ห้องเม่าปีกเหล็ก

TOP 10 งบไตรมาส 3 กลุ่มธนาคาร

โดย Vira
เผยแพร่ :
51 views

TOP10 งบไตรมาส 3 กลุ่มธนาคาร

 

                หลังจากที่งบไตรมาส 3  ทยอยออกมา วันนี้จะขอชักชวนนักลงทุนทุกท่านมา อัพเดตงบการเงินกลุ่มธนาคารไตรมาส 3  ที่เพิ่งออกมาสดๆร้อนๆกัน โดยทั้ง 10 ธนาคาร ถือเป็น Top 10 กิจการที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากธุรกิจธนาคาร มีงบการเงินที่ซับซ้อนและค่อนข้างต่างจากธุรกิจอื่นๆค่อนข้างมาก อัตราส่วนที่สำคัญสำหรับกิจการอื่น เช่น D/E ROE ROA อาจไม่ใช่ค่าที่มีนัยสำคัญสำหรับธุรกิจธนาคาร ดังนั้น จึงขอวิเคราะห์ผ่าน เกณฑ์ ได้แก่ กำไรสุทธิ มูลค่าNPL การตั้งสำรองหนี้สูญ และเงินปันผล

 

กำไรสุทธิ 9 เดือน

 

 

 

              ในส่วนกำไรสุทธิ 9 เดือน  SCB มีกำไรมากที่สุด 33,953 ล้านบาท รองลงมา คือ KBANK ตามมาที่ 28,631 ล้านบาท การที่ SCB มีกำไร มากกว่า เกิดจากการที่บริษัทมีการปล่อยกู้ที่มากกว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ของSCBเป็นบริษัทขนาดใหญ่ หลายๆบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ KBANK ในอันดับที่2 จะเน้นไปที่สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ต่อไปเราจะมาดูกันในส่วนของอัตรากำไรสุทธิ ขณะที่อัตราการเติบโตของกำไร ลดลงประมาณ 12% ทั้งสองบริษัทและโดยเฉลี่ยแล้ว ทั้ง10 บริษัทมีกำไรสุทธิลดลง เทียบปีต่อปี 9%

 

 

 

               ในส่วนของกำไรสุทธิเฉพาะ ไตรมาส 3/60 3 อันดับแรกยังคงเป็น SCB KBANK BBL อัตรากำไรสุทธิแสดงถึงการจัดการต้นทุนทั้งในแง่ของต้นทุนในการจัดหาเงิน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและจำนวนเงินที่ปล่อยกู้ รวมถึงรายได้จากการค้าเงินตราต่างประเทศ

 

 

 

                NPL คือ สินเชื่อที่ไม่ก่อเกิดรายได้ การให้สินเชื่อ จัดชั้นต่ำกว่ามาตราฐาน  หนี้สงสัย, สงสัยจะสูญ และสูญ ตามหลักเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์ รวมถึง ลูกหนี้ จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี ดังนั้น  NPL เป็นค่าที่ยิ่งน้อยยิ่งดี แต่จะต้องเทียบกับกิจการที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เพราะหากกิจการมีการปล่อยกู้น้อย NPL ก็จะน้อยกว่าเป็นธรรมดาจะสังเกตได้ว่า LHBANK มีจำนวนน้อยที่สุด จึงขอเปรียบเทียบ เทียบ ด้วย yoy LHBANK กลับมีการเพิ่มขึ้นของ NPL สูงที่สุด จากกราฟด้านบนจะเห็นได้ว่า แนวโน้ม NPL แทบทุกธนาคารพุ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบ yoy

 

 

 

 

               การตั้งสํารองหนี้สูญ คือ รายการที่ประเมินแล้วว่ากิจการอาจจะไม่ได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้การค้า จึงต้องทำการตั้งสำรองส่วนนี้ไว้ ซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งดังนั้นธนาคารมีแนวโน้มที่จะไม่ตั้งสำรองยกเว้นต่จะมั่นใจว่าหนี้จะสูญจริงๆ เนื่องจากการตั้งสำรองถือเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง ทำให้กำไรสุทธิลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องตั้งหลักเกณฑ์เพื่อให้การตั้งสำรองสะท้อนความเป็นจริง และเป็นมาตฐานเดียวกันของอุตสาหกรรม จากกราฟจะเห็นได้ว่าการตั้งสำรองหนี้สูญมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับ NPL และสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉลี่ยแล้ว 17.64% โดย KBANK มีการตั้งสำรองมากที่สุด โดยส่วนตัวผู้เขียนเห็นว่า เป็นเพราะลูกค้าของธนาคารเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวนไม่น้อยที่เป็นธุริจเกิดใหม่ ทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงมากขึ้น

 

 

                ในแง่ของ อัตราส่วนเงินปันผล เทียบราคาปัจจุบัน สูงสุด คือ KTB ที่ 4.67% ตามมาด้วย  TISCO ที่ 4.11% ในภาพรวมแล้วอุตสาหกรรมนี้จะจ่ายปันผลไม่มากนัก เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นในตลาดฯ และเป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างซับซ้อน และผลประกอบการมีความเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจมหภาคมาก แต่เป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง เพราะผู้เล่นรายใหม่ๆเข้ามาได้ค่อนข้างยาก และมีการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมสูง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ที่ต่างกันมาก ทำให้ได้กำไรค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับธุรกิจธนาคารในประเทศอื่นๆ

 

 

 

- Vira -

หมายเหตุ :  ข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์อ้างอิง วันที่  25.10.2017 จากเว็บไซต์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , นิตยสารการเงินการธนาคาร , ประชาชาติธุรกิจ และไม่ได้มีเจตนาชี้นำการลงทุนใดๆ

 

 


Vira