พิพาท ไทย-กัมพูชา ยิ่งยืดเยื้อยิ่งเจ็บ
ความขัดแย้งที่มีการค้ามูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาทเป็นเดิมพัน

การค้าที่ต่างส่งเสริมกัน
ทศวรรษที่ผ่านมา การค้าระหว่างไทย-กัมพูชา เติบโตต่อเนื่อง
สินค้าที่แลกเปลี่ยนมีลักษณะส่งเสริมกันตามความถนัดของแต่ละประเทศ
ปี 2567 มูลค่าการค้า 3.7 แสนล้านบาท ขยายตัวถึง 32.1% (ราว 2% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย)
การส่งออก: 3.2 แสนล้านบาท +45.8%
การนำเข้า: 0.4 แสนล้านบาท -22.5%
ไทยเกินดุลการค้ากัมพูชาสูงถึง 2.8 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเกินดุลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
เนื่องจากสินค้าไทยได้รับความนิยมค่อนข้างมากในกัมพูชา
ขณะที่ ส่วนใหญ่ไทยนำเข้าสินค้าเกษตร และวัตถุดิบ
สินค้าส่งออกดาวเด่นไปกัมพูชา
1. อัญมณีและเครื่องประดับ: 10.7 หมื่นล้านบาท +661.4% (33.0% ต่อการส่งออกทั้งหมดไปยังกัมพูชา)
2. น้ำมันสำเร็จรูป: 5.1 หมื่นล้านบาท -13.9% (15.8%)
3. น้ำตาลทราย: 1.7 หมื่นล้านบาท +39.0% (5.2%)
4. เครื่องดื่ม: 1.5 หมื่นล้านบาท +2.9% (4.6%)
5. เคมีภัณฑ์: 9.8 พันล้านบาท +13.2% (3.0%)
สินค้าส่งออก 5 อันดับแรก กินส่วนแบ่งเกิน 60% ของการส่งออกไปยังกัมพูชา
สินค้านำเข้าสำคัญจากกัมพูชา
1. สินแร่โลหะ เศษโลหะ: 11 พันล้านบาท +29.5% (24.9% ต่อการนำเข้าทั้งหมดจากกัมพูชา)
2. ผัก และผลไม้: 9.3 พันล้านบาท -0.4% (21.6%)
3. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ: 5.4 พันล้านบาท -75.1% (12.5%)
4. ลวดและสายเคเบิล: 3.6 พันล้านบาท -7.5% (8.4%)
5. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ: 2.9 พันล้านบาท +33.3% (6.8%)
สินค้านำเข้า 5 อันดับแรก กินส่วนแบ่งราว 75% ของการนำเข้าจากกัมพูชา
การค้าชายแดน-เส้นเลือดใหญ่ที่กำลังสั่นคลอน
การค้าชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชา มีสัดส่วนราว 50-60% ของมูลค่าการค้าระหว่างกันทั้งหมด
ปี 2567 มูลค่า 1.7 แสนล้านบาท +7.9%
การส่งออก: 1.4 แสนล้านบาท +7.5%
การนำเข้า: 0.3 แสนล้านบาท +9.8%
ไทยเกินดุลการค้าชายแดนกับกัมพูชาสูงถึง 1.1 แสนล้านบาท
เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ไทยเกินดุลการค้าชายแดนสูงสุด แม้จะมีมูลค่าการค้าต่ำที่สุด
สินค้าส่งออกชายแดนไทย: หลากหลายและกินวงกว้าง
สินค้าส่งออกชายแดน 10 อันดับแรก (สัดส่วน) ได้แก่ เครื่องดื่ม (5.3%) น้ำแร่น้ำอัดลมที่ปรุงรส (3.5%) ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (3.0%) เครื่องยนต์สันดาปภายใน (2.9%) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร (2.8%) อาหารปรุงแต่ง (2.6%) เครื่องจักรกล (2.4%) ยานพาหนะอื่น (2.1%) แร่และเชื้อเพลิง (2.0%) และสินค้าอุตสาหกรรมอื่น (1.9%)
สัดส่วนรวมกันไม่ถึง 30% สะท้อนถึงความหลากหลายของสินค้าที่กัมพูชานำเข้าจากไทย
ซึ่งมีตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงเชื้อเพลิงและยานยนต์
สินค้านำเข้าชายแดนสำคัญ
สินค้านำเข้าผ่านแดน 10 อันดับแรก ได้แก่ ผัก (24.7%) เศษอะลูมิเนียม (19.8%) ลวดและสายเคเบิล (10.9%) หลอดและท่อทำด้วยเหล็ก (6.5%) ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม (5.6%) เศษทองแดง (4.7%) ส่วนประกอบยานยนต์ (4.5%) มอเตอร์ไฟฟ้า (3.0%) เครื่องจักรไฟฟ้า (2.3%) ผลไม้ (2.0%)
มีสัดส่วนรวมกันเกือบ 85% โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร และสินค้าขั้นต้น
ความขัดแย้งปะทุ ปิดด่าน = ปิดโอกาส
ข้อพิพาทระหว่างสองประเทศเกี่ยวกับการรุกล้ำพื้นที่ชายแดนและการปะทะกันของทหารเกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายเดือน พ.ค. 68
ส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายต่างตอบโต้กันทางการฑูตและทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการค้า
มีการปิดด่านชายแดนหลายจุด ซึ่งเสมือนเป็นการตัดเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงการค้าระหว่างกัน
กัมพูชาดึงแรงงานกลับประเทศ งดนำเข้าน้ำมัน ก๊าซ และไฟฟ้า จากไทย รวมถึงมีแนวโน้มที่จะตัดสัมพันธ์ทางการค้าในระยะต่อไป
บทสรุป: หากไม่เร่งคลี่คลาย ไทยอาจเสียมากกว่า
หากความขัดแย้งต่อเนื่องยาวนาน คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อทั้งการค้าชายแดนและการค้าระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไทยที่เดิมได้ดุลการค้าค่อนข้างมาก
เศรษฐกิจตามตะเข็บชายแดนได้รับผลกระทบหนักทั้งสองฝ่าย ค้าขายซบเซา ท่องเที่ยวทรุด
รวมถึงการจ้างงานข้ามพรมแดนหยุดชะงัก
ผลกระทบเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการจัดการเชิงนโยบาย
ทั้งในด้านการเจรจา การช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ
รวมถึงการกระจายโอกาสทางการค้าไปยังตลาดใหม่รองรับความเสี่ยงกรณีเกิดปัญหาอีกในอนาคต
เพื่อป้องกันไม่ให้บริบททางการเมืองทำลายศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวของทั้งสองชาติ
.
เรื่องและภาพ: สราลี วงษ์เงิน Economist, Bnomics
════════════════
เนื้อหาที่มาจาก.. Bnomics by Bangkok Bank