ห้องเม่าปีกเหล็ก

เจาะโมเดลธุรกิจ SNP ความอร่อยในยุคดิจิตอล

โดย SiTh LoRd PaCk
เผยแพร่ :
54 views


เจาะโมเดลธุรกิจ SNP ความอร่อยท่ามกลาง
ที่มาภาพ : https://www.facebook.com/snpfood

 

เจาะโมเดลธุรกิจ SNP ความอร่อยในยุคดิจิตอล กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันจากการฟังรายการย้อนหลัง

ลักษณะธุรกิจ
ธุรกิจร้านอาหารและร้านเบเกอรี่ รวมทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น 1) ร้านอาหารและร้านเบเกอรี่ในประเทศ 2) ร้านอาหาร ในต่างประเทศ 3) ผลิตและจำหน่ายสินค้าเบเกอรี่ อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ผ่านสาขาร้านอาหารและเบเกอรี่ และซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ 4)ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น บริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน และบริการรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่

 

ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- S&P นี้บริษัทเก่าแก่มากๆน่าจะ 40-45 ปี ได้แล้วมั้งครับ ผมไปกินตั้งแต่ผมยังเรียนหนังสืออยู่เลย

- ปัจจุบันมี 490 สาขา มีสาขาในต่างประเทศ 25 สาขา ใน 7 ประเทศ


- ที่น่าสนใจ อาหารและเบเกอร์รี่คิดเป็น 77% ของรายได้ทั้งหมด โตปีละ 4% รายได้จากอาหารแคเทอริ่งโตปีละ 5% โตเท่ากับ GDP ของประเทศไทย


- ผมมองว่าธุรกิจของ S&P โตตามเศรษฐกิจของประเทศไทย


- ตัว Gross profit margin ของเขาโต 45% อยู่ในระดับที่ดีเลย


- EBIT Margin เหลือแค่ 5% หายไปเยอะมากเกือบ 40% บ่งบอกว่าค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าโปโมชั่น ค่าเช่าสถานที่สูงมาก และเพิ่มขึ้นด้วย จุดท้าทายของบริษัทคือจะเพิ่ม EBIT Margin อย่างไร สามารถลดค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ได้เท่าไร


- Gross Profit Magin ของเขาควบคุมได้ดี ดูย้อนหลังแล้วเขาก็อยู่ไต่ระดับ 45-47% มาโดยตลอด


- น่าเสียดายที่ว่า รายจ่ายของบริษัทโตเร็วกกว่ายอดขายของบริษัท ทำให้ EBIT Margin เหลือเพียงนิดเดียวเท่านั้น


- จุดท้าทายของบริษัทข้อแรก คือ เราจะสามารถลดรายจ่าย ลดค่าบริหาร ลดค่าเช่าพื้นที่ได้อย่างไร ?


- ในต่างประเทศคิดเป็น 12% ของรายได้ทั้งหมด ที่ผ่านมารายได้ลดลงด้วย อาจจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจในต่างประเทศ และคู่แข่งที่เปิดเพิ่มมากขึ้น


- นอกจากจะต้องลดรายจ่ายแล้ว บริษัทจำเป็นจะต้องสรรหาอะไรใหม่ๆไม่ว่าจะเป็นอาหาร เบเกอร์รี่ เครื่องดื่มใหม่ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทให้ได้


- EBIT Margin ของ S&P ถอยลงเรื่อยๆ จึงไม่สามารถวางตัวธุรกิจเป็น Growth stock ได้ บริษัทต้องหา S Curves ใหม่ๆเพื่อให้บริษัทเติบโต


- ROA ของบริษัทอยู่ที่ 14-22% ถือว่าสูงในกลุ่มอาหาร ROE อยู่ 18-27%


- ข้อดีของบริษัท คือ วงจรเงินสด ติดลบ หมายถึงเป็นธุรกิจเงินสด ขายของแล้วได้เงินมาเลย มีสภาพคล่อง


- ถึงแม้ว่าบริษัทจะไม่ได้ Growth แต่เรามองเป็นบริษัทแข็งแกร่ง กระแสเงินสดดี และมีปันผลที่ดีระดับหนึ่ง


- สิ่งที่ตลาดมองหา คือ การหาการเติบโตรอบใหม่ๆ ถ้าบริษัทรักษาระดับการเติบโตระดับนี้ไว้ และลดรายจ่าย ตลาดจะให้มูลค่าตัวหุ้นมากกว่านี้


- ผมมองว่าบริษัทเขาเก่าแก่ มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานคงจะเข้าใจถึงความต้องการผู้บริโภคได้อย่างดี ตรงนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบ


- นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิดถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ผมมองเป็นหุ้นปันผล ที่ต้องมองหาการเติบโตใหม่ๆ ราคาปัจจุบันเป็น "Fair Price" ครับ

 

ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- ภาพรวมของอาหารเป็นธุรกิจที่แข่งขันสูงมาก ดูจากห้างสรรพสินค้า เปิดกันมากมายบางทีทั้งชั้นมีแต่อาหาร

- ภาพลักษณ์ของอาหารเน้นรุ่นเก่า ภาพเก่าๆคล้ายๆป้าใจดีคนหนึ่ง แต่เด็กรุ่นใหม่เขารู้สึกเฉยๆ ไม่โดนใจ รู้จักเฉพาะคนรุ่นเก่าๆเท่านั้น


- คนรุ่นเก่าเดียวนี้รักษาสุขภาพมากขึ้น หรือไม่ก็เสียชีวิตไปตรงนี้จะทำให้รายได้น้อยลงเรื่อยๆ กินน้อยลง จะกินเบเกอร์รี่ที่มีไขมันมาก มีความหวาน มันก็อาจจะไม่ตอบโจทย์


- ภาพรวมของเบเกอร์รี่ มีคู่แข่งมากหลาย ถามว่า S&P อยู่ตรงตำแหน่งไหน ล่างไหม? บนหรือเปล่า? ก็ไม่ใช่ อาจจะเป็นกลาๆงถึงบน เพราะเดียวนี้ใครๆก็ทำเบเกอร์รี่ได้ ห้างร้าน โลตัส บิ๊กซี เขาก็มาทำเอง ถูกด้วย


- นอกจากเบเกอร์รี่จะสู้ด้วยกันแล้ว ยังมีคู่แข่งพวกขนมหวานต่างๆ ไอศกครีม ที่จะคอยมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดด้วย


- ต้นทุนในการบริหารร้านเป็นอะไรที่สำคัญ ร้านที่คนไม่แน่นจะแย่ลงเรื่อยๆ เพราะมีต้นทุนคงที่ค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงาน


- ผมรู้สึกเป็นห่วงในเรื่องของยอดขายที่คงตัวแทบจะไม่โตมาก ในขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นมาก ค่าจ้าง ค่าเช่าที่ จนทำให้กำไรตรงบรรทัดสุดท้ายเหลือน้อยมากๆ


- ธุรกิจแคเทอริ่ง เดียวนี้คู่แข่งก็สูง เราจะหวังว่าธุรกิจนี้เติบโต เขาก็มีรายใหญ่ของเขาอยู่ ครบวงจรพร้อมทำ พร้อมส่งภายในกี่นาทีเยอะแยะมาก เติบโตมากไม่ได้หรอกเพราะคุณไม่ได้โดดเด่น แตกต่าง หรือเป็นคนเดียวที่ทำ


- ในอดีต S&P เขาเป็นเบอร์ 1 นะ แต่เดียวนี้มันเยอะมากร้านขายขนม ถามว่าเขาเป็นเบอร์ 1 ไหม ผมเองก็ไม่แน่ใจ

เบเกอร์รี่ของ SNP เน้นที่ความสดใหม่ น่ากิน และยังมีธุรกิจกาแฟสดอย่าง Blue Cup
ที่มาภาพ : https://www.facebook.com/snpfood


- บริษัทต้องหาโปรดักส์ใหม่ๆที่ออกมาแล้ว โดนใจวัยรุ่น หาจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่เวลาพูดถึงขนมต้องนึกถึง S&P

- ผมว่าลักษณะการกินของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไป อย่างเมื่อก่อนคนกินเพราะอร่อย จึงไปกิน แต่เดียวนี้ไม่ใช่ คนรุ่นใหม่มองหาร้านสวยๆ อาหารสวยๆ ถ่ายรูปลงโซเชียวโชว์ได้ ผมว่าต่อไป S&P ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงคนรุ่นใหม่ๆเขาจะลืมไปได้


- ที่จริงธุรกิจอาหารเป็นพวก "เกิดง่าย ตายง่าย" เกิดกันเยอะ เสียหายกันก็มาก แข่งขันสูง


- นาทีนี้ บริษัทเข้มแข็งระดับหนึ่ง วงจรเงินสดก็ดี มีปันผลด้วย ก็ไม่ได้แย่อะไร


- S&P มีธุรกิจหลากหลาย ยิ่งมีหลากหลายมากยิ่งไม่ดี ผมมองว่ามีมากแสดงถึงคุณไม่เด่นอะไรซักอย่างเลย ในธุรกิจอาหารคุณจำเป็นจะต้องเชี่ยวชาญอะไรเป็นพิเศษ เช่น จะกินอาหารญี่ปุ่นเรานึกถึงอะไร กินขนมต้องร้านนี้ ดื่มกาแฟต้องร้านนี้ ไม่ใช่เอาทุกอย่าง อาหารก็มี เบเกอร์รี่ก็มี กาแฟก็มี


- แต่ข้อดีของธุรกิจอาหาร คือ กินแล้วกลับมากินอีก คนไม่มีทางเลิกกินอาหาร ยังไงก็ต้องกินต่อไป เทคโนโลยีไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการกินของมนุษย์ได้


- ผมว่าหุ้นนี้อิ่มตัว มีความแข็งแกร่ง มีปันผล แต่ถ้าในระยะยาวแล้วมันจะแย่ลงเรื่อยๆถ้าบริษัทไม่เปลี่ยนแปลง แบรนด์ผ่านการเติบโต ความแข็งแกร่งไปแล้ว ต้องหาสิ่งใหม่ๆเข้ามาเพื่อให้โดนใจวัยรุ่น หรือผู้มีกำลังซื้อ


- ธุรกิจต่างประเทศ ผมมองว่าเขายังไม่แข็งแกร่งพอ หรือ Stable พอ พอดูงบย้อนหลังแล้วกลายเป็นยิ่งทำ ยิ่งแย่ หรือเปล่า ทำแล้วกำไรลดลงเรื่อยๆไม่ได้มาช่วยอะไรกับบริษัทเลย

--------------------------------------------------

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model รายการ Money Channel : SNP ความอร่อยในยุคดิจิตอล

ดูฉบับเต็มได้ที่นี้เลยครับ


SiTh LoRd PaCk