จากเหตุน้ำมันรั่วไหลในโครงการมอนทารา เมื่อปี 2009 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทะเลติมอร์ถึงร้อยละ 90 ดังนั้นรัฐบาลอินโดฯ จึงสั่งอายัดใบอนุญาติและทรัพย์สินของ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ในอินโดนีเซียทั้งหมดเป็นการชั่วคราว
บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ดำเนินธุรกิจด้านการสำรวจและผลอตปิโตรเลียมทั้งภายในและต่างประเทศ ธุรกิจขนส่งก๊าซทางท่อ และการลงทุนในธุรกิจต่อเนื่องกัน
โดยปัจจุบัน PTTEP ถือสัดส่วนร้อยละ 11.5 ในโครงการ Natuna Sea A ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติทั้งหมดประมาณ 217 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ามันดิบประมาณ 1,449 บาร์เรลต่อวัน โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 ของปริมาณการขายทั้งหมดของบริษัท
ความเสี่ยงของ PTTEP ?
การอายัดใบอนุญาติและทรัพย์สินของ PTTEP ในอินโดฯ ยังต้องติดตามกันต่อไปว่าจะนำไปสู่การจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ? - คาดว่าค่าเสียหายกว่า 152 ล้านเหรียญเหรียญสหรัฐฯ
จากกราฟราคาหุ้น PTTEP เปิดตลาดหุ้นช่วงเช้าวันที่ (6/12/59 ในช่วงเวลา 12.30 น.) ราคาหุ้นปิดลบไปอยู่ที่ประมาณ 87.25 บาท (-2.25 บาท หรือ -2.51%) สะท้อนถึงความตกใจของนักลงทุนที่มีต่อเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นมาทะลุ 50 เหรียญฯ ก็ตามที
ความคิดเห็นนักวิเคราะห์ ?
บล. Maybank KimEng ได้ประเมินมูลค่าเบื้องต้นทางบัญชีของโครงการ ผลกระทบจากการผลิตของโครงการนี้จะอยู่ที่ประมาณ 2-300 ล้านบาท หรือส่งผลกระทบต่อหุ้น PTTEP ตกอยู่ที่ประมาณ 2 บาทต่อหุ้น
ทางด้านความเห็นของผู้บริหาร PTTEP ?
แต่อย่างไรก็ตาม ทางด้านประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย แจ้งว่า ข่าวในสื่ออินโดนีเซียเกี่ยวกับการระงับการดำเนินงานของบริษัทในประเทศอินโดนีเซียนั้น
ในขณะนี้บริษัทยังไม่ได้รับแจ้งจากรัฐบาลอินโดนีเซียในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
เพราะฉะนั้นแล้ว นักลงทุนติดตามกันต่อไปราคาหุ้นจะปรับตัวลดอีกหรือไม่ เนื่องจากราคาปรับตัวลดลงมาหลายปีแล้วตามผลประกอบการที่ลดลง จนขาดทุนเมื่อปี 58 ก่อนที่จะเพิ่งกลับมาเริ่มดีขึ้นในปีนี้
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : SET, บทวิเคราะห์ MaybankKimeng,
http://en.tempo.co/read/news/2016/12/04/055825271/Government-Freezes-PTTEP-Licenses