวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข่าวสารต่างๆ ที่ปล่อยออกมาจะมีแต่ข่าวดี พอนักลงทุนที่ไม่มีข้อมูลได้ยินข่าวเป็นครั้งแรกก็จะแห่กันเข้าซื้อ ในช่วงเวลานี้ การคาดการณ์ต่างจะดูสวยงามไปหมดและมีการรับรู้ความเสี่ยงจากด้านซื้อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรทุกธุรกรรมต้องมีครบทั้งสองฝ่ายคือผู้ซื้อและผู้ขาย สำหรับส่วนของผู้ขายหรือผู้จัดจำหน่ายนั้นมีการซื้ออย่างระมัดระวังบนแนวโน้มขาขึ้นตามที่คาดการณ์ว่าจะมีข่าวดีเอาไว้ก่อนแล้ว จนกระทั่งถึงเวลาขายเมื่อข่าวดีเริ่มมีความชัดเจน แน่นอน คงไม่มีใครที่จะเป็นผู้ซื้อได้ดีไปกว่านักลงทุนที่ไม่มีข้อมูลและได้ยินข่าวดีพวกนี้เป็นครั้งแรกหรอก! พฤติกรรมเช่นนี้เป็นการแสดงออกที่รู้จักกันดีว่าเป็นการ "ซื้อหุ้นตามข่าวลือ ขายหุ้นเมือมีข่าวจริงปรากฏ" หรือ buy on the rumor, sell on the fact นั่นเอง
------ จบบทความแปล Price Pattern ตอนที่ 13 ,www.chiangmaiFX.com ------