Gunkul หันมาทำธุรกิจพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นขุมพลังแห่งใหม่ที่จะขับเคลื่อนมูลค่าของบริษัทในระยะยาว
ขอบคุณที่มาภาพ (www.gunkul.com)
เจาะโมเดลธุรกิจ GUNKUL พลังงานทดแทนครบวงจร กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันจากการฟังรายการย้อนหลัง
ลักษณะธุรกิจ
1. ธุรกิจผลิต จัดหา และจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับระบบไฟฟ้าในประเทศและต่างประเทศ-
2. ธุรกิจผลิต จัดหา และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน-ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนทั้งในประเทศและต่างประเทศ-ธุรกิจก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน-
3. ธุรกิจการให้บริการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า
"นักลงทุน มองหุ้น GUNKUL เติบโต ราคาก็สะท้อน Growth ของธุรกิจไปแล้ว"
ขอบคุณที่มาภาพ : รายการ Business Model ทางช่อง Money Channel
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- โครงสร้างรายได้ของ GUNKUL เปลี่ยนไปมาก เมื่อก่อนเป็นเทรดดิ้งคอมพานี ตอนนี้กลายมาเป็นรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการลงทุนพลังงานทางเลือก
- เป้าหมายในอีก 5 ปี ทาง GUNKUL ตั้งเป้าว่าจะมีพลังงานไฟฟ้าอยู่ไม่ต่ำกว่า 500 MW
- การวิเคราะห์ GUNKUL จำเป็นจะต้องทราบว่าตอนนี้บริษัทมีกี่ MW อยู่ในมือ
- GUNKUL มี adder อยู่ที่ 8 บาท ถือว่าสูงมาก
- พลังงานทางเลือกของ GUNKUL เติบโตอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมีทั้งในประเทศไทยและญี่ปุ่น พลังงานโซล่าร์และพลังงานลม
"Net margin อยู่ในระดับ 18% ถือว่าสูงพอสมควร กำไรดี "
ขอบคุณที่มาภาพ : set.or.th
- พลังงานทดแทนเป็นธุรกิจที่ไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดได้สม่ำเสมอ เช่น พลังงานลม จะสร้างเฉพาะฤดูกาลที่ลงแรงเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสียของธุรกิจพลังงานทดแทนเลยก็ว่าได้
- นักลงทุน มองหุ้น GUNKUL เติบโต ราคาก็สะท้อน Growth ของธุรกิจไปแล้ว
- ณ ตอนนี้ GUNKUL มี MW ตามสัดส่วนอยู่ที่ 175 MW ถ้าเป็นไปตามความคาดหวังบริษัท Growth จะอยู่ที่ 20-30%
- P/E ratio ของบริษัทค่อนข้างสูงไปนิดนึง สะท้อนการเติบโตของบริษัทไปแล้ว
"เมื่อ 3 ปีก่อน ธุรกิจพลังงานทดแทนเป็นเรื่องน่าสนใจมาก แต่ตอนนี้รู้สึกว่ามันเยอะเกินไป "
ขอบคุณที่มาภาพ : รายการ Business Model ทางช่อง Money Channel
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- เท่าที่ดูตัวเลขในอดีต GUNKUL เป็นบริษัททีม่ี Low margin และ Low Profit แต่หลังจกาเขาเปลี่ยน Business Model โครงสร้างการเงินของเขาก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
- ธุรกิจเทรดดิ้ง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ผมรู้สึกเฉยๆ ไม่มีความโดดเด่นอะไร ตัดราคากันเยอะ กำไรน้อย ธุรกิจไม่โต
- เมื่อ 3 ปีก่อน ธุรกิจพลังงานทดแทนเป็นเรื่องน่าสนใจมาก แต่ตอนนี้รู้สึกว่ามันเยอะเกินไป คนทำกันเยอะ ราคาหุ้นกันหลายร้อยเปอร์เซนต์
- การไปทำโซล่าร์ที่ญี่ปุ่น ผมคิดว่าเราจะไปหวังกำไรมากๆ คงเป็นไปได้ยาก
- ณ ตอนนี้ ผมเองก็ไม่แน่ว่า GUNKUL ไปลงทุนพลังงานทดแทนจะกำไรดีขนาดไหน adder ได้นานขนาดไหน ราคาเท่าไร หรือแม้แต่รับเหมาก่อสร้างจะได้ราคาที่เห็นกำไรหรือเปล่า ตรงนี้ผมไม่แน่ใจ ส่วนที่ญี่ปุ่น ผมก็ว่ากำไรไม่ได้เยอะมากนะ แต่ราคาหุ้นเล่นกันไปไกลแล้ว
- ผมคิดว่านักลงทุนเข้าใจผิดไปนะ ว่าบริษัทไหนทำพลังงานทดแทน กำไรจะเยอะมาก ผมว่าธุรกิจพลังงานทดแทนเป็นธุรกิจธรรมดา ที่เหมาะแก่การกินปันผลระยะยาว ที่สร้างผลตอบแทนพอประมาณมากกว่าที่จะคาดหวังว่าจะเป็นธุรกิจเติบโตสูง
- ธุรกิจรับเหมาพลังงานไฟฟ้า เป็นธุรกิจที่ไม่มี Value Added คือไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ กำไรน้อย
"PE 45 เท่า นักลงทุนให้ Value กับหุ้นตัวนี้สูงมาก! "
ขอบคุณที่มาภาพ : set.or.th
- ส่วนตัวคิดว่า P/E อยู่ที่ 50 เท่า การเติบโตอาจจะไม่ทันกับสิ่งที่นักลงทุนให้มูลค่า
- ผมได้ยินว่าแผงโซล่าร์ราคาถูกลงเรื่อยๆ ทำให้ต้นทุนของบริษัทที่รับผลิตไฟฟ้ากำไรดีขึ้น แต่อนาคตผมเองไม่แน่ใจว่าราคามันจะลงอีกไหม ถ้าลงอีกก็ถือว่าเป็นบวกกับบริษัท แต่ด้วย P/E ที่ค่อนข้างสูง บริษัทอาจจะสะท้อนสิ่งดีๆของบริษัทไปแล้ว
- ตอนนี้ตลาดหุ้นให้ภาพว่า พลังงานสะอาดทดแทน ดีมากๆ ซึ่งต้องดูต่อไปว่ามันจะดีจริงไหม ดีตามคาดหรือเปล่า ..
--------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model รายการ Money Channel : เจาะโมเดลธุรกิจ GUNKUL พลังงานทดแทนครบวงจร
ดูคลิปฉบับเต็มได้ที่นี้ครับ