เมื่อพูดถึง “ธุรกิจค้าปลีก” เรามักจะได้ยินคำว่าธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมและธุรกิจค้าปลีกสมัย (Traditional Trade vs Modern Trade)
ธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิม (Traditional Trade) คือธุรกิจที่ค้าขายตามกลไกของห่วงโซ่อุปทาน มีผู้ผลิต ตัวแทนขายส่ง และ ร้านค้าขายปลีก ตัวอย่างได้แก่ร้านค้าโชว์ห่วย ธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมเป็นธุรกิจที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้แบบใกล้ชิดมากกว่า แต่ก็ทำงานอย่างมีระบบน้อยกว่า
ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) คือธุรกิจค้าปลีกที่มีขนาดใหญ่ มีการวางแผนและจัดการการทำงานได้เรียบร้อยมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านสะดวกซื้อแบรนด์ใหญ่ ที่มีระบบการจัดการสินค้าที่ดี มีการรวบรวมสินค้าหลายประเภทไว้ในที่เดียวกัน
หลายคนบอกว่าโชห่วยเป็นธุรกิจที่น่าเป็นห่วง เพราะมีการปิดตัวลงไปเรื่อยๆ แต่หากดูสถิติ “การเติบโต” ของร้านค้าโชห่วย ไม่ได้ล้มหายตายจากอย่างที่เราคิดกัน
- ในปี 2561 ประเทศไทยมีร้านค้าโชห่วย 438,820 ร้าน ส่วนปี 2562 “เพิ่มขึ้น” เป็น 443,123 ร้าน
- เมื่อเทียบ “ส่วนแบ่ง” ระหว่างร้านโชห่วย ร้านสะดวกซื้อ และไฮเปอร์มาร์เก็ต จะพบว่า ร้านโชห่วยมีสัดส่วนสูงสุดที่ 44.1% ตามด้วยร้านสะดวกซื้อ 31.8% และไฮเปอร์มาร์เก็ต น้อยสุดที่ 24.1%
แต่ธุรกิจค้าปลีก หลักๆ แล้วมีการสร้างรายได้และกำไรจากนิสัยที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค มีจุดเปลี่ยนหลักคือ “โลกออนไลน์” การตลาดออนไลน์จึงมีการแข่งขันสูง การมีหน้าร้านอย่างเดียวจึงไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะไปกระจุกตัวอยู่ในโลกออนไลน์กันหมด ดูได้จากสัดส่วนมูลค่าตลาด E-Commerce ไทย
Facebook 40%
E-Marketplace 35% (Lazada, Shopee)
ขายผ่านเว็บไซต์ของบริษัท 25%
เมื่อเห็นสัดส่วนการใช้บริการทางออนไลน์ของผู้บริโภคแล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทั้งค้าปลีกดั้งเดิมและค้าปลีกสมัยใหม่ต้องคำถึงคือ “การปรับตัวให้เร็ว” ให้ไปไกลกว่าคำว่าออนไลน์ หรือออฟไลน์ ด้วย 5 คาถา ดังนี้
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าและโลจิสติกส์
2. ค้าปลีกรายใหญ่ ต้องช่วยพยุงคู่ค้ารายย่อย SME ให้เติบโตไปพร้อมกัน
3. ทำความเข้าใจถึงไลฟิสไตล์หรือพฤติกรรมของลูกค้าตนเองให้ได้มากที่สุด
4. นำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า (Big Data)
5. ผสานช่องทาง Online to Offline : 020 เพิ่มประสบการณ์ customer engagement