ห้องเม่าปีกเหล็ก

ลงทุนอย่างไรเมื่อบาทอ่อน

โดย Edrink
เผยแพร่ :
51 views
 
 
#investment ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 จาก 2 เหตุผลหลักได้แก่
 
1) ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิด Twin Deficit หรือ ขาดดุลแฝด
2) อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายต่ำ
.
.
บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ BoT เริ่มเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทและ BoT อาจจะจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดเพื่อชะลอการอ่อนค่าของค่าเงินบาท แม้ภาระหนี้สินภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง จึงสรุปกลยุทธ์ได้ดังนี้
 
1) เลือกลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า
2) ลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
3) ลงทุนในหุ้นที่มี IBD/E ต่ำ หรือ Net Cash Company 4) ระมัดระวังหุ้นที่มีสัดส่วนรายได้จากสินค้าฟุ่มเฟือย
5) ระมัดระวังการลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาฯ
.
.
นอกจากนี้ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ออกบทวิเคราะห์ “บาทอ่อน…กดดันให้ BoT อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด” หลังจากประเมินว่า
ขาดดุลแฝด (Twin Deficit) คือสถานการณ์ที่เกิดภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และขาดดุลการคลังพร้อมกัน โดยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเกิดจากการนำเข้าสินค้า + เม็ดเงินของนักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยวต่างประเทศ มีมากกว่าการส่งออก + เม็ดเงินนักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวไทย โดยล่าสุดสภาพัฒน์คาดการณ์ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ในปี 2565 ที่ระดับ -1.5% ต่อ GDP
.
.
ขณะที่การขาดดุลการคลังเกิดจากรัฐบาลมีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายรับ โดยในปีงบประมาณ 2565 (1 ต.ค. 2564 – 30 ก.ย. 2565) สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณขาดดุลที่ 7 แสนล้านบาท และปีงบประมาณ 2566 (1 ต.ค. 2565 – 30 ก.ย. 2566) มีการคาดการณ์ว่ารัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณที่ระดับ 6.95 แสนล้านบาท
.
.
บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เริ่มเห็นการแทรกแซงค่าเงินบาทของ BoT หลังจากค่าเงินบาทอ่อนค่าราว 3.55% YTD และ 3.96%QTD สะท้อนจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ -7.92% Ytd และ -5.72%MoM (As of 30 Apr-22) และประเมินว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 3 เนื่องจาก
 
1) ประเทศไทยมีโอกาสเกิด Twin Deficit หรือการขาดดุลแฝด และ
2) อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูงราว 4.5%YoY-5.5%YoY
.
.
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำเพียง 0.5% ซึ่งจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทของ BoT สะท้อนให้เห็นว่า BoT เริ่มให้ความสำคัญกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเร็วเกินไป เราจึงประเมินว่า BoT อาจจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1 ครั้ง เพื่อพยุงค่าเงินบาทในการประชุมเดือน ก.ย. 65 หรืออย่างช้าในการประชุมเดือน พ.ค. 65 เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าบางชนิด โดยเฉพาะน้ำมันที่ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าสุทธิ ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับสูง ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง รวมถึงต้นทุนในการดำเนินกิจการของภาคเอกชนทั้งในแง่ของต้นทุนสินค้า และต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น
.
.
ลงทุนอย่างไรในสถานการณ์แบบนี้??
 
1. ลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชนจ์ากค่าเงินบาทอ่อนค่า กลุ่มส่งออกอาหาร และ กลุ่มท่องเที่ยว (CPF, TU, MINT)
 
2. ลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชนจ์ากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น กลุ่มธนาคาร เนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น จะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้น (KBANK)
 
3. ลงทุนในหุ้นที่มี IBD/E ต่ำหรือ Net Cash Company : เนื่องจากเป็นหุ้นได้ที่รับ ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยต่ำ (M, HUMAN, MAJOR)
 
4. ระมัดระวังหุ้นที่มีสัดส่วนรายได้จากสินค้าฟุ่มเฟือย เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ถูกกดดันจากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง และดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกระทบกับผู้มีภาระหนี้ ทำให้ประเมินว่าผู้บริโภคต้องลดการจับจ่ายใช้สอยในสินค้าฟุ่มเฟือย
 
5. ระมัดระวังการลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เพราะหาก BoT ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น จะส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้ออสังหาฯ
 
 

Edrink