ห้องเม่าปีกเหล็ก

[มือใหม่] หุ้นปั่นคืออะไร รู้ไว้ไม่เจ๊ง

โดย Pnatv
เผยแพร่ :
52 views

กริ่นนำ ว่าด้วยเรื่อง ?หุ้นปั่น? ได้ยินแล้วตื่นเต้น มันอาจทำให้หลายคนเลือดสูบฉีด ประมาณว่า ?อยากโดนเข้าไปแจม? ?อย่างไรก็ตามขึ้นชื่อว่าปั่น ย่อมมีทั้งคนที่ได้และคนที่เสีย ?ตลาดหุ้น? ใครๆก็รู้ว่ามันเป็น Zero sum game คือ ต้องมีคนนึงได้ และมีอีกคนนึงเสียเสมอ

?แต่มันเป็นเช่นนั้น จริงหรือ? ..หากผมจะกล่าวว่า ?คุณคิดผิด? ตลาดหุ้นไม่ใช่ Zero sum game แต่มันเป็นเกมของ ?win ?win? ล่ะคุณจะว่าอย่างไร

เรามาดูกันว่า การรับรู้กำไรหรือขาดทุน ของนักลงทุน หรือนักเก็งกำไร มีอยู่ทางเดียว ..นั่นก็คือ การขายหุ้นเท่านั้น ?คุณไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเลยว่า คุณกำไรหรือขาดทุน หากคุณยังถือครองหุ้นนั้นๆอยู่ เพราะราคามันสามารถขึ้นลงได้ทุกนาทีที่ตลาดเปิด

โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะมีความเชื่อที่ว่า ?หุ้นจะขึ้นลงตาม ผลประกอบการ? แต่นั้นเป็นความคิดที่อันตรายที่สุด เท่าที่ผมเคยได้ยินมาในการลงทุน

?เพราะ แท้จริงแล้ว หุ้นมันขึ้นลงตาม Demand & Supply ต่างหาก (ถ้า Classifies ให้ชัด หุ้นก็ไม่ต่างจาก Commodity ชนิดอื่นๆ ที่ขึ้นลงตามความต้องการของคนซื้อและคนขาย แต่สิ่งที่ทำให้หุ้นต่างจาก Commodity ชนิดอื่นๆ เนื่องจาก หุ้นมันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องใช้ ..ซึ่งต่างจาก Commodity อื่นๆ ที่มักจะเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบในการผลิต จุดนี้ส่งผลให้หุ้นมีความผันผวนที่สุดโต่งกว่า Commodity ธรรมดานั่นเอง)

อย่างที่กล่าว ก็คือ ?หุ้นไม่ใช่สิ่งจำเป็นของชีวิต ดังนั้น คนที่เข้ามาซื้อหุ้นมีวัตถุประสงค์ ไม่ใช่ที่การบริโภค

(หุ้น มันบริโภคไม่ได้ เพราะมันเป็นแค่สิทธิในการเป็นเจ้าของกิจการ --- ไม่ใช่สิ่งที่บริโภคเข้าไปได้!!) วัตถุประสงค์ของการซื้อหุ้นจริงๆเลย ...ก็คือซื้อเก็งกำไร ซึ่งแบ่งออกเป็น การเก็งกำไรในระยะสั้น และการเก็งกำไรในระยะยาว (ซึ่งหลายคน ให้นิยามของพฤติกรรมนี้ว่า การลงทุนนั่นเอง.. "ตัวผมก็ ถือว่าตัวเองคือ นักลงทุน เพราะฟังดูเท่ห์กว่านักเก็งกำไรระยะยาว แต่จริงๆมันก็เหมือนกันนั่นแหละ..หุ หุ")

1. ?นิยาม? หุ้นปั่นคืออะไร ?ก็คือ หุ้นทุกตัวนั่นแหละ ที่พยายามซื้อขายทำให้ราคามันสูงขึ้นหรือลดลง เพื่อมุ่งหวัง ให้เป็นไปในทิศทางของกลุ่มคนหนึ่งๆ (นี่ไม่ใช่การกวนประสาท แต่มันคือ ความจริง ..เพราะหุ้นไม่สามารถขึ้นได้ หากไม่มีคนเข้ามาซื้อขายเก็งกำไร --แต่การจะเป็นหุ้นปั่นหรือไม่ มันขึ้นกับว่า ลักษณะการขึ้นลงของราคามันเป็นไปตามกลไกตลาด หรือ มันเป็นไปตามความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งๆ)

สรุป ?หุ้นปั่น? ก็คือ หุ้นที่วิ่งตามความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งๆ ซึ่งบิดเบือนไปจาก ราคาที่ขึ้นลงตามกลไกของตลาดนั่นเอง

2. เราสามารถแบ่งหุ้นปั่นได้เป็น 2 ประเภท คือ

หนึ่ง ปั่นแบบมีพื้นฐานรองรับ คือ การทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ (ประเด็นนี้ต้องทำความเข้าใจนิดนึงว่า ตลาดหุ้นไทย เป็นตลาดที่ไร้คุณภาพ นั่นก็คือ มีคนเข้ามาซื้อขายน้อยมาก จุดนี้เองทำให้ตลาดหุ้นซบเซา และแทบไม่มีการเคลื่อนไหว ..ซึ่งถ้าดูให้ดีแล้ว นับจากปี 1997 เป็นต้นมา หุ้นที่ทำการซื้อขายอย่างจริงจัง มีเพียง ?หยิบมือ? เท่านั้น โดยที่กลายเป็นว่า หุ้นส่วนใหญ่ถูกทิ้งไว้เฉยๆ แบบต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน และไร้สภาพคล่อง ?หุ้นเหล่านี้คือ หุ้นพื้นฐานดี ที่เจ้าของก็คิดว่ามันต่ำกว่าความเป็นจริง จึงไม่ปล่อยหุ้นออกมาขาย ..และเนื่องด้วยไม่มีสภาพคล่อง ดังนั้น ก็ไม่มีคนเล่น?

จากต้นปี 2009 เป็นต้นมา ตลาดเปลี่ยนจาก Mode ?ซบเซา? กลายเป็น Mode ?Bullish? ..จุดนี้ทำให้เจ้าของหุ้นที่เคยเน่าๆ กลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะสืบเนื่องมาจากการที่ กิจการมีการฟื้นตัวที่ชัดเจน ประกอบกับ Sentiment ของตลาด ที่คึกคัก ?และนี่เอง ก็เป็นความเป็นมาของ หุ้นปั่นที่มีพื้นฐานรองรับ? ( ก็คือเจ้าของ ถือโอกาสนี้ในการดันราคา หุ้นคุณภาพดีของตัวเอง ที่ราคาราคาต่ำเตี้ยมาเป็นเวลานาน ให้ราคาพุ่งขึ้นไปสะท้อนมูลค่าความเป็นจริง ตัวอย่าง หุ้นเหล่านี้ก็ เช่น หุ้นร้อนๆที่มีการซื้อขายอย่างร้อนแรงในปัจจุบัน แต่ถ้าย้อนไปก่อนหน้านั้นไม่นาน จะแทบไม่มี Volume ซื้อขายเลย ?ก็คือเพิ่งมาปั่นนั่นเอง!!?)

สอง ?หุ้นปั่นไร้พื้นฐาน? คือ หุ้นที่เจ้ามือ หรือ ขาใหญ่ในตลาด หาจังหวะ โดยใช้โอกาสในช่วงตลาด Bullish ในการไปเอาหุ้นที่ไม่มีพื้นฐาน (หุ้นห่วยแตก ..ตัวอย่าง เช่น หุ้นที่ไม่เคยมีกำไร ไม่เคยให้ปันผล ราคามีแต่ย่อลงๆ ..ลักษณะ การสังเกตหุ้นเหล่านี้ ก็คือ หุ้นที่ราคาต่ำมาก บางหุ้นราคาไม่กี่ สตางค์) ..ถามว่าทำไม นักปั่นหุ้นจึงเลือกหุ้นประเภทนี้มาปั่น ..ก็เพราะมันไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการปั่น รวมทั้งอีกสาเหตุคือ ?คนปั่นจะต้องได้ไฟเขียวจากเจ้าของหุ้น? (และนี่เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก) ?สมมุติว่า คุณเป็นเจ้าของหุ้นดี แต่ราคาถูก คุณย่อมไม่ต้องการให้ คนเอาหุ้นของคุณมาปั่นเล่น ทุบลง เพราะมันเสียภาพลักษณ์ต่อกิจการ (ซึ่งถ้าเจ้าของหุ้นดีราคาถูก ต้องการทำราคาจริง ก็คงต้องทำแบบวิธีแรก คือ การปั่นขึ้นไปแบบติดลมบน ทำราคาโดยมีพื้นฐานที่แท้จริงรองรับ ซึ่งแน่นอน ความต่างของ การปั่นแบบมีพื้นฐาน กับ การปั่นแบบไม่มีพื้นฐาน ก็คือ การ ?ปิดเกม?)

---- การ ?ปิดเกม? ของการปั่นหุ้นแบบไม่มีพื้นฐานรองรับ ย่อมจบลงด้วยการเทขายหุ้นทิ้งทุกราคา (ภาษาตลาดก็คือ เลือดสาด !! นั่นเอง) ?ส่วนหุ้นที่ปั่นโดยมีพื้นฐานรองรับ ย่อม ?ปิดเกม? โดยที่เจ้าของอาจทำกำไรบ้าง แต่หุ้นส่วนใหญ่ก็จะยังคงอยู่ในมือของเจ้าของอยู่ดี

การสังเกตุว่า หุ้นนั้นๆ เข้าข่ายหุ้นปั่น ต้องดูอย่างไร ? ?ง่ายๆ สังเกตุที่ Volume มันต้องมากกว่าปกติ ..ประกอบด้วย ข่าวดี ที่มีการปล่อยออกมา ทั้งข่าวแบบปากต่อปาก(วงใน) .. ?ข่าวตามสื่อ จะเป็นข่าวที่ดี ประกอบกับการวิเคราะห์ในมุมบวกของนักวิเคราะห์ เสริมเข้ามา ?.และแน่นอน ท้ายสุด ราคาต้องขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดในระยะเวลาสั้นๆ (มันจะขึ้นในอัตราที่สูงเกินกว่า การเพิ่มขึ้นของ SET Index อย่างมาก) เช่น SET ขึ้น 10% หุ้นตัวนั้นๆพุ่งขึ้น 300% .. ?ปั่นชัวร์ ..ฟันธง!!?

----คำถาม ที่น่าสนใจว่า หุ้นปั่นนั้นๆ เป็นหุ้นปั่นที่ มีพื้นฐาน หรือ ปั่นแบบเลือดสาด (ไร้พื้นฐาน)รองรับ ..ดูง่ายๆ ก็คือ ดูพื้นฐานกิจการนั่นเอง ?. ง่ายๆ ถ้าเราไม่โลภ เราจะไม่หลงเข้าไปซื้อหุ้นปั่นหรอกครับ ดังนั้นต้องมีสติแล้วแยกแยะให้ออก !!

ที่มา: คุณแพ้ท ภาววิทย์ กลิ่นประทุม

 

 

เพิ่มเติมนะครับ เราจะแถมวิธีสังเกตหุ้นปั่น แนะนำวิธีที่น่าสนใจมาฝากกันนะครับ

1. ผลประกอบการไม่มีกำไรหรือขาดทุนอย่างต่อเนื่อง (ดูท่าทางแล้วมันจะเจ๊ง)

บางทีการที่ผู้บริหารใช้บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดในการทำมาหากิน ไม่ว่าจะเป็นรถประจำตำแหน่ง เงินเดือนผลตอบแทน ความมั่งคั่งที่มากระบวนการรายจ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่ได้มีความมั่งคั่งมาจากเงินปันผลเลย หรือกล่าวคือ ผู้บริหารดูดเงินของบริษัทนั้นเอง การจ่ายปันผลไม่มีให้เห็น แม้ว่าบางปีมีกำไรก็ไม่จ่ายปันผล ไม่เอาไปลงทุนต่อ

พอนึกออกไหมครับว่า การที่บริษัทมีกำไรแต่ไม่เอามาลงทุนเพิ่ม เอาไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในสิ่งที่ไร้สาระ เอาเงินผลาญเล่นนั่นแหละครับ ผู้บริหารทำตัวเป็นปลิงดูดเงินจากบริษัทเอาไปให้ญาติๆ ลูกเมีย แทนที่จะเพิ่มการลงทุนหรือขึ้นเงินเดือนพนักงาน ซึ่งการที่เราจะรู้ว่าบริษัทนี้เป็นอย่างไรก็ต้องดูผลประกอบการของบริษัท สามารถดูได้ที่เว็บของตลาดหลักทรัพย์และเข้าไปดูกิจการของบริษัทนั้นเลยได้ยิ่งดีครับ

2. ขอเพิ่มทุนอยู่บ่อย ๆ

ในเมื่อบริษัทไม่มีกำไรหรือขาดทุนสะสมอยู่แล้ว จึงต้องขอหาเรื่องเพิ่มทุน บอกว่าเอาไว้ใช้หมุนเวียนในบริษัทต่อไปให้ไปยาวนานที่สุด แล้วจะเพิ่มทุนได้อย่างไรล่ะ ในเมื่อไม่มีกระแสเงินสดเหลือมากพอแล้ว คงจะไม่ล้วงจากกระเป๋าของพวกตนเองกันหรอก แต่ต้องดึงดูดเงินจากนักลงทุนรายย่อย ๆ เอ้ะอ้ะ... อะไรก็หาเรื่องเพิ่มทุน เพื่อจะไปทำโครงการต่าง ๆ นานา ทั้งที่ไม่รู้จะทำได้หรือไม่

คราวนี้ต้องอธิบายก่อนครับว่าหุ้นเพิ่มทุนคืออะไร

สำหรับเรื่องของการเพิ่มทุน จุดประสงค์ของการเพิ่มทุนแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ คือ..

 

1) เพื่อการขยายธุรกิจ

 

2) เพื่อใช้คืนหนี้ เงินกู้ต่างๆ

 

3) เพื่อล้างขาดทุนสะสม (ให้สามารถจ่ายปันผลได้ในอนาคต)

 

*ทั้งนี้ การเพิ่มทุนแต่ละครั้ง ย่อมมีทั้ง ข้อดี และ ข้อไม่ดี อยู่ที่ว่าบริษัทใช้เงินที่ได้จากการเพิ่มทุนอย่างไร มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน การเพิ่มทุนที่ดี คือการเพิ่มทุนที่ทำให้มูลค่าของกิจการเพิ่มสูงขึ้น..

 

อาทิ ใช้เงินที่ได้จากการเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการ เช่น เพิ่มกำลังการผลิตครั้งใหญ่ ขยายสาขา หรือเอาเงินไปซื้อกิจการ หรือควบรวมกิจการ กับบริษัทอื่น เพื่อต่อยอดธุรกิจของบริษัท กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้บริษัทมีรายได้และกำไรเข้ามามากขึ้น แต่แน่นอนว่า … การเพิ่มทุนจะทำให้ “จำนวนหุ้น” เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ “สัดส่วนการถือหุ้น” ของผู้ถือหุ้นลดลง

 

อีกกรณีหนึ่งคือการ “เพิ่มทุนเพื่อใช้หนี้” กรณีนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการที่บริษัทมีพันธมิตรทางธุรกิจ หรือ พันธมิตรทางการเงินเข้ามา โดยขั้นแรกก็จะนำเงินมา “ลดหนี้” เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง (จะได้จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง) แล้วค่อยขยายธุรกิจในขั้นต่อๆ ไป วิธีนี้จะทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ลดลง และช่วยเพิ่มความสามารถทางการเงินของบริษัท

 

สุดท้ายนี้ สำหรับนักลงทุนที่มองว่า... “การเพิ่มทุน” เป็น “ภาระของผู้ถือหุ้น” ถ้ามองอีกมุม..บางครั้งการเพิ่มทุนก็อาจทำให้บริษัทได้กำไรมากกว่าเดิม ธุรกิจขยับขยายได้มากขึ้น สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ก็อาจเป็นอีกแง่มุมมองที่ต้องลองเอามาวิเคราะห์ชั่งน้ำหนักให้ดี..สำหรับผู้ที่มีหุ้นบริษัทที่ต้องเพิ่มทุน..

ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่า เวลาหุ้นประกาศเพิ่มทุนทีไร หุ้นจะลงตกต่ำอย่างมาก แดงเถือกกันเลยครับ ถ้าสังเกตว่าหุ้นเพิ่มทุนอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่เห็นมีอะไรคืบหน้าดีขึ้นเลย แนะนำว่าให้หนีครับ หนีให้ไกลเลยยิ่งดี

3. หุ้นปั่นข่าวปล่อย Story

นักลงทุนสมัยใหม่นี้ อยู่ในยุคของโลกโซเชียลมีเดีย ออนไลน์ 4G ข่าวสารข้อมูลทั่วถึงกันอย่างรวดเร็วมาก เหมือนดาบ 2 คมแหละ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากเย็นจนเกินไป ในการปล่อยข่าวจริงบ้างปล่อยข่าวลือบ้าง บางทีบอกจะซื้อหุ้นบริษัทคืนที่ราคาเท่านั้นเท่านี้ บ้างจะควบรวมกับบริษัทอื่น บางทีก็บอกขายหุ้นเพื่อให้เกิดสภาพคล่องอีก จึงทำให้เม่าน้อยๆ เกิดความโลภ ตาลุก เล่นหุ้นตามข่าวตาม story จนไม่รู้ว่าเรื่องไหนเรื่องจริงหรือเท็จไปในที่สุด

อันนี้ต้องใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้ดีนะครับ และขอให้ทุกท่านนั้นต้องดูแนวโน้ม ทิศทาง อย่าเชื่อข่าวอย่างเดียว และหากพบเห็นข่าวเท็จที่ดูไม่ชอบมาพากลก็แจ้งกลต. ให้ดำเนินการเลยครับ

4. ผู้บริหารบอกเปลี่ยนธุรกิจใหม่ เรากำลังจะเป็นหุ้น turnaround

การที่บริษัทจะเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจใหม่นั้น มันไม่ใช้เปลี่ยนกันได้ง่าย ๆ เหมือนแผ่นซีดี  แต่ต้องรื้อโครงสร้างธุรกิจเดิม แล้วเริ่มต้นธุรกิจกันใหม่หมด หรือไม่ก็การที่ขาดทุนมาอย่างยาวนานมา แต่พอเริ่มมีกำไรนิดหน่อย ก็บอกบริษัทกำลังจะพลิกฟื้นธุรกิจกลับมาเติบโตใหม่ได้ ทั้งที่ราคาหุ้นวิ่งไปก่อนแล้ว นักลงทุนเตรียมตัวติดดอยกันไปตามระเบียบจ้า (ติดดอยคือ การที่เราซื้อหุ้น ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของราคาแล้ว ไม่สามารถขึ้นไปได้กว่านี้ ส่งผลให้หลังจากการซื้อหุ้นครั้งนี้แล้ว ราคาก็ร่วงระนาว กราฟจะเป็นแบบภูเขาลาดลง ทำให้เหมือนติดอยู่บนดอย ผลของมันคือเราขาดทุนนั่นเองครับ ยับเยินทีเดียว)

การเปลี่ยนธุรกิจไม่ใช่เรื่องล้อเล่นนะครับ ธุรกิจแต่ละอย่างมีโครงสร้างที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้กำไร ในช่วงที่เปลี่ยนธุรกิจนั้น บริษัทจะต้องลงทุนมหาศาล อาจจะต้องกู้เงินจำนวนมาก ออกพันธบัตร หรือ ออกหุ้นกู้ ซึ่งมันมีความเสี่ยงไม่น้อยนะครับ แล้วแต่วิจารณญาณ ดุลยพินิจของแต่ละคน

5. หุ้นปั่นสไตล์ IPO

IPO คืออะไร?  การเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก การจะมีหุ้นไอพีโอออกเสนอขายหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่า บริษัทมองหาแหล่งเงินทุน (ที่นอกเหนือจากเงินกู้) เพื่อขยายกิจการหรือไม่ ถ้าบริษัทต้องการเงินทุนและกระจายการถือครองหุ้นให้ประชาชนทั่วไป ก็สามารถนำหุ้นของตนออกเสนอขายได้ โดยจะต้องทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (underwriters) ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนดไว้

สรุปคือ หุ้นที่รอเข้าตลาดหลักทรัพย์ เป็นหุ้นใหม่เลยครับ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่มีข้อมูลว่ามันจะเป็นอย่างไรบ้าง

หุ้นเก่าแก่ดั้งเดิมจนนักลงทุนเกือบลืมไปแล้วว่าเป็นหุ้นอะไรเนี่ย แต่พอมีหุ้น IPO ออกใหม่เข้าตลาดฯ กลับเป็นหุ้นที่จับตาต้องใจของนักลงทุน จนให้ค่า P/E ที่มีความคาดหวังสูงเกินไปหลายเท่าตัวมากแล้ว

ก่อนที่บริษัทจะออก IPO ก็ได้จัดโปรโมชั่นแคมเปญ เดินสายออกสื่อ ตีข่าวอัดเข้าไปทั่ว บอกว่ามีแผนโปรเจกต์ใหม่ๆ ในอนาคต เพื่อให้ราคาหุ้นวิ่งพุ่งแรงที่สุด เพื่อให้กระตุ้นต่อมอารมณ์ความรู้สึกอยากซื้อของนักลงทุนกันเข้าไป  ในที่สุดเพื่อประโยชน์ของเจ้าของเดิมเองไง ดังนั้นเม่าน้อยเตรียมบินเข้ากองไฟได้เลย...

มันคือความคาดหวังว่ากิจการน่าสนใจ ผลประกอบการดี ถ้าซื้อไว้เยอะๆก็น่าจะรวยไว แต่มันก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปครับ

ที่มา: stock2morrow

 

สนใจคอร์สสัมมนา มือใหม่เข้าใจหุ้น โดยคุณแพ้ท ภาววิทย์ กลิ่นประทุม 19-20 สิงหาคมนี้ ที่สีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 19 เวลา 9:30-16:30 น. ทั้งสองวัน พร้อมอาหารว่างและอาหารกลางวัน จำนวนจำกัด ราคาท่านละ 8,000 บาท โดยท่านจะได้รู้พื้นฐานการลงทุนและการเล่นหุ้นภาคปฏิบัติ ทำให้คุณมองตลาดหุ้นได้ชัดและกว้างไกลขึ้น

 สัมมนา stock2morrow

คุณแพ้ท ภาววิทย์ กลิ่นประทุม

วิทยากร stock2morrow

คอร์สมือใหม่เข้าใจหุ้น


Pnatv