-------------------------------------------------------
บทความตอนที่ผ่านๆมาอ่านได้จาก: www.chiangmaifx.com/component/content/article/93-article-by-cmfx/808-price-patterns.html
www.facebook.com/275391639215535/photos/pcb.1603468543074498/1603467323074620/
-------------------------------------------------------
เนื่องจากแนวโน้มสามารถเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างแบบ sideway เส้นแนวโน้มที่ได้ก็จะเป็นเส้นที่ลากตามแนวขวาง รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นตอนที่เราสร้างเส้น neckline ของรูปแบบราคา head-and-shoulders ในแนวขนาน (H&S) หรือตีเส้นกรอบบน/ล่างของทิศทางราคาแบบ rectangles (อธิบายไว้ในบทต่อไป) ในกรณีของรูปแบบราคา การแทรกเข้ามาของเส้นเหล่านี้มักเป็นสัญญาณเตือนการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม เช่นเดียวกับการละเมิดของเส้นแนวโน้มขาขึ้น/ขาลง
สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจเสียก่อนว่าการวาดเส้นแนวโน้มเป็นเรื่องสามัญสำนึกทั่วไปมากกว่าการยึดติดกับหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด
การเปรียบเทียบกราฟแท่งกับกราฟเส้นหรือกราฟราคาปิด
กราฟที่พล๊อตขึ้นมีหลายประเภท บ้างเป็นกราฟแท่ง บ้างก็เป็นกราฟเส้น ทำให้เกิดคำถามว่า "แล้วเราควรจะเลือกใช้กราฟแบบไหนถึงจะเหมาะกับการวิเคราะห์แนวโน้ม?" ส่วนใหญ่กราฟแท่งจะให้สัญญาณที่ทันต่อเวลามากกว่าไม่ว่าสัญญาณนั้นจะเป็น peak-and-trough progression, price pattern completion หรือ trendline violation ซึ่งเมื่อไหร่ที่ต้องวิเคราะห์เชิงเทคนิคแล้วจะต้องแสดงราคาให้ทันเวลาและราคา ในกรณีนี้จะมีความเป็น whipsaws มากกว่า ส่วนกราฟแบบดั้งเดิมหรือกราฟรายสัปดาห์ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับกราฟราคาปิด เนื่องจากเหมาะสำหรับให้นักลงทุนนำกลับไปวิเคราะห์ต่อหลังจากตลาดปิด แต่ความสำคัญของมันก็อาจลดลงบ้างเพราะมีบางตลาดที่มีการซื้อขายตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันศุกร์
ดังนั้นกราฟราคาปิดส่วนใหญ่จะเป็นกราฟจุดมากกว่ากราฟสูงสุด/ต่ำสุด และการสร้างเส้นแนวโน้มโดยใช้ราคาปิดจะเหมาะกับช่วงที่มีข่าวที่ไม่คาดฝันเข้ามามากกว่า ผมไม่ได้จะบอกตายตัวว่าคุณต้องใช้กราฟแบบไหนเพราะกราฟแท่งบางประเภทก็มีความสำคัญมากกว่ากราฟราคาปิดเสียด้วยซ้ำ ทั้งหมดนี้มันขึ้นอยู่กับกฎความสำคัญที่จะอธิบายในภายหลัง
ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือคุณต้องใช้การตัดสินใจของตนเองให้มากที่สุด พอๆ กับการใช้กฎทางเทคนิคที่เข้มงวด คำถามที่คุณควรถามต่อก็คือ "เส้นแนวโน้มเส้นไหนที่จะสะท้อนแนวโน้มพื้นฐานได้ดีกว่ากัน?"
การทะลุแนวรับ/แนวต้านของเส้นแนวโน้มที่อาจเป็นสัญญาณกลับตัวหรือสัญญาณแนวโน้มเดิม
รูปแบบของราคาที่สมบูรณ์จะสามารถส่งสัญญาณแนวโน้มได้ทั้ง (1) สัญญาณกลับตัวซึ่งเรียกว่ารูปแบบการกลับตัว (reversal pattern) หรือ (2) คงแนวโน้มเดิมต่อไป ซึ่งเรียกว่ารูปแบบแนวโน้มเดิม (Consolidation pattern) หรือรูปแบบต่อเนื่อง (continuation pattern) ในทำนองเดียวกันการลากเส้นแนวโน้มจะทำให้แนวโน้มเป็นได้ทั้งการกลับตัวหรือต่อเนื่องจากแนวโน้มเดิมของมัน รูปที่ 4-5 เป็นกราฟที่ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น ในกรณีนี้ เส้นแนวโน้มที่ลากเชื่อมต่อเป็นลำดับได้ตัดกับเส้นราคาที่กำลังลดลงในตอนท้าย เมื่อจุดสูงสุดที่สี่เป็นจุดที่สูงที่สุดในแนวโน้มของตลาดกระทิง ดังนั้นการที่ราคาหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มเป็นการส่งสัญญาณว่าตลาดหมีกำลังมา
รูปที่ 4-5 รูปแบบการกลับตัวของราคาที่ทะลุแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้น
แนวโน้มราคาที่สูงขึ้นและการแทรกของเส้นแนวโน้มในรูปที่ 4-6 มีรูปแบบเดียวกับรูปที่ 4-5 แต่สัญญาณเตือนที่ได้กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะถึงราคาที่หลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ความเร็วก็ลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน ส่วนสัญญาณแนวโน้มสุดท้าย (3) เป็นการสะสมราคาซื้อขาย (price consolidates) แบบ sideway ก่อนมีการกลับตัว ดังในรูปที่ 4-7 เมื่อใดก็ตามที่ราคาหลุดจากแนวรับของเส้นแนวโน้มก็ยิ่งมีโอกาสที่แนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเป็นการกลับตัวจริงๆ หรือเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงแบบ sideway ก่อนจะเกิดแนวโน้มขาขึ้น/ขาลงตามมา
รูปที่ 4-6 รูปแบบแนวโน้มเดิมหรือแนวโน้มแบบต่อเนื่องของราคาที่ทะลุแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้น
รูปที่ 4-7 รูปแบบแนวโน้มที่มีการสะสมราคาก่อนมีการกลับตัว
ในความเป็นจริงเราไม่สามารถรับรู้สัญญาณของราคาที่หลุดแนวรับ/แนวต้านของเส้นแนวโน้มได้ทันเวลา แต่เราอาจจะเห็นแนวโน้มจากการทำมุมเอียงขึ้นหรือมุมลาดลงของเส้นแนวโน้ม และเนื่องจากแนวโน้มที่มีมุมชันจะไม่ค่อยเสถียรเท่าไหร่นัก ดังนั้นเส้นแนวโน้มจึงมีโอกาสที่จะเป็นแนวโน้มเดิมมากกว่าการกลับตัว
เราอาจคาดคะเนแนวโน้มด้วยการประเมินสุขภาพโครงสร้างทางเทคนิคในภาพรวมของตลาด นอกจากนี้การแทรกเส้นแนวโน้มอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาหรือก่อนการกลับตัวของรูปแบบราคาจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์
ถ้ารูปแบบราคา peaks and troughs กำลังเอียงขึ้นพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง รูปแบบนี้จะเป็นสัญญาณล่วงหน้าว่าราคากำลังจะหมดแรงวิ่ง (เนื่องจากปริมาณซื้อขายไม่สอดคล้องกับแนวโน้ม) ในสถานการณ์เช่นนี้ ราคาที่หลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มอาจมีความสำคัญมากกว่าจะสนใจว่าปริมาณการซื้อขายที่ยังคงเพิ่มขึ้นตามราคาอย่างต่อเนื่องหรือไม่และไม่จำเป็นที่แนวโน้มขาลงต้องมีปริมาณการซื้อขายสูง แต่ราคาที่หลุดแนวรับเป็นการเพิ่มสัญญาณการปรับตัวลงของตลาดเพราะมีการเปลี่ยนอุปสงค์/อุปทานของผู้ขายอย่างชัดเจน
------จบบทความแปล Price Pattern ตอนที่ 7, www.chiangmaiFX.com------